วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563

บันทึกสะท้อนการเรียนรู้ 12 กลุ่ม

กลุ่ม 1

เรื่อง การประเมินพัฒนาการทางด้านร่างกาย : การเจริญเติบโต พัฒนาการทางด้านร่างกาย การเจริญเติบโต ภาวะสุขภาพของเด็กปฐมวัย

ความหมายของเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัย คือเด็กอายุ 3-6 ปี พัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงอายุอาจเร็วหรือช้ากว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และการพัฒนาจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (กรมวิชาการ2546หน้า 3) เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี ซึ่งในช่วงอายุดังกล่าวนี้สามารถแยกออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวัยทารก หมายถึงเด็กอายุ 0 – 3 ปี และวัยเด็กตอนต้น คือกลุ่มเด็กอายุ 3 – 6 ปี
          ส่วนในเอกสารการสอนชุดวิชา การฝึกอบรมครูและผู้เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2533หน้า 10) ได้ระบุว่า
          เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 3 – 6 ปี ซึ่งเป็นระยะที่เด็กกำลังเจริญเติบโต สามารถพึ่งตนเองได้บ้างแล้ว เด็กในวัยนี้มักจะต้องการเป็นอิสระและต้องการทดลองความสามารถของตนเอง ซึ่งส่วนมากจะผ่านขั้นตอนพัฒนาการมาบ้าง ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เด็กปฐมวัยนี้บางครั้งอาจเรียกได้ว่าเป็นเด็กที่อยู่ในวัยก่อนเรียน ซึ่งคำทั้ง 2 คำนี้ สามารถใช้แทนกันได้
พัฒนาการ
พัฒนาการ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงลักษณะและพฤติกรรมที่มีทิศทางและรูปแบบที่แน่นอน จากช่วงระยะเวลาหนึ่งไปสู่อีระยะหนึ่ง ผ่านกระบวนการเรียนรู้ จนสู่วุฒิภาวะ ซึ่งก็คือ การบรรลุถึงขั้นการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ของบุคคลในระยะใดระยะหนึ่ง และพร้อมที่จะทำกิจกรรมอย่างนั้น ทำให้เพิ่มความสามารถของบุคคล ให้ทำหน้าที่ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถทำหน้าที่ที่สลับซับซ้อนยุ่งยากได้ ตลอดจนเพิ่มทักษะใหม่และความสามารถในการปรับตัวต่อภาวะใหม่ของบุคคลผู้นั้น
ลักษณะของพัฒนาการของเด็ก แบ่งได้หลายแบบ 4 ด้านใหญ่ๆ คือ
1. พัฒนาการด้านร่างกาย (Physical Development)
เป็นความสามารถของร่างกายในการทรงตัวและการเคลื่อนไหว โดยการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross Motor Development) เช่น วิ่งกระโดดปีนป่าย และการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก มือและตาประสานกันในการทำกิจกรรมต่างๆ (Fine Motor - Adaptive Development) เช่น ระบายสีใช้ช้อนติดกระดุม
2. พัฒนาการด้านสติปัญญา (Cognitive Development)
เป็นความสามารถในการเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ กับตนเอง เป็นกระบวนการทางจิตใจ (mental processes) ที่เราใช้คิด เรียนรู้ หาเหตุผล แก้ไขปัญหา และสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย พัฒนาการด้านภาษา (Language Development) และพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor Development)
3. พัฒนาการด้านอารมณ์ (Emotional Development)
เป็นความสามารถในการแสดงความรู้สึก และควบคุมการแสดงออกของอารมณ์อย่างเหมาะสม ในอารมณ์ต่างๆ เช่น ยิ้มร้องไห้หัวเราะกลัวเศร้าเสียใจโกรธ รวมถึงการสร้างความรู้สึกที่ดี การนับถือตนเอง (self esteem)
4. พัฒนาการด้านสังคม (Social Development)
เป็นความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น เข้าใจผู้อื่น (personal-social) สามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน (self help, self care) และรู้จักผิดชอบชั่วดี ประกอบด้วย พัฒนาการด้านสังคม (Social Development) และพัฒนาการด้านคุณธรรม (Moral Development)
ภาวะสุขภาพ
ภาวะสุขภาพ หมายถึง การดำรงชีพของบุคคลอย่างมีสุขทั้งกาย และ จิต อาจกล่าวได้ว่ามิใช่เพียงไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ แต่รวมถึงการมีชีวิตที่มีร่างกายแข็งแรง จิตแข็งแรง มีความสุขอยู่ในสังคม โลกในปัจจุบัน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว บางอย่างที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดภาวะคุกคามต่อสุขภาวะคนไทยเกิดเป็นปัญหาด้าน สุขภาพ มลภาวะที่เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับอาหาร วิถีชีวิต ค่านิยมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาทั้ง สิ้นก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บเช่นเกิดโรคเอดส์ เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด เกิดอุบัติภัยสูงขึ้น เป็นต้น มีโรคหลายโรคที่อาจป้องกันหรือสามารถลดอัตราเสี่ยงลงได้ ซึ่งต้องการความร่วมมือร่วมใจจากหลายๆฝ่ายช่วยการสร้างเสริมสุขภาพให้กับ สังคม
องค์การอนามัยโลก ได้นิยามไว้ว่า สุขภาพ หมายถึงสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย จิตใจ สังคม และปัญญา มิใช่เพียงการปราศจากโรคหรือความพิการเท่านั้น” (ตามนิยาม สุขภาพ” ขององค์การอนามัยโลก และ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550)” หรือสุขภาวะที่สมบูรณ์ทุกๆ ทางเชื่อมโยงกัน สะท้อนถึงความเป็นองค์รวมอย่างแท้จริงของสุขภาพที่เกื้อหนุนและเชื่อมโยงกันทั้ง 4 มิติ นำมาสู่วิสัยทัศน์ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คือ คนไทยมีสุขภาวะยั่งยืน หมายถึงคนไทยมีสุขภาวะดีครบทั้งสี่ด้าน ได้แก่ กาย จิต สังคม และปัญญา อันได้แก่
1.สุขภาวะทางกาย หมายถึง การมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีเศรษฐกิจพอเพียง มีสิ่งแวดล้อมดี ไม่มีอุบัติภัย เป็นต้น
2. สุขภาวะทางจิต หมายถึง จิตใจที่เป็นสุข ผ่อนคลาย ไม่เครียด คล่องแคล่ว มีความเมตตา กรุณา มีสติ มีสมาธิ เป็นต้น
3. สุขภาวะทางสังคม หมายถึง การอยู่ร่วมกันด้วยดี ในครอบครัว ในชุมชน ในที่ทำงาน ในสังคม ในโลก ซึ่งรวมถึงการมีบริการทางสังคมที่ดี และมีสันติภาพ เป็นต้น
4. สุขภาวะทางปัญญา (จิตวิญญาณ) หมายถึง ความสุขอันประเสริฐที่เกิดจากมีจิตใจสูง เข้าถึงความจริงทั้งหมด ลดละความเห็นแก่ตัว มุ่งเข้าถึงสิ่งสูงสุด ซึ่งหมายถึงพระนิพพาน หรือพระผู้เป็นเจ้าหรือความดีสูงสุด สุดแล้วแต่ความเชื่อมที่แตกต่างกันของแต่ละคน
การประเมินด้านพัฒนาการ
การประเมินพัฒนาการ หมายถึง กระบวนการศึกษาข้อมูลคุณลักษณะหรือความสามารถในด้านต่างๆ ของเด็กเล็กในแต่ละช่วงวัย
การประเมินพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็กโดยถือเป็นกระบวนการต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปกติที่จัดให้เด็กในแต่ละวัน ควรยึดหลักดังนี้
1. ประเมินพัฒนาการของเด็กครบถ้วนทุกด้านและนำผลมาพัฒนาเด็ก
2. ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี
3. สภาพการประเมินควรมีลักษณะเช่นเดียวกับการปฏิบัติกิจกรรมประจำวัน
4. ประเมินอย่างเป็นระบบ มีการวางแผน เลือกใช้เครื่องมือและจดบันทึก
5. ประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการหลากหลายเหมาะกับเด็กรวมทั้งใช้แหล่งข้อมูลหลายๆ ด้าน
เด็กที่มีพัฒนาการทุกด้านตามวัยอย่างสมดุล จะเป็นเด็กที่มีความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งรอบตัวได้อย่างราบรื่น มั่นคง และเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการเรียนรู้ในขั้นที่สูงขึ้นต่อไป การประเมินและรายงานพัฒนาการเด็กโดยรวมในทุก ๆ ด้านย่อมสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมความสามารถของเด็กทุกๆ ส่วนที่ประกอบเป็นตัวเด็ก ได้แก่
1. การประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย
1.1 โครงสร้างสัดส่วนและขนาดของร่างกาย
1.2 ความสามารถในการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อใหญ่
1.3 ความสามารถในการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อเล็กและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
1.4 ภาวะสุขภาพโดยรวม
2. การประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ
2.1 พฤติกรรมการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ
2.2 ความสามารถในการรับรู้ / ยอมรับความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
2.3 ความสามารถในการควบคุมอารมณ์
2.4 ความสามารถในการรับรู้ / ยอมรับความรู้สึกของผู้อื่น
3. การประเมินพัฒนาการด้านสังคม
3.1 ความสามารถในการปรับตัวและสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น
3.2 ความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง
3.3 ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
4. การประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา
4.1 ความสามารถในการรับรู้และเรียนรู้สิ่งรอบตัว
4.2 ความสามารถในการใช้ภาษาและความจำ
4.3 ความสามารถในการใช้ความคิดและเหตุผล
4.4 ความสามารถในการใช้ความคิดสร้างสรรค์
การประเมินด้านพัฒนาการภาวะสุขภาพ
สุขภาพอนามัย  เป็นตัวชี้วัดที่แสดงคุณภาพชีวิตของเด็ก โดยการพิจารณาความสะอาด  สิ่งผิดปกติของร่างกายที่จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและการเจริญเติบโตของเด็กในการประเมินครั้งนี้จะประเมิน สุขภาพอนามัย  9  รายการ
รายการประเมินสุขภาพอนามัย  
          1.  ผมและศีรษะ     
2.  หูและใบหู
          3.  มือและเล็บมือ  
          4.  เท้าและเล็บเท้า
          5.  ปาก ลิ้น และฟัน  
          6.  จมูก
          7.  ตา  
          8.  ผิวหนังและใบหน้า   
          9.  เสื้อผ้า

เกณฑ์การประเมินมี 3 ระดับ
ระดับ 3 สะอาด  ระดับ 2 พอใช้  ระดับ 1 ปรับปรุง / สกปรก

1. ผมและศีรษะ
2. หูและใบหู
วิธีการ
ท่าที่ 1 นักเรียนหญิง ใช้มือขวาเปิดผมไปทัดไว้ด้านหลังหูขวา และหันหน้าไปทางซ้ายส่วนนักเรียนชาย ให้หันหน้าไปทางซ้ายเท่านั้น
ท่าที่ 2 นักเรียนหญิง ใช้มือซ้ายเปิดผมไปทัดไว้ด้านหลังหูซ้าย และหันหน้าไปทางขวาส่วนนักเรียนชาย ให้หันหน้าไปทางขวาเท่านั้น
สิ่งผิดปกติที่ควรสังเกต
- มีไข่เหา ตัวเหา บริเวณโคนเส้นผม
- มีน้ำหรือน้ำหนองไหลออกมาจากหูข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง
- มีขี้หูอุดตันข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง มีแผล
เกณฑ์ด้านความสะอาดของผมและศีรษะ
3 สะอาด ไม่มีรังแค ไม่มีกลิ่น
2 พอใช้ มีรังแคเล็กน้อย มีกลิ่น
1 ปรับปรุง มีรังแค มีแผลพุพอง มีกลิ่น และมีเหาบริเวณโคนเส้นผม
เกณฑ์ด้านความสะอาดของหูและใบหู
3 สะอาด ใบหู หลังหูไม่มีขี้ไคล ไม่มีขี้หู
2 พอใช้ ใบหู หลังหูมีขี้ไคลเล็กน้อย มีแผลเล็กน้อย
1 ปรับปรุง ใบหู หลังหูมีขี้ไคล หูมีขี้หูอุดตันข้างใดข้างหนึ่งหรือสองข้าง มีกลิ่นเหม็น มีน้ำหรือน้ำหนองข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
3. มือและเล็บมือ
 วิธีการ
ท่าที่ 1 ยื่นมือออกไปข้างหน้าให้สุดแขนทั้งสองข้าง คว่ำมือกางนิ้วทุกนิ้ว
สิ่งผิดปกติที่ควรสังเกต
เล็บยาว สกปรก
ผิวหนังบวม เป็นแผล ผื่น มีขี้ไคล
มีเม็ดตุ่มเล็กๆ มีน้ำใส ๆ ตามง่ามนิ้ว
ตุ่มสากบริเวณด้านนอกของแขน
เกณฑ์ด้านความสะอาดของมือและเล็บมือ
สะอาด มือสะอาด เล็บสั้น ไม่มีขี้เล็บ
พอใช้ มือสกปรกเล็กน้อย เล็บยาว ไม่มีขี้เล็บหรือมีขี้เล็บเล็กน้อย
ปรับปรุง มือสกปรกมาก เล็บยาว มีขี้เล็บมาก
ท่าที่ 2 ทำท่าต่อเนื่องจากท่าที่ 1 คือ พลิกมือ หงายมือกางนิ้วทุกนิ้ว
วิธีการ
ท่าที่ 1 ยื่นเท้าขวาไปข้างหน้า ตรวจเสร็จแล้วให้ถอยเท้ากลับที่
ท่าที่ 2 ยื่นเท้าซ้ายไปข้างหน้า ตรวจเสร็จแล้วให้ถอยเท้ากลับที่
สิ่งผิดปกติที่ควรสังเกต
- เล็บยาว สกปรก
- มีเม็ดตุ่มเล็กๆ มีน้ำใสๆ ตามง่ามนิ้ว 

4. เท้าและเล็บเท้า
เกณฑ์ด้านความสะอาดของเท้าและเล็บเท้า
3 สะอาด เท้าสะอาด เล็บสั้น ไม่มีขี้เล็บ
2 พอใช้ เท้าสกปรกเล็กน้อย เล็บยาว ไม่มีขี้เล็บหรือมีขี้เล็บเล็กน้อย
1 ปรับปรุง เท้าสกปรก เล็บยาว มีขี้เล็บมาก


วิธีการ
ท่าที่ 1 ให้กัดฟันและยิ้มกว้าง ให้เห็นเหงือกเหนือฟันบน และใต้ฟันล่างให้เต็มที่
ท่าที่ 2 ให้อ้าปากกว้าง แลบลิ้นยาว พร้อมทั้งร้อง “อา” ให้ศีรษะเอนไปข้างหลังเล็กน้อย
5. ปาก ลิ้น และฟัน

 สิ่งผิดปกติที่ควรสังเกต (ปากและฟัน)
- ริมฝีปากซีดมาก
- เป็นแผลที่มุมปาก มุมปากเปื่อย
- เหงือกบวมเป็นหนอง
- ฟันผุ
สิ่งผิดปกติที่ควรสังเกต (ลิ้น)
- ลิ้นแตก แดง หรือเป็นฝ้าขาว หรือมีอาการเจ็บ
เกณฑ์ด้านความสะอาดของฟัน/ช่องปาก (เฉพาะความสะอาด) ทั่วไปไม่พิจารณาโรคในช่องปาก
3 สะอาด ฟันขาวสะอาด ไม่มีเศษอาหาร ไม่มีขี้ฟัน ไม่มีกลิ่นปาก
2 พอใช้ มีเศษอาหารหรือกลิ่นปากเล็กน้อย
1 ปรับปรุง มีเศษอาหาร ขี้ฟันเหลือง กลิ่นปากแรง ฟันดำ ฟันผุ
หมายเหตุ: เมื่อพบสิ่งผิดปกติที่ลิ้น ฟัน เหงือก ในช่องปาก ควรปรึกษาผู้ปกครอง แนะนำให้พบเจ้าหน้าที่อนามัยหรือทันตแพทย์ต่อไป
วิธีการ
ให้เงยหน้าเพื่อเห็นรูจมูก
สิ่งผิดปกติที่ควรสังเกต
          - สกปรก มีน้ำมูกไหลบริเวณจมูก
          - มีขี้มูกเกรอะกรัง
          - คัดจมูก จาม
- แผลแดงอักเสบบริเวณเยื่อจมูก
6. จมูก

 เกณฑ์ด้านความสะอาดของจมูก
          3 สะอาด ไม่มีน้ำมูกไหล ไม่มีขี้มูก
          2 พอใช้ มีขี้มูกเล็กน้อย
          1 ปรับปรุง มีน้ำมูกไหล มีขี้มูกเกรอะกรัง (แห้ง) เปียก
วิธีการ
          งอแขน พับข้อศอก ใช้นิ้วแตะเปลือกตาด้านล่างเบาๆ ดึงเปลือกตาด้านล่างพร้อมเหลือกตาขึ้นและลง แล้วจึงกลอกตาไปด้านขวาและซ้าย
สิ่งผิดปกติที่ควรสังเกต
- ดวงตาแดง มีขี้ตา คันตา
- ขอบตาล่างแดงมาก อักเสบ
- เป็นเม็ดหรือเม็ดอักเสบเป็นหนองที่เปลือกตา เปลือกตาบวม เจ็บ
7. ตา

เกณฑ์ด้านความสะอาดของตา
3 สะอาด ไม่มีขี้ตา
2 พอใช้ มีขี้ตาเล็กน้อย
1 ปรับปรุง มีขี้ตา คันตาบ่อยๆ ตาแดง มีเม็ดหรือเม็ดอักเสบ มีหนอง ตาแฉะ
8. ผิวหนังและใบหน้า และ
9. เสื้อผ้า

วิธีการ
ท่าที่ 1 ปลดกระดุมหน้าอกเสื้อ 2 เม็ด ใช้มือทั้งสองข้างดึงคอเสื้อออกให้กว้าง แล้วหมุนตัวซ้าย-ขวาเล็กน้อย เพื่อจะได้เห็นบริเวณคอโดยรอบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ท่าที่ 2 นักเรียนหญิง ให้แยกเท้าทั้งสองข้างห่างกัน 1 ฟุต ใช้มือทั้งสองจับกระโปรงดึงขึ้นเหนือเข่าทั้งสองข้าง ส่วนนักเรียนชายแยกเท้าทั้งสองข้างห่างกัน 1 ฟุต เช่นกัน
ท่าที่ 3 นักเรียนหญิง-ชาย ซึ่งอยู่ในท่าที่ 2 แล้ว ให้กลับหลังหัน สังเกตด้านหลังโดยให้เดินไปข้างหน้าประมาณ 4 – 5 ก้าว แล้วเดินกลับหันเข้าหาผู้ตรวจ
สิ่งผิดปกติที่ควรสังเกต ท่าที่ 1
- เม็ด ผื่นคันบริเวณผิวหนัง ใต้คอ บริเวณหน้าอก
- ผิวหนังเป็นวงๆ สีขาวๆ ลักษณะเรียบโดยเฉพาะบริเวณคอ
- ผิวหนังเป็นวงกลมแดง เห็นขอบชัด ผิวหนังสกปรก มีขี้ไคลบริเวณคอ
สิ่งผิดปกติที่ควรสังเกต ท่าที่ 2
- แผลบริเวณเข่า หน้าแข้ง และน่อง
- เป็นตุ่ม พุพอง บริเวณหน้าแข้ง น่อง และขา
- ทรวดทรง รูปร่าง อ้วน ผอม
เกณฑ์ด้านความสะอาดของผิวหน้าและใบหน้า
3 สะอาด ใบหน้าเกลี้ยงเกลา สดใส
2 พอใช้ มีขี้ไคล มีคราบสกปรกเล็กน้อย
1 ปรับปรุง มีขี้ไคลมาก มีคราบสกปรก
เกณฑ์ด้านความสะอาดของเสื้อผ้า
3 สะอาด ไม่มีกลิ่น เรียบร้อย
2 พอใช้ สกปรกเล็กน้อย เรียบร้อยพอใช้
1 ปรับปรุง เสื้อผ้าดำ มีกลิ่น

 การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายในวัย 3-5 ปีจะเป็นรากฐานสำคัญต่อชีวิตเด็กไปตลอด การออกกำลังกายจะส่งเสริมการพัฒนาระบบประสาท กระดูกและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็ก นอกจากนี้ยังกระตุ้นการทำงานของสมอง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาความสามารถรอบด้านทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ดังนั้น พ่อแม่และครูจึงควรส่งเสริม การออกกำลังกายของเด็กวัยอนุบาลอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ เด็กวัยนี้ต้องการการเล่นอิสระกลางแจ้งอย่างน้อยวันละ 30 นาที และไม่ควรปล่อยให้เด็กอยู่กับสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเวลานาน เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน จนขาดโอกาสออกกำลังกาย
          เด็กวัยนี้มีการพัฒนาการทำงานของกล้ามเนื้อที่ดีขึ้น เคลื่อนไหวได้เร็วและคล่องแคล่ว ทรงตัวได้ดี รับและส่งบอลได้ตรงเป้าหมาย กระโดดได้ไกล ปีนป่ายได้เก่ง ประกอบกับการเล่นเป็นธรรมชาติของเด็กวัยนี้ ดังนั้นเขาจึงมักจะมีแรงจูงใจในการออกกำลังกายอยู่แล้ว ขอเพียงได้รับการส่งเสริมจากพ่อแม่และครูจัดกิจกรรมให้เขาได้ออกกำลังกาย เขามักจะร่วมมือได้ไม่ยากนัก
สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการออกกำลังกายของเด็กวัยอนุบาล คือ การดูแลเรื่องความปลอดภัยของเครื่องเล่นและสิ่งแวดล้อมที่เด็กเล่น และไม่ควรให้เด็กเล่นติดต่อกันนานเกิน 30 นาทีเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อล้าและเกิดอุบัติเหตุจากการหกล้มได้ง่าย รวมทั้งไม่ควรให้เด็กออกกำลังกายในขณะที่อากาศร้อนเกินไป และควรให้เด็กได้พักดื่มน้ำประมาณ ½ - 1 แก้วเป็นระยะเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำจากการออกกำลังกาย และควรหยุดกิจกรรมเมื่อเด็กแสดงอาการอ่อนเพลียหรือเหนื่อยจากการเล่น นอกจากนี้ควรสังเกตความผิดปกติของร่างกายเด็ก เช่น การหายใจหอบหรือหายใจแรงหรือได้ยินเสียงวี้ด ๆ อาการเหนื่อย
หอบและริมฝีปากเขียวคล้ำขณะเล่นหากพบอาการเหล่านี้ต้องพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไป
กลุ่ม 2
การประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย (กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กปฐมวัย
การนำเสนอเทคนิควิธี เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
ความสำคัญของพัฒนาการด้านร่างกาย
พัฒนาการด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกายและ สมรรถภาพการทำงานตามหน้าที่ของร่างกายที่ดำเนินต่อเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงวัยทารก (แรกเกิด-2 ปี) และวัยเตาะแตะ (2-3 ปี) ซึ่งเป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตทางโครงสร้างและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย อย่างรวดเร็ว อันเป็นฐานของการพัฒนาความสามารถอื่นๆ โดยเริ่มพัฒนาจากสภาพทั่วๆ ไปสู่ลักษณะและความสามารถที่สลับซับซ้อนเฉพาะเจาะจงมากขึ้นตามวัย ในช่วงปฐมวัยจะสามารถสังเกตลักษณะของร่างกายที่พัฒนามาเกือบเต็มที่และมีความสามารถใหม่ๆ ที่เด็กแสดงออกได้ชัดเจนกว่าช่วงวัยที่ผ่านมา จากการที่ระบบประสาทสัมผัสและสมองรวมทั้งศักยภาพการทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยเฉพาะกระดูกและ กล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพมากขึ้น  
โครงสร้างลำดับพัฒนาการด้านร่างกาย

อายุแรกเกิด – 3 ปี
อายุ 3 – 6 ปี
               การเคลื่อนไหวร่างกาย
               การทรงตัว
               การเดิน
               การวิ่ง 
       การเดิน
       การวิ่ง
       การกระโดด
       การปีน
       การโยน
       การเตะ
       การถีบ
       การขว้าง
พัฒนาการด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย พิจารณาได้จากลักษณะต่าง ๆ 2 ประการคือ สุขภาพอนามัยและการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสมและพัฒนาการทางการเคลื่อนไหวสุขภาพอนามัยเป็นสภาวะความสมบูรณ์แข็งแรงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเด็กปฐมวัยที่มีสุขภาพอนามัยดีจะต้องมีพัฒนาการทุกด้านที่เหมาะสมกับวัยและเต็มตามศักยภาพของแต่ละคนสำหรับทักษะในการเคลื่อนไหวนั้นเป็นความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อ (กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก) ที่ใช้ในการเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพและความสัมพันธ์ของประสาทสัมผัสส่วนระดับความสามารถและทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายนั้นขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะและการมีโอกาสที่จะได้ฝึกฝนเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน (พัชรีผลโยธิน.2537: 6)
การประเมินการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย(ทางกายภาพ) พิจารณาจาก
1) น้ำหนักตัว
2) ความยาวหรือความสูง
3) การเพิ่มของไขมันใต้ผิวหนัง
4) การเพิ่มของเส้นรอบศีรษะ
5) การขึ้นของฟัน
6) การเจริญเติบโตของอวัยวะเพศ
ลักษณะการเคลื่อนไหวพื้นฐานที่ต้องใช้ลำตัวแขนขา มี 3 ประเภท คือ
          1) การเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่: การก้มตัวการยืดเหยียดตัวการบิดตัวการหมุนตัวการโยกตัวการแกว่งหรือหมุนเหวี่ยงการโอนเอนการดันการดึงการสั่นการตี
          2) การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่: เป็นการเคลื่อนไหวที่มีระยะทางเกิดขึ้นโดยเน้นที่เท้ามีพื้นฐาน 8 อย่างคือการเดิน การวิ่ง การกระโดดเขย่ง การก้าวกระโดด การกระโจน การกระโดดสลับเท้า การสไลด์และการควบม้า
          3) การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ (ทั้งเคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่) ประกอบอุปกรณ์เช่นลูกบอลห่วงยางบาร์เชือกถุงถั่วกระดานทรงตัวเป็นต้น
การประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย
การประเมินพัฒนาการเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรประเมินให้ครอบคลุมครบทุกช่วงอายุ เพราะช่วงวัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว อีกทั้งมีความเสี่ยงต่อสภาพความผิดปกติต่างๆ จึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังและติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดู ควรสังเกตพัฒนาการเด็ก โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล หากพบความผิดปกติ ต้องรีบพาไปพบแพทย์หรือผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก เพื่อหาทางแก้ไขหรือบำบัด ฟื้นฟูโดยเร็วที่สุด
การประเมินพัฒนาการเด็กอายุ 3 - 6 ปี เป็นการประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็ก โดยถือเป็นกระบวนการต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปกติที่จัดให้เด็กในแต่ละวัน ผลที่ได้จากการสังเกตพัฒนาการเด็กต้องนำมาจัดทำสารนิทัศน์หรือจัดทำข้อมูลหลักฐานหรือเอกสารอย่างเป็นระบบ ด้วยการรวบรวมผลงานสำหรับเด็กเป็นรายบุคคลที่สามารถบอกเรื่องราวหรือประสบการณ์ที่เด็กได้รับว่าเด็กเกิดการเรียนรู้และมีความก้าวหน้าเพียงใด ทั้งนี้ ให้นำข้อมูลผลการประเมินพัฒนาการเด็กมาพิจารณา ปรับปรุงวางแผนการจัดกิจกรรม และส่งเสริมให้เด็กแต่ละคนได้รับการพัฒนาตามจุดหมายของหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
หลักการประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย
1. ประเมินพัฒนาการของเด็กครบทุกด้าน
2. ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
3. ประเมินด้วยวิธีการที่หลากหลาย ซึ่งวิธีการประเมินที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี มีการสังเกตพฤติกรรมของเด็กในกิจกรรมต่างๆ และกิจวัตรประจำวัน การบันทึกพฤติกรรม การสนทนา การสัมภาษณ์เด็กและผู้ใกล้ชิด และการวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็ก
4. บันทึกพัฒนาการลงในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (เล่มสีชมพู) และใช้คู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข หรือของหน่วยงานอื่น
5. นำผลที่ได้จากการประเมินพัฒนาการไปพิจารณาจัดกิจกรรม เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้และมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย
การประเมินพัฒนาการควรยึดหลัก ดังนี้
1.  วางแผนการประเมินพัฒนาการอย่างเป็นระบบ
2.  ประเมินพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน
3.  ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี
4.  ประเมินพัฒนาการตามสภาพจริงจากกิจกรรมประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีการทีหลากหลาย ไม่ควรใช้แบบทดสอบ
5.  สรุปผลการประเมิน จัดทำข้อมูลและนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาเด็ก
การประเมินพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ครูจำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ในการประเมินหลาย ๆ ชนิดเข้าด้วยกัน และกิจกรรมก็ควรหลากหลายด้วย ในการประเมินพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ครูควรสังเกตลักษณะดังต่อไปนี้ (McAfee และ Leong,2002 )
1. ความสมดุลของร่างกาย
2. ความคล่องแคล่วของร่างกาย
3. ความสัมพันธ์ของร่างกาย
ลำดับขั้นตอนพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กในแต่ละช่วงอายุ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ประกอบการประเมินพัฒนาการของเด็กแต่ละคนการประเมินพัฒนาการความก้าวหน้าของการใช้กล้ามเนื้อใหญ่อาจทำได้ 2 วิธี คือ
1. การสังเกตและการบันทึกพฤติกรรม จากการเล่นในสนามของเด็กทั้งการเล่นกลางแจ้งและในร่มขณะที่เด็กวิ่งหรือปีนป่ายเครื่องเล่นสนามเป็นต้น
2. การสัมภาษณ์ พูดคุยกับผู้ปกครองครูอาจพูดคุยซักถามผู้ปกครองถึงความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กขณะอยู่ที่บ้านเพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบการประเมินพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ของเด็ก
เทคนิควิธีที่เหมาะสมในการประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย(กล้ามเนื้อมัดใหญ่)
1.แบบสังเกตพฤติกรรม
การสังเกต หมายถึง เป็นเครื่องมือวัดผลชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมาก เครื่องมือชนิดนี้ใช้ครูหรือ ตัวบุคคลทำหน้าที่ในการวัดโดยใช้ประสาทสัมผัสเป็นเครื่องมือสื่อความหมาย การสังเกตเป็นกระบวนการที่ครูเฝ้าดู พฤติกรรมและร่องรอยพฤติกรรมของนักเรียน เพื่อรวบ รวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียน แล้วจึงบันทึกผลการสังเกตลงในแบบบันทึกข้อมูลในการเรียนการสอนสิ่งที่ครูจะสังเกต ผู้เรียน คือ ผลงานและพฤติกรรมของผู้เรียนเช่นสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในขณะที่เรียนว่ามีความสนใจในบทเรียน เพียงไร มีความขยันหมั่นเพียรหรือไม่ให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่มมากน้อยแค่ไหน เป็นต้น
ข้อดีของการสังเกต
1. เด็กไม่ต้องใช้ความสามารถด้านอ่านเขียน
2. เด็กอยู่ในสภาพธรรมชาติ
3. กิจกรรมประจำวันดำเนินตามปกติ
4. ทำให้ครูได้ข้อมูลโดยตรง
5. วิธีการเหมาะสม เป็นที่ยอมรับ
ข้อจำกัดของการสังเกต
1. ไม่สามารถวัดความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในต้องสั่งหลายครั้ง จึงจะเข้าใจเด็กได้
2. ประสบการณ์ของผู้สังเกตการตั้งจุดประสงค์ในการสังเกตการตีความหมายพฤติกรรม
3. ระยะเวลาและจำนวนครั้งในการสังเกต
4. ทำได้ยากขณะ ที่ครูมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก
หลักการบันทึกการสังเกตพฤติกรรมเด็ก
1. ต้องบันทึกสภาวะแวดล้อมและพฤติกรรมต่าง ๆ ของเด็ก และคนรอบข้างด้วย
2. รายงานตามลำดับก่อน - หลัง
3. บรรยายสิ่งที่เด็กทำได้มากกว่าที่ทำไม่ได้
4. แยกการตีความ แปลความหมายพฤติกรรมออกจากข้อมูลที่ได้จากการบันทึก
ข้อสำคัญของการสังเกตพฤติกรรม
จะต้องบันทึกตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงโดยไม่แทรกข้อคิดเห็นหรือการประเมินของผู้สังเกตเนื้อหาของบันทึกพฤติกรรมแบบนี้มีส่วนประกอบสำคัญ คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดที่ไหน เมื่อไร มีการพูด หรือการกระทำอะไรเกิดขึ้นบ้าง

2.แบบการเขียนบันทึกเกี่ยวกับตัวเด็ก ( Anecdotes )
การเขียนเรื่องราวสั้นๆเกี่ยวกับตัวเด็กจากเหตุการณ์ที่ความหมายทั้งกับตัวครูและตัวเด็กการเลือกเหตุการณ์ที่นำมาเขียนจะบ่งบอกถึงการให้ความสำคัญของครูต่อพฤติกรรมเด็กและช่วยให้ครูตอบคำถามที่ตนอยากรู้ได้ดีขึ้น
การประเมิน สรุป และให้ข้อเสนอแนะ บันทึกเกี่ยวกับตัวเด็ก บันทึกคำพูด
1.ความจำกัดทางด้านจำนวนคำศัพท์ การออกเสียงต่าง ๆ ปัญหาในการออกเสียง การเสนอแนวทางแก้ไข
2.ความสามารถในการถ่ายทอดเรื่องราวที่ได้พบเห็น
3.การบรรยายความรู้สึกที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ และบุคคลต่าง ๆ เช่น ความรู้สึก รัก ชอบ โกรธ เกลียด ภาคภูมิใจ


4.ความรู้ ความเข้าใจ ความสนใจ และความประทับใจในบทเรียนหรือเรื่องราวต่าง ๆ

กลุ่ม 3  พัฒนาการด้านร่างกาย (การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก) 

ความหมายของความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก หมายถึง กล้ามเนื้อที่ใช้ใน การทำงานที่มีความละเอียด ที่ไม่ต้องอาศัยการเคลื่อนที่ของร่างกาย เป็นความสามารถในการบังคับควบคุม การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมือ นิ้วมือ ไหล่ให้ประสาทสัมพันธ์กับสายตาและประสาทสัมผัส ทำให้สามารถ ทำกิจกรรมต่างๆ และช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้อย่างคล่องแคล่วมีประสิทธิภาพตามความถนัดของ แต่ละบุคคล
ความสำคัญของพัฒนาการด้านร่างกาย (การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก)
พัฒนาการด้านร่างกายเป็นพัฒนาการด้านหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ของเด็กปฐมวัย ซึ่งกุลยา ตันติผลาชีวะ (2555: 100-102) กล่าวว่า กล้ามเนื้อเล็กเป็นพัฒนาการทางกาย อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญมาก เพราะหมายถึงการสร้างเสริมความสามารถในการหยิบจับ คัดเขียน และทำ กิจกรรมที่ต้องใช้กล้ามเนื้อนิ้วมือ เพราะเด็กต้องใช้มือในการทำกิจกรรมที่สำคัญได้แก่ การเขียนหนังสือ การ จัดกระทำ หยิบ จับ ปั้นแต่งสิ่งต่างๆ การส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อมือไม่เพียงแต่พัฒนาการของกล้ามเนื้อนิ้ว มือให้แข็งแรงเท่านั้น แต่ยังเป็นการส่งเสริมความสามารถของการใช้สายตาและมือให้สัมพันธ์กันด้วย การ ส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กต้องพัฒนาควบคู่กันไป และเด็กต้องได้รับการดูแลอย่าง ต่อเนื่อง
โครงสร้างลำดับพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก
อายุ แรกเกิด -3  ปี
อายุ 3 - 6 ปี
                เด็กแรกเกิดถึง 2 เดือน
-จ้องมองได้มองเห็นในระยะห่าง 8 - 12 นิ้ว
-จับถือของได้นาน 2-3 นาที
            เด็กอายุ 2-4 เดือน
-มองตามวัตถุที่เคลื่อนไหว
-กำหรือจับสิ่งของที่ใส่ให้ในมือ
-เริ่มคว้าจับสิ่งของ
          เด็กอายุ 4-6 เดือน
- เอื้อมคว้าของใกล้ๆตัวได้
 -เปลี่ยนมือถือของได้ทีละมือ
-มองตามสิ่งที่ผ่านไปเร็วๆได้
       เด็กอายุ 6 ถึง 9 เดือน
-มองตามของตก
-จับของมากระทบกันด้วยมือสองข้าง
-เริ่มใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้และนิ้วกลาง หยิบของชิ้นเล็กๆ
          เด็กอายุ 9 ถึง 1 ปี
- หยิบของใส่และเอาออกจากภาชนะได้
-ถือ กัด และเคี้ยวอาหารได้ด้วยตนเอง
- ใช้มือทั้งสองข้างทำงานคนละอย่างได้
-ตบมือโบกมือได้
       เด็กอายุ 1 ปีถึง 1 ปี 6 เดือน
-วางก้อนไม้ซ้อนกันได้ 2 ก้อน
 -เปิดหนังสือทีละ 3-4 หน้า
-เล่นกลิ้งลูกบอลเบาๆได้
-ถอดเสื้อผ้าง่ายๆได้เองเช่นกางเกงเอวรูด ถุงเท้า
-ถือช้อนและแก้วน้ำได้
       เด็กอายุ 1 ปี 6 เดือนถึง 2 ปี
-วางก้อนไม้ซ้อนกันได้ 4-6 ก้อน
-เปิดพริกหน้าหนังสือได้ทีละแผ่น
-ใช้ข้อมือได้มากขึ้นเช่นหมุนมือหมุนสิ่งของ ฯลฯ
      เด็กอายุ 2-3 ปี
-จับสีเทียนแท่งใหญ่เพื่อขีดเขียนได้
-เขียนแบบลากเส้นเป็นวงต่อเนื่องหรือเส้นตรงแนวดิ่ง
            
                อายุ 3-4 ปี
-ใช้กรรไกรตัดกระดาษขาดจากกันได้โดยใช้มือเดียว
-เขียนรูปวงกลมตามแบบได้ -ร้อยวัสดุที่มีรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตรได้
           อายุ 4-5 ปี
-ใช้กรรไกรตัดกระดาษตามแนวเส้นตรงได้
-เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้อย่างมีมุมชัดเจน
-ร้อยวัสดุที่มีรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร ได้

        
อายุ 5-6 ปี
- ใช้กรรไกรตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งได้
-เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้อย่างมีมุมชัดเจน
-ร้อยวัสดุที่มีรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.25 เซนติเมตร ได้

คุณลักษณะตามวัยด้านร่างกาย
              พัฒนาการด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกายและ
สมรรถภาพการท างานตามหน้าที่ของร่างกายที่ดำเนินต่อเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงวัยทารก14 (แรกเกิด-2 ปี ) และวัยเตาะแตะ(2-3 ปี ) ซึ่งเป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตทางโครงสร้างและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายอย่างรวดเร็ว อันเป็นฐานของการพัฒนาความสามารถอื่นๆ โดยเริ่มพัฒนาจากสภาพทั่วๆ ไปสู่ลักษณะและความสามารถที่สลับซับซ้อนเฉพาะเจาะจงมากขึ้นตามวัย
ลักษณะพัฒนาการการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
 การทำงานของกล้ามเนื้อเล็ก ตัวอย่างพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากการทำงานประสานกันระหว่าง
กล้ามเนื้อที่ต้องใช้ประสาทส่วนต่าง ๆ เช่น มือและตา ตาและหู ได้แก่
-ความสามารถในการใช้กรรไกรตัดกระดาษตามแนวที่กำหนด
-ลากเส้นระหว่างเส้นขนานลักษณะต่าง ๆ
-พับกระดาษ
-ระบายสีในขอบเขตที่กำหนดให้
-ใส่หมุดในช่องกระดานหมุด
-ร้อยลูกปัด
-รูดซิป ติดกระดุม เป็นต้น
ขอบข่ายของกิจกรรมประจำวัน
              การเลือกกิจกรรมที่จะนำมาจัดในแต่ละวันสามารถจัดได้หลายรุปแบบทั้งนี้ขั้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำไปใช้ของแต่ละหน่วยงานและสภาพชุมชน  ผู้สอนต้องคำนึงถึงการจัดกิจกรรมให้ครอบครุมพัฒนาการด้านทุกด้าน ดังต่อไปนี้
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ ๒ ใช้อวัยวะของร่างกายได้ประสานสัมพันธ์กัน
คุณลักษณะ
แรกเกิด-๒เดือน
๒-๔เดือน
๔-๖ เดือน
๖-๙ เดือน
๙ เดือน-๑ปี
๑ปี-๑ปี ๖เดือน
๑ปี๖เดือน-๒ปี
๒-๓ปี
๒.๒ใช้กล้ามเนื้อเล็กประสานสัมพันธ์มือ-ตาได้เหมาะสมกับวัย
-จ้องมองได้จ้องมองในระยะห่าง ๘-๑๒ นิ้ว
-มองตามวัตถุที่เคลื่อนไหว
-จับหรือกำสิ่งของที่ใส่ไห้ในมือ
-เอื้อมคว้าของใกล้ๆตัวได้
-เปลี่ยนมือถือของได้ทีละมือ
-มองตามของตก
-จับของมากระทบกันด้วยมือ๒ข้าง
-เริ่มใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลางหยิบของชิ้นเล็กๆ
-หยิบของใส่และออกจากภาชนะได้
-ถือ กัด และเคี้ยวอาหารได้ด้วยตนเอง
-วางก้อนไม้ซ้อนกันได้ ๒ก้อน
-เปิดหนังสือทีละ๒-๓หน้า
-วางก้อนไม้ซ้อนกันได้ ๔-๖ก้อน
-เปิดพลิกหน้าหนังสือได้ทีละแผ่น
-จับสีเทียนแท่งใหญ่เพื่อขีดเขียนได้
-เลียนแบบลากเส้นเป็นวงต่อเนื่องหรือเส้นตรงแนวติ่ง

หลักการประเมินพัฒนาการ
ความหมายของการประเมินพัฒนาการ
               กระทรวงศึกษาธิการ (2547) ให้ความหมายของการประเมินพัฒนาการ หมายถึง กระบวนการ
สังเกตพฤติกรรมของเด็กในขณะทำกิจกรรม แล้วจดบันทึกในเครื่องมือที่ผู้สอนสร้างขึ้น หรือกำหนดอย่าง
ต่อเนื่อง เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกในแต่ละครั้ง เป็นข้อมูลในการพัฒนากิจกรรมให้เด็กได้รับพัฒนาการอย่างตามศักยภาพการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นกิจกรรมที่อยู่รวมอยู่ในกระบวนการเรียน การสอนของครูซึ่งการประเมินพัฒนาการครูควรสังเกตพฤติกรรมเด็กหลายๆครั้ง และปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ก่อนการตัดสินใจสรุปพฤติกรรม ทั้งนี้ภูมิหลังเด็กเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ครูต้องศึกษาเพราะเป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมต่างๆของผู้เรียน เมื่อครูสังเกตพฤติกรรมของเด็กจนมีความแน่ใจ ก็จะนำไปสู่การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กตามศักยภาพด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย
การประเมินพัฒนาการเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี
              การประเมินพัฒนาการเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรประเมินให้ครอบคลุมครบทุกช่วงอายุเพราะช่วงวัยนี้
มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว อีกทั้งมีความเสี่ยงต่อสภาพความผิดปกติต่างๆจึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังและติดตาม
ดูแลอย่างใกล้ชิด พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูควรสังเกตพัฒนาการเด็กโดยคำนึงถึง
ความแตกต่างระหว่างบุคคล หากพบความผิดปกติต้องรีบพาไปพบแพทย์หรือผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ
เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กเพื่อหาแนวทางแก้ไขหรือบำบัดฟื้นฟูโดยเร็วที่สุดสำหรับหลักในการประเมินพัฒนาการมีดังนี้ 16
              1. ประเมินพัฒนาการของเด็กครบทุกด้าน
              2. ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
              3. ประเมินด้วยวิธีการที่หลากหลายซึ่งวิธีการประเมินที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีมีการสังเกต
พฤติกรรมของเด็กในกิจกรรมต่างๆและกิจวัดประจำวัน การบันทึกพฤติกรรม การสนทนาการสัมภาษณ์เด็ก
และผู้ใกล้ชิดและการวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็ก
              4. บันทึกพัฒนาการลงในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (เล่มสีชมพู) และใช้คู่มือการเฝูาระวังและ
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย DSPM ของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข หรือของหน่วยงานอื่น
              5. นำผลที่ได้จากการประเมินพัฒนาการไปพิจารณาจัดกิจกรรมเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้และมี
พัฒนาการเหมาะสมตามวัย
การประเมินพัฒนาการประเมินพัฒนาการเด็กอายุ 3-6 ปี
              การประเมินพัฒนาการการประเมินพัฒนาการเด็กอายุ 3-6 ปี เป็นการประเมินพัฒนาการทางด้าน
ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็ก โดยถือเป็นกระบวนการต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของ
กิจกรรมปกติที่จัดให้เด็กในแต่ละวัน ผลที่ได้จากการสังเกตพัฒนาการเด็กต้องนำมาจัดทำสารนิทัศน์ หรือ
จัดทำข้อมูลหลักฐานหรือเอกสารอย่างเป็นระบบด้วยการรวบรวมผลงานสำหรับเด็กเป็นรายบุคคลที่สามารถ
บอกเรื่องราวหรือประสบการณ์ที่เด็กได้รับ ว่าเด็กเกิดการเรียนรู้และมีความก้าวหน้าเพียงใด ทั้งนี้ให้นำข้อมูล
ผลประการประเมิน พัฒนาการเด็กมาพิจารณาปรับปรุงวางแผนการจัดกิจกรรมและส่งเสริมให้เด็กแต่ละคน
ได้รับการพัฒนาตามจุดหมายของหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง การประเมินพัฒนาการควรยึดหลักดังนี้
1. วางแผนการประเมินพัฒนาการอย่างเป็นระบบ
2. ประเมินพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน
3. ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี
4. ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงจากกิจกรรมประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย
5. สรุปผลการประเมินจัดทำข้อมูล และนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาเด็กสำหรับวิธีการประเมินที่เหมาะสมควรและควรใช้กับเด็กอายุ 3-6 ปีได้แก่ การสังเกต การบันทึกพฤติกรรม การสื่อสารกับเด็ก การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็กที่เก็บอย่างมีระบบ
เทคนิคและวิธีการประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย (กล้ามเนื้อมัดเล็ก)ที่คณะผู้จัดทำนำเสนอในรายงายฉบับนี้ ได้แก่
1. การสังเกต (Ovservation)
ความหมายของการสังเกต
              การสังเกตจึงเป็นวิธีการที่ครูส่วนใหญ่ใช้ในการวัดและประเมินผล ตามสภาพจริงที่เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการด้วยการ เฝ้าดูพฤติกรรมที่แสดงออกตามธรรมชาติโดยไม่รู้ตัว แล้วจัดบันทึกพฤติกรรมที่สังเกตได้ลงในแบบฟอร์ม เพื่อน าข้อมูลเหล่านั้นในการเตรียมตัวสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กอีกทั้งเป็นหลักฐานในการประเมินเด็กและช่วยพัฒนาเด็กทุกด้านความสำคัญของการสังเกตพฤติกรรมวิธีการสังเกตจะต้องใช้บ่อยที่สุด แม้ในขณะที่ผู้สอนใช้วิธีอื่นๆ ในการประเมินผลก็อาจต้องใช้การสังเกตแทรกต้อง
จุดมุ่งหมายของการสังเกตพฤติกรรม
การสังเกตเป็นวิธีการวัดที่ตรงที่สุด เป็นวิธีการประเมินที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอน และประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
หลักการสังเกต
1.ต้องกำหนดจุดมุ่งหมายของการสังเกตที่แน่นอน
2.ศึกษาเรื่องที่จะสังเกตล่วงหน้า
3.วางแผนการสังเกตให้เป็นระบบ
4.ข้อมูลที่ได้รับควรเป็นข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ check list หรือ rating scale เข้าช่วย
5.ข้อมูลที่สังเกตได้ควรมีการตรวจสอบซ้ำ
6.ผู้ที่สังเกตควรฝึกการสังเกตก่อนไปสังเกตจริง
2. การเขียนบันทึกระเบียนพฤติการณ์ (Anecdotes)
การสังเกตและการบันทึกพฤติกรรมเด็ก โดยใช้บันทึกระเบียนพฤติการณ์นี้ เหมาะสำหรับครู ปฐมวัยที่
ท าการสังเกตพฤติกรรมเด็กในชั้นเรียนตามสถานที่เป็นจริง การบันทึกระเบียนพฤติการณ์เป็นการเขียนบันทึก
แบบสั้น บรรยายเหตุการณ์ พฤติกรรมคำพูดของเด็ก
3. แบบบันทึก (Anecdotal records)
แบบบันทึก เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้ในการบันทึกพฤติกรรมหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
เด็กปฐมวัยที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่น บันทึกการพัฒนาของเด็ก บันทึกการเจริญเติบโตของเด็ก บันทึก
ระยะเวลาที่ต้องการทำการฉีดยาปูองกันโรคต่าง ๆ หรือการฉีดวัคซีนให้กับเด็ก ในการบันทึกนั้น ผู้บันทึก
ควรจะทำการบันทึกทีหลังจากเหตุการณ์นั้นได้เกิดขึ้น การบันทึกอาจจะบันทึกลงในบัตรหรือแบบบันทึกที่
จัดทำขึ้นครั้งละหนึ่งใบ หรืออาจจะบันทึกลงในบัตรส่วนตัวของเด็กแต่ละคนก็ได้
4. การใช้แบบทดสอบ (Test)
เกณฑ์การเลือกแบบทดสอบ
วรรณวดี ม้าลาพอง (2525: 55) กล่าวถึง เกณฑ์ในการเลือกแบบทดสอบไว้ ดังนี้
1. ความจำเป็นของการใช้แบบทดสอบ
2. ลักษณะของข้อมูลที่ต้องการ
3. ความเชื่อถือได้ และความเที่ยง ของแบบทดสอบ
4. ความเหมาะสมและความสะดวกที่จะนำไปใช้
5. ความเหมาะสมและความสะดวกที่จะนำไปใช้
ประเภทของแบบทดสอบ
ดวงเดือน ศาสตร์ภัท (2548: 309) กล่าวว่า แบบทดสอบในระดับอนุบาลแย่งออกได้เป็น 2 ประเภท
คือ
1.แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น (Teacher -made)
2.แบบทดสอบมาตรฐาน (Standardized test)

5. การใช้แบบประเมินพัฒนาการ หรือแบบตรวจสอบรายการ (Checklist)
แบบตรวจสอบรายการ เป็นชุดของข้อความที่แสดงรายการ หรือพฤติกรรมของเด็ก เพื่อให้ครูทำการตรวจสอบหรือสำรวจดูว่ารายการหรือพฤติกรรมที่ต้องการสำรวจมีอยู่หรือไม่ แบบตรวจสอบรายการเหมาะสมหรับนำมาใช้เป็นเครื่องมือประเมินการปรับตัวทางสังคมของเด็กปฐมวัย นอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับนำมาใช้ในการประเมินวิธีดำเนินงานและประเมินผลผลิตจากการปฏิบัติของเด็กอีกด้วยแบบตรวจสอบรายการส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือประกอบการสังเกตว่ามีเหตุการณ์ หรือพฤติกรรมตามที่กำหนดไว้ในรายการหรือไม่ โดยให้ผู้ใช้ทำเครื่องหมาย ( ) ลงหน้าช่องที่ต้องการ
6. แฟ้มสะสมงาน (Portfolio)
ความหมายของแฟ้มสะสมงาน
แฟ้มสะสมงาน คือ การรวบรวมผลงานของเด็กปฐมวัยอย่างมีจุดมุ่งหมาย แสดงให้เห็นถึงความ
พยายาม ความก้าวหน้า ทักษะและพัฒนาการ ตลอดจนความสำเร็จของเด็กในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ
ด้าน ซึ่งเด็กจะต้องมีส่วนร่วมในการัดเลือกผลงานโดยใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกและตัดสินคุณค่าของงาน โดย
ผู้สอนจะเป็นผู้คอยกระตุ้น ให้ผู้เรียนตระหนักในทุกๆ ด้าน จึงอาจกล่าวได้ว่า แฟ้มสะสมผลงานเป็นการ
ประเมินผลแนวใหม่โดยเน้นเด็กเป็นสำคัญ
7.การสัมภาษณ์(interview)
             เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนอาจเกิดขึ้นระหว่างครูเด็กครูผู้ปกครอง จะได้ผลดีถ้ามีความคุ้นเคยกันมีประโยชน์ในการทำความเข้าใจเด็กแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
              1.การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
              2.การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างหรือไม่เป็นทางการ
              3.การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
 หลักทั่วไปในการสัมภาษณ์
              1.กำหนดจุดมุ่งหมายวางแผนสัมภาษณ์
              2.เตรียมตัวหรือเครื่องมือหรือรูปแบบคำถามสถานที่
              3.ในขั้นตอนสัมภาษณ์เป็นผู้ฟังที่ดี
              4.ยุติการสัมภาษณ์อย่างเหมาะสม
8.การเขียนบันทึกเกี่ยวกับตัวเด็ก(Anecdotes)
              เป็นการเขียนเรื่องราวสั้นๆเกี่ยวกับตัวเด็กจากเหตุการณ์ที่มีความหมายต่อครูและเด็ก ครูอาจสังเกตจนกระทั่งเหตุการณ์ผ่านพ้นไปจึงจดบันทึกหรือบันทึกย่อๆ ขณะสังเกตการเขียนบันทึกเกี่ยวกับตัวเด็ก
             ช่วยให้ครูพัฒนาทักษะการเขียนเรียนรู้กับ ตนเอง พัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของเด็กได้ดีขึ้นมีความเข้าใจเห็นภาพพจน์เด็กที่ตนสอนมากขึ้น
การประเมินสรุปและให้ข้อเสนอแนะบันทึกเกี่ยวกับตัวเด็กบันทึกคำพูด
              1.จำกัดทางด้านจำนวนคำศัพท์
              2.ความสามารถในการถ่ายทอดเรื่องราวที่ได้พบเห็น
              3.การบรรยายความรู้สึกที่มีต่อสิ่งต่างๆและบุคคลต่างๆ

              4.ความรู้ความเข้าใจความสนใจและความประทับใจ
กลุ่ม 4
การประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ : ลักษณะของอารมณ์
คุณธรรม จริยธรรม (ต่อตนเองและผู้อื่น)

ความสำคัญพัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจของเด็กปฐมวัย
               วัยอนุบาลเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดช่วงหนึ่ง เพราะเป็นช่วงเวลาที่เด็กเรียนรู้เรื่องต่างๆมากที่สุดในชีวิต เด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่เช่นไรในอนาคต ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูในช่วงนี้ เป็นช่วงที่หล่อหลอมลักษณะพิเศษของแต่ละคน หรือที่เราเรียกว่า บุคลิกภาพ” ซึ่งเปลี่ยนแปลงได้ยากเมื่อเติบโตขึ้น ทั้งนี้เพราะเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ เด็กคือเด็ก ที่มีความรู้สึก มีความคิดเห็นของตัวเอง แต่จะถูกหรือผิดขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ที่จะช่วยอบรมสั่งสอน นำพาเข้าสู่เส้นทางที่ถูกที่ควร เด็กจึงจะเจริญเติบโตเป็นเด็กที่เป็นคนดี มีความสุข และมีความสมดุลในชีวิต ดังนั้น การพัฒนาจึงเริ่มต้นขึ้นที่บ้าน ถ้าพ่อแม่พัฒนาลูกในทุกกิจกรรม ลูกจะมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง รู้จักกินเป็น ดูเป็น ฟังเป็น บริโภคเป็น มีจิตใจที่ดีงาม มีการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม พร้อมที่จะออกสู่สังคมนอกบ้านต่อไป เพราะเด็กวัยอนุบาลจะเก็บสะสมข้อมูลที่ได้รับผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น หากเด็กได้รับการเลี้ยงดูแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสม     จะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจดี เด็กจะยอมรับนับถือตนเอง ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น และเด็กก็จะมีความสุขตามมา เมื่อเด็กมีความสุข เด็กจะมีกำลังใจ มีแรงจูงใจในการทำงานตามที่มุ่งหวัง และสามารถทนต่อความขัดแย้งได้ดี ทำให้ประสบความสำเร็จ ถ้าเด็กไม่สามารถทำได้ตามขั้นตอนพัฒนาการ เด็กจะรู้สึกเป็นปมด้อย และจะทำงานในขั้นตอนพัฒนาการที่สูงขึ้นได้ยาก
พัฒนาการเด็ก ด้านอารมณ์จิตใจ
                พัฒนาการทางอารมณ์ หมายถึง ขบวนการวิวัฒนาการของจิตที่สามารถรับผิดชอบควบคุม ขัดเกลา และแสดงออก ซึ่งอารมณ์ให้เหมาะสมกับกาลเวลาและสถานที่ เช่น การโต้เถียงโดยไม่รู้สึกโกรธเคือง รับฟังความคิดเห็น ของบุคคลอื่นที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกับตนอย่างสบายใจในขณะที่รู้สึกโกรธเคืองไม่แสดงพฤติกรรมใดๆ ออกมาในทางไม่ดี หรือในทางลบ
                ลักษณะพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัยการแสดงออกทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยนั้นรุนแรงกว่าวัยทารก ระดับความรุนแรงทางอารมณ์ของเด็กแต่ละคนมีไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆอย่าง เช่น สุขภาพ สิ่งแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดู อารมณ์โดยทั่วไปของเด็กปฐมวัย ได้แก่ อารมณ์โกรธ กลัว อิจฉา อยากรู้อยากเห็น อารมณ์สนุกสนาน และอารมณ์รัก ซึ่งมีลักษณะดังนี้


1. อารมณ์โกรธ จะเริ่มเมื่อเด็กอายุได้ 6 เดือน และจะมีอัตราความโกรธสูงขึ้นตามลำดับเด็กมักโกรธเมื่อถูกขัดใจ ถูกรังแก และเรียนรู้ว่าวิธีที่จะเอาชนะได้ง่ายที่สุดคือการแสดงอารมณ์โกรธ เด็กจะแสดงอารมณ์โกรธอย่างเปิดเผย เช่น ร้องไห้ กระทืบเท้า กระแทกร่างกาย ทำตัวอ่อน ไม่พูดไม่จา ฯลฯ เมื่อพ้นวัยนี้ไปแล้วเด็กจะเริ่มควบคุมตัวเองได้บ้าง ในระยะนี้ควรที่จะหลีกเลี่ยงการทำให้เด็กโกรธมากที่สุด เมื่อเวลาที่เด็กโกรธควรจะชี้แจงเหตุผลที่ไม่ตามใจ
2. อารมณ์กลัว กลัวในสิ่งที่จะมีเหตุผลมากกว่าวัยทารก สิ่งเร้าที่ทำให้เด็กกลัวมีมากขึ้น เช่น กลัวเสียงดัง คนแปลกหน้า อายุ 3-5 ปี กลัวสัตว์ กลัวถูกทิ้งให้อยู่คนเดียว พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกเวลากลัว ร้องไห้ วิ่งหนี หาที่ซ่อน ความกลัวเหล่านี้จะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น
3. อารมณ์อิจฉา อารมณ์อิจฉาเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเด็กมีความรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น หรือ กำลังสูญเสียของที่เป็นของตนไป จะเกิดขึ้นในเด็กอายุ 2-5 ปี เด็กจะอิจฉาน้อง เมื่อเด็กเห็นว่าพ่อแม่ให้ความสนใจมากกว่าตน พฤติกรรมที่แสดงออกเช่นเดียวกับอารมณ์โกรธ ดังนั้นควรที่จะให้ความรักความอบอุ่นที่ทัดเทียมกันเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเลื่อมล้ำ
4. อารมณ์อยากรู้อยากเห็น เป็นวัยที่เริ่มรู้จักการใช้เหตุผลมีความเป็นตัวของตัวเองมีความสงสัยในสิ่งที่ไม่เคยเห็น ชอบสำรวจ ชอบซักถาม
5. อารมณ์สนุกสนาน เมื่อเด็กประสบความสำเร็จในสิ่งต่างๆที่ได้กระทำ เด็กจะเกิดความสนุกสนาน ซึ่งแสดงออกด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ
6.อารมณ์รัก ครั้งแระเด็กจะรักตนเองก่อน ต่อมาจะรู้จักการรักคนอื่น อารมณ์นี้เป็นอารมณ์แห่งความสุข เด็กจะแสดงความรักโดยการกอดจูบลูบคลำ เด็กที่ไม่ได้รับความรักความอบอุ่นจากครอบครัวหรือคนที่ผูกพันเด็กมักจะเห็นแก่ตัว ทำให้เด็กไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดี เด็กมักแสดงความรักต่อพ่อแม่ หรือสัตว์เลี้ยงตลอดจนของเล่น
 ลักษณะพัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจของเด็กปฐมวัย
1. พัฒนาการทางอารมณ์เด็กวัย 1 ปี 
ด้านอารมณ์จิตใจ เด็กในช่วงนี้เริ่มรู้จักทำอะไรตามใจตนเอง ขัดใจจะโกรธ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย แสดงอารมณ์เปิดเผยตามความรู้สึก มีปฏิกิริยาต่อต้านเมื่อไม่พอใจต้องการความเป็นตัวของตัวเอง



2. พัฒนาการทางอารมณ์เด็กวัย 2 ปี
ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กวัยนี้จะแสดงอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆด้วยคำพูด อารมณ์มักจะขึ้นๆลงๆ มีความเป็นตัวของตัวเอง เด็กในวัยนี้ถ้าได้รับการยอมรับหรือชมเชยจะมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
3. พัฒนาการทางด้านอารมณ์เด็กวัย 3 ปี
ด้านอารมณ์ จิตใจ ร่าเริง แจ่มใส แสดงอารมณ์ตามความรู้สึกไม่ทำร้ายผู้อื่นเมื่อไม่พอใจ เริ่มมีความมั่นใจในตนเอง รู้จักเลือกเล่นสิ่งที่ตนชอบ สนใจ เล่นบทบาทสมมุติได้ เด็กวัยนี้ชอบทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้รับคำชม
4. พัฒนาการทางอารมณ์เด็กวัย 4 ปี
ด้านอารมณ์ จิตใจ เป็นวัยที่ชอบท้าทายผู้ใหญ่ ต้องการให้มีคนฟัง คนสนใจ สามารถแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ ไม่ทำร้ายผู้อื่นและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่แย่งสิ่งของหรือหยิบของผู้อื่นมาเป็นของตน
5. พัฒนาการทางอารมณ์เด็กวัยระหว่าง 5-6 ปี
              ด้านอารมณ์ จิตใจ แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง
             การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัย พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยยังไม่คงที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย เป็นวัยเจ้าอารมณ์ บางครั้งจะมีอารมณ์รุนแรง โมโหร้าย โกรธง่าย เอาแต่ใจตัวเอง จะสังเกตได้จากการที่เด็กแสดงอารมณ์ในลักษณะต่างๆ เช่น มีอารมณ์หวาดกลัวอย่างรุนแรง มีอารมณ์อิจฉาริษยาน้องและโมโหฉุนเฉียวเป็นต้น เด็กแต่ละคนจะมีลักษณะพัฒนาการทางอารมณ์แตกต่างกันตามสภาพสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ที่แตกต่างกัน หากเด็กได้รับความไม่พอใจ เด็กก็จะสะสมอารมณ์ไม่พอใจเหล่านั้นไว้ทำให้เด็กขาดความสุข มีอารมณ์ตึงเครียดและอาจทำให้ชีวิตในวัยต่อไปมีปัญหาได้
           ดังนั้นพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูจึงควรพยายามหลีกเลี่ยงการเลี้ยงดูเด็กที่ก่อให้เกิดอารมณ์อิจฉาริษยา อารมณ์โกรธ อารมณ์วิตกกังวล และความตึงเครียดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นั่นคือควรพยายามส่งเสริมให้เด็กมีอารมณ์สนุกสนาน ร่าเริง อารมณ์สงบ เยือกเย็น อารมณ์รักและมองโลกในแง่ดี พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูตลอดจนครูผู้ดูแลเด็กควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆดังนี้
1.ให้ความรักและความอบอุ่น ความเอาใจใส่ต่อเด็ก และการเข้าใจเด็กยอมรับในตัวเด็กจะเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีพื้นฐานทางอารมณ์ที่มั่นคง รู้สึกอบอุ่น มีอารมณ์ขัน มองโลกในแง่ดี


2.การเล่น การเล่นเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของเด็ก มีคุณค่าทางอารมณ์ ทำให้เด็กได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินมีอารมณ์เบิกบานแจ่มใส มีจิตใจที่มั่นคง มองโลกในแง่ดี และยังทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง ถ้าหากพ่อแม่ได้ปล่อยให้เด็กได้เล่นตามความต้องการด้วยแล้ว เด็กจะมีความสุข การเล่นช่วยให้เด็กผ่อนคลายความตึงเครียดในชีวิตประจำวัน ช่วยระบายอารมณ์ เมื่อเด็กเกิดความรู้สึกโกรธ วิตกกังวล หรือคับข้องใจเป็นการลดความก้าวร้าว และละความไม่พึงพอใจที่ได้รับจากผู้ที่อยู่รอบข้าง การเล่นจึงเป็นกิจกรรมที่สนองความต้องการที่จะผ่อนคลายความตึงเครียดทางอารมณ์ ฟรอยด์นักจิตวิทยาผู้มีชื่อเสียงด้านจิตวิเคราะห์กล่าวว่า การเล่นมีคุณค่ามากในแง่ของการบำบัดเพราะการเล่นช่วยให้เด็กสามารถลดความไม่พึงพอใจอันเกิดจากประสบการณ์ได้โดยค่อยๆลดความวิตกกังวล
3.การฟังนิทาน นิทานช่วยให้เด็กมีความเพลิดเพลิน เกิดความสุขมากเมื่อได้ฟังนิทาน เด็กปฐมวัยมีจินตนาการตามเนื้อเรื่องในนิทาน นิทานช่วยผ่อนคลายความเครียดลดความวิตกกังวลของเด็กๆ ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยจะเป็นวัยที่ชอบฟังนิทานมาก และชอบการเลียนแบบ เด็กจึงมักเลียนแบบบุคลิกลักษณะนิสัยตัวละครในนิทาน ถ้าเด็กได้อ่านนิทานที่มีการผูกเรื่องดีๆตัวเอกในเรื่องเป็นคนดี จิตใจเยือกเย็น อารมณ์ดี ไม่โกรธใคร แม้ว่าถูกกลั่นแกล้ง หรือถูกล้อเลียนเมื่อเด็กได้ฟังนิทานเหล่านี้ ก็จะส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็ก ให้เด็กมีสุขภาพจิตดี มีอารมณ์แจ่มใส ไม่โกรธง่าย และยังมีลักษณะนิสัยชอบช่วยเหลือคนอื่นอีกด้วย

สมรรถนะและพัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจของเด็กปฐมวัย
       เด็กวัยอนุบาลจะแสดงออกด้านอารมณ์เด่นชัดขึ้น มีความสนใจในเรื่องต่างๆค่อนข้างสั้น เวลาดีใจ เสียใจ โกรธ หรือกลัว ก็จะแสดงอารมณ์ออกมาเต็มที่ ได้แก่ กระโดด กอด ตบมือ โวยวาย ร้องไห้เสียงดัง ทุบตี ขว้างปาสิ่งของ ไม่พอใจเมื่อถูกห้าม ฯลฯ
อารมณ์ด้านบวก
รัก เมื่อเด็กรู้สึกมีความสุข จะแสดงออกด้วยการกอด ยิ้ม หัวเราะ อยากอยู่ใกล้ชิดกับบุคคลหรือสิ่งที่รัก และอาจติดสิ่งของบางอย่าง เช่น ตุ๊กตา หมอน ผ้าห่ม
สนุกสนาน เกิดจากความสุข การประสบความสำเร็จในกิจกรรมที่ทำ หรือได้รับสิ่งใหม่ๆ เด็กจะแสดงออกด้วยการตบมือ ยิ้ม หัวเราะ กระโดด กอด ฯลฯ

อารมณ์ด้านลบ
โกรธ เมื่อถูกขัดใจ ถูกแย่งของเล่น ถูกห้ามไม่ให้ทำพฤติกรรมบางอย่าง เด็กจะแสดงออกด้วยการทุบตี กัด ข่วน หรือแสดงวาจาโกรธเกรี้ยว
กลัว กลัวถูกทอดทิ้ง กลัวคนแปลกหน้า กลัวความมืด กลัวผี ซึ่งมักจะมาจากจินตนาการของเด็กเอง
อิจฉา เมื่อมีน้องใหม่ และเด็กไม่เข้าใจ อาจแสดงความโกรธ ก้าวร้าว หรือพฤติกรรมเบี่ยงเบนอื่นๆ เช่น ดูดนิ้ว ปัสสาวะรดที่นอน
เศร้า เสียใจ เกิดขึ้นเมื่อเด็กรู้สึกสูญเสียสิ่งที่รักหรือสิ่งที่มีความสำคัญ เช่น ของเล่น จึงแสดงออกด้วยอาการที่เศร้าซึม ไม่ยอมเล่น ไม่รับประทานอาหาร หรือรับประทานได้น้อยลง
พัฒนาการทางอารมณ์ตามวัยของเด็กอนุบาล มีดังนี้

ขวบ
แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม
กลัวการพลัดพรากจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง
ขวบ
แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์
เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถ และผลงานของตนเองและผู้อื่น
ชอบท้าทายผู้ใหญ่
ต้องการให้มีคนฟัง คนสนใจ
ขวบ
แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง

 หลักการประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ
          การประเมินพัฒนาการเด็กอายุ 3-6 ปี เป็นการประเมินพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็ก โดยถือเป็นกระบวนการต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปกติที่จัดให้เด็กในแต่ละวัน ผลที่ได้จากการสังเกตพัฒนาการเด็ก ต้องนำมาจัดทำสารนิทัศน์ หรือจัดทำข้อมูลหลักฐานหรือเอกสารอย่างเป็นระบบ ด้วยการรวบรวมผลงานสำหรับเด็กเป็นรายบุคคลที่สามารถบอกเรื่องราวหรือประสบการณ์ที่เด็กได้รับว่าเด็กเกิดการเรียนรู้และมีความก้าวหน้าเพียงใด ทั้งนี้ ให้นำข้อมูลผลการประเมินพัฒนาการเด็กมาพิจารณาปรับปรุง วางแผนการจัดกิจกรรม และส่งเสริมให้เด็กแต่ละคนได้รับการพัฒนาตามจุดหมายของหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง การประเมินพัฒนาการควรยึดหลัก ดังนี้
1. วางแผนการประเมินพัฒนาการอย่างเป็นระบบโดยเริ่มต้นจากการศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย กำหนดวัตถุประสงค์ วิธีการและเครื่องมือการประเมินและเก็บรวบรวมข้อมูลแปลผลต่อไป
2. ประเมินพัฒนาการเด็กครบทุกด้านซึ่งต้องสอดคล้องและครอบคลุมมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ และสภาพที่พึงประสงค์แต่ละวัยที่กำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา
3. ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี
4.ประเมินพัฒนาการตามสภาพจริงจากกิจกรรมประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย
5. สรุปผลการประเมิน จัดทำข้อมูลและนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาเด็กเป็นรายบุคคลและใช้เป็นข้อมูลสื่อสารกับผู้ปกครองในการเสริมศักยภาพเด็กเป็นรายบุคคล
 หลักการสำคัญของการดำเนินการประเมินพัฒนาการตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐
            สถานศึกษาที่จัดการศึกษาปฐมวัยควรคำนึงถึงหลักสำคัญของการดำเนินงานการประเมินพัฒนาการตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ ๓-๖ ปีดังนี้
           ๑.๑ ผู้สอนเป็นผู้รับผิดชอบการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม
          ๑.๒ การประเมินพัฒนาการ มีจุดมุ่งหมายของการประเมินเพื่อพัฒนาความก้าวหน้าของเด็ก และสรุปผลการประเมินพัฒนาการของเด็ก


          ๑.๓ การประเมินพัฒนาการต้องมีความสอดคล้องและครอบคลุมมาตรฐานคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ตัวบ่งชี้สภาพที่พึงประสงค์แต่ละวัยซึ่งกำหนดไว้ให้ในหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย
          ๑.๔ การประเมินพัฒนาการเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ต้องดำเนินการด้วยเทคนิควิธีการที่หลากหลายเพื่อให้สามารถประเมินพัฒนาการเด็กได้อย่างรอบด้านสมดุลทั้งด้าน ร่างกายอารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งระดับอายุของเด็กโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเที่ยงตรง ยุติธรรมและเชื่อถือได้
         ๑.๕ การประเมินพัฒนาการพิจารณาจากพัฒนาการตามวัยของเด็ก การสังเกตพฤติกรรมการ เรียนรู้และการร่วมกิจกรรม ควบคู่ไปในกระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามความเหมาะสมของแต่ละ ระดับอายุ และรูปแบบการจัดการศึกษา และต้องดำเนินการประเมินอย่างต่อเนื่อง
         ๑.๖ การประเมินพัฒนาการต้องเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้สะท้อนและ ตรวจสอบผลการประเมินพัฒนาการ
       ๑.๗ สถานศึกษาควรจัดทำ เอกสารบัน ทึกผลการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในระดับชั้นเรียนและระดับสถานศึกษา เช่น แบบบัน ทึกการประเมินพัฒนาการตามหน่วยการจัดประสบการณ์สมุดบันทึกผลการประเมินพัฒนาการประจำชั้น เพื่อเป็นหลักฐานการประเมินและรายงานผลพัฒนาการและสมุดรายงาน ประจำตัวนักเรียน เพื่อเป็นการสื่อสารข้อมูลการพัฒนาการเด็กระหว่างสถานศึกษากับบ้าน
ขอบเขตของการประเมินพัฒนาการ
      หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ได้กำหนดเป้าหมายคุณภาพของเด็กปฐมวัยเป็น มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ซึ่งถือเป็นคุณภาพลักษณะที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับตัวเด็กเมื่อจบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยคุณลักษณะที่ระบุไว้ในมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็กทุกคน ดังนั้น สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพมาตรฐานที่พึงประสงค์กำหนดถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัยแนวคิดดังกล่าวอยู่บนฐานความเชื่อที่ว่าเด็กทุกคนสามารถพัฒนาอย่างมีคุณภาพและ เท่าเทียมได้ขอบเขตของการประเมินพัฒนาการประกอบด้วย

 ๑. สิ่งที่จะประเมิน พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ประกอบด้วย ๓ มาตรฐาน คือ
              มาตรฐานที่ ๓ มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข
                       – แสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์
                       - ร่าเริงแจ่มใส อารมณ์ดี
                       - มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
                       – มีความมั่น ใจในตนเองและกล้าแสดงออก
                       - พึงพอใจในตนเอง ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเอง และผู้อื่น          
            มาตรฐานที่ ๔ ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว
                       - สนใจและมีความสุขกับศิลปะ ดนตรีและการเคลื่อนไหว
                       - แสดงออกทางด้านศิลปะ ดนตรีและการเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
                       – รักการออกกำลังกาย
            มาตรฐานที่ ๕ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
                        – มีวินัยในตนเองและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
                        – สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตัวเอง
                        -จัดเก็บของเล่น ของใช้เข้าที่ได้เรียบร้อย
                        - มุ่งมั่นที่จะทำงานให้สำเร็จด้วยตนเอง
                        - ซื่อสัตย์สุจริต และยอมรับความผิดพลาดของตนเองและผู้อื่น
                        –ไม่หยิบของคนอื่นมาเป็นของตนเอง
                        -รู้จักขอโทษและให้อภัย
                         - มีความเมตตากรุณาและช่วยเหลือแบ่งปัน
                         -แสดงความรักเพื่อน เด็กที่เล็กกว่าและสัตว์ต่าง ๆ
                         - มีน้ำใจรู้จักแบ่งปัน และเริ่มช่วยเหลือผู้อื่น
                         -รู้จักประหยัดใช้สิ่งของ / เครื่องใช้/ น้า /ไฟ อย่างประหยัด
๒. วิธีและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินด้านอารมณ์จิตใจ
                       ประกอบด้วย การประเมินความสามารถในการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น มีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความสนใจ/ ความสามารถ/และมีความสุขในการท างานศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว ความรับผิดชอบในการทำงาน ความซื่อสัตย์สุจริตและรู้สึกถูกผิดความเมตตากรุณา มีน้ำ ใจและช่วยเหลือแบ่งปัน ตลอดจนการประหยัดอดออม และพอเพียง
ขั้นตอนการประเมินพัฒนาการ
                         - ศึกษาและทา ความเข้าใจพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงอายทุกด้าน ได้แก่  ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา
                         - วางแผนเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับใช้บันทึกและประเมินพัฒนาการ เช่น แบบบันทึกพฤติกรรมเหมาะที่จะใช้บันทึกพฤติกรรมของเด็กการบันทึกรายวันเหมาะกับการบัน ทึกกิจกรรม หรือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้น เรียนทุกวันเป็นต้น
                         - ดำเนินการประเมินและบันทึกพัฒนาการ หลังจากที่ได้วางแผนและเลือกเครื่องมือที่จะใช้ประเมินและบันทึกพัฒนาการแล้วจะต้องอ่านคู่มือหรือคำอธิบายวิธีการใช้เครื่องมือนั้นๆ อย่างละเอียด แล้วจึง ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
                         - ประเมินและสรุป การประเมินและสรุปนั้นต้องดูจากผลการประเมินหลาย ๆ ครั้งมิใช่เพียงครั้งเดียว หรือนำเอาผลจากการประเมินเพียงครั้งเดียวมาสรุป อาจทำให้ผิดพลาดได้
                       - รายงานผล เมื่อได้ผลจากการประเมินและสรุปพัฒนาการของเด็กแล้วผู้สอนจะต้องตัดสินใจว่าจะต้อง รายงานข้อมูลไปผู้ใด เพื่อจุดประสงค์อะไรและจะต้องใช้ในรูปแบบใดสำหรับรายงาน เช่น ต้อง รายงานผู้บริหารสถานศึกษาผู้ปกครอง เพื่อให้ทราบว่า กิจกรรมหรือประสบการณ์ที่สถานศึกษาจัดให้เด็กนั้นส่งเสริมพัฒนาเด็กแต่ละคนอย่างไรเป็นไปตามจุดประสงค์หรือไม่ เพื่อจะไดว้างแผนช่วยเหลือ เด็กได้ตรงตามความต้องการต่อไป
                   

 - การให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประเมิน
 ๓. เกณฑ์การประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์
                  การสร้างเกณฑ์ หรือพัฒนาเกณฑ์หรือกำหนดเกณฑ์การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ผู้สอนควร ให้ความสนใจในส่วนที่เกี่ยวข้องดังนี้
                ๑. การวางแผนการสังเกตพฤติกรรมของเด็กอย่างเป็นระบบ เช่น จะสังเกตเด็กคนใดบ้างในแต่ละวันกำหนดพฤติกรรมที่สังเกตให้ชัดเจน จัดทำตารางกำหนดการสังเกตเด็กเป็นรายบุคคลรายกลุ่มผู้สอนต้อง เลือกสรรพฤติกรรมที่ตรงกับระดับพัฒนาการของเด็กคนนั้นจริงๆ
              ๒. ในกรณีที่ห้องเรียนมีนักเรียนจำนวนมาก ผู้สอนอาจเลือกสังเกตเฉพาะเด็กที่ทำได้ดีแล้วและเด็กที่ยังทำไม่ได้ส่วนเด็กปานกลางให้ถือว่าทำได้ไปตามกิจกรรม
              ๓. ผู้สอนต้องสังเกตจากพฤติกรรมคำพูดการปฏิบัติตามขั้นตอนในระหว่างทำงาน/กิจกรรม และ คุณภาพของผลงาน/ชิ้นงาน ร่องรอยที่นำมาใช้พิจารณาตัดสินผลของการทำงานหรือการปฏิบัติอย่าง เช่น
                         ๑) เวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรม/ทำงาน ถ้าเด็กไม่ชอบ ไม่ชำนาญจะใช้เวลามาก มีท่าทางอิดออด ไม่กล้า ไม่เต็มใจทำงาน
                        ๒) ความต่อเนื่องถ้าเด็กยังมีการหยุดชะงักลังเลทำงานไม่ต่อเนื่องแสดงว่าเด็กยังไม่ชำนาญ หรือยังไม่พร้อม
                       ๓) ความสัมพันธ์ถ้าการทำ งาน/ปฏิบัตินั้นๆมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องไม่ราบรื่น ท่าทางมือและ เท้าไม่สัมพันธ์กัน แสดงว่า เด็กยังไม่ชำนาญหรือยังไม่พร้อม ท่าที่แสดงออกจึงไม่สง่างาม
                      ๔) ความภูมิใจ ถ้าเด็กยังไม่ชื่นชม ก็จะทา งานเพียงให้แล้วเสร็จอย่างรวดเร็วไม่มีความภูมิใจในการทำงาน ผลงานจึงไม่ประณีต

 คุณลักษณะตามวัยของพัฒนาการด้านคุณธรรม
      แนวคิดในการการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม การกำหนดทิศทางในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ผู้รับผิดชอบงานควรต้องคิดให้ครอบคลุมทั้งด้านคุณธรรมและจริยธรรม นั่นคือ หลักการคิดและวิธีการปฎิบัติที่ดีงาม ถูกต้อง ตามสภาพสังคม วัฒนธรรม
      พัฒนาการด้านคุณธรรม หมายถึง การพัฒนาคุณธรรมของเด็กโดยคำนึงถึงพื้นฐานการพัฒนาสมอง ซึ่งสมองมีความสามารถในการคิดเริ่มจากการยึดตนเองเป็นหลัก ทำให้เกิดมีปฏิกิริยาตอบสนอง อัตโนมัติ และพัฒนาเป็นการเริ่มนึกถึงจิตใจไปจนถึงการรู้จักใช้วิจารณญาณในการคิดก่อนลงมือทำโดยเฉพาะการกระทำที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การได้รับการชี้แนะจากผู้มีวุฒิภาวะสูงกว่าตามความเหมาะสมควบคู่ไปกับการฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเป็นรากฐานในการพัฒนาเด็กไปสู่การเป็นผู้มีคุณธรรมในใจ กฎเกณฑ์ของสังคมได้อย่างเหมาะสมตามเงื่อนไข กติกา ข้อตกลงด้วยตนเองโดยไม่มีผู้ใดบังคับ กระทำด้วยความพึงพอใจและรู้จักหน้าที่ของตนเองโดยเกิดความสำนึกในด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้
1.ความรับผิดชอบ ได้แก่ พฤติกรรมการแสดงออกที่ตั้งใจทำงานสามารถปฏิบัติตนตามกติกาข้อตกลงในการเล่นและทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย
2.ความซื่อสัตย์ ได้แก่ พฤติกรรมการแสดงออกโดยการในสิ่งของที่ไม่ได้เป็นของตนเองมาเป็นของตนเอง
3.ความสามัคคี ไดแก่ พฤติกรรมที่แสดงออกด้านความรัก เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น
4.ความอดทน อดกลั้น ได้แก่ พฤติกรรมการแสดงออกทางด้านอารมณ์ที่สามารถปฏิบัติตนตามมารยาททางสังคม รู้จักการรอคอย การควบคุมการกระทำของตนเองได้ในการทำกิจกรรม
เทคนิควิธีที่เหมาะสมในการประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ
การประเมินพัฒนาการณ์และการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการจัดประสบการณ์ ตามปกติในกิจวัตรประจำวัน ครูควรประเมินอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ จะสามารถใช้หลักสูตรและจัดประสบการณ์ได้อย่างเหมาะสมกับวัยและความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก
          1. การสังเกต 
          การสังเกตเป็นเครื่องมือวัดผลชนิดหนึ่งที่นิยมใช้มาก เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียนแล้วจึงบันทึกผลการสังเกตลงในแบบบันทึกข้อมูลในการเรียนการสอน สิ่งที่ครูจะสังเกตนักเรียน
          2. การสัมภาษณ์
          ด้วยวิธีการพูดคุยกับเด็กเป็นรายบุคคลและควรจัดในสภาวะแวดล้อมเหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดความเครียดและวิตกกังวลผู้สอนควรใช้คำถามที่เหมาะสมเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและตอบอย่างอิสระจะทำให้ผู้สอนสามารถประเมินความสามารถทางสติปัญญาของเด็กแต่ละคนและค้นพบศักยภาพในตัวเด็กได้โดย บันทึกข้อมูลลงในแบบสัมภาษณ์
กลุ่ม 5 ความหมายและความสำคัญของพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัย

พัฒนาการทางสังคม หมายถึง การพัฒนาความสามารถในการแสดงพฤติกรรมให้สอดคล้องกับแบบแผนที่สังคมยอมรับ เพื่อดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข ซึ่งเด็กอายุ 3-6 ปีจะเป็นช่วงวัยที่สนใจเรียนรู้สังคมภายนอกบ้านมากขึ้น เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นที่อยู่รอบตัว พัฒนาการด้านสังคมของเด็กวัยนี้จึงเป็นพื้นฐานการสร้างบุคลิกภาพที่เหมาะสมของเขาในอนาคต

            พัฒนาการด้านสังคมช่วยให้เด็กได้เรียนรู้และเข้าใจตนเองและผู้อื่น มีการปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างปกติสุข พัฒนาการด้านสังคมเกิดขึ้นตั้งแต่วัยทารก หากทารกได้รับการตอบสนองอย่างเหมาะสม จะมีความไว้วางใจผู้เลี้ยงดู ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการด้านสังคมที่สำคัญ เมื่ออายุมากขึ้นเด็กจะมีการพัฒนาที่ซับซ้อนมากขึ้น จะเริ่มอยากเล่นกับเพื่อน มีกลุ่มเพื่อนสนิท ได้เล่น ได้แสดงความรู้สึก ได้เรียนรู้ข้อตกลง กฎเกณฑ์ต่างๆ ของสังคมตามวัยแต่ละช่วงอายุ
ความหมายของการเรียนรู้ทางสังคมของเด็กปฐมวัย
            การเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning) หมายถึงการเรียนรู้เงื่อนไขต่างๆ ในสังคม การเรียนรู้นี้ทำให้คนมีความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมต่างๆ ตามที่สังคมนั้นๆ มีอยู่ ทำให้คนที่เติบโตในสังคมไทยมีความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมแบบไทย ทำให้คนที่เติบโตในสังคมจีนมีความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมแบบจีน ฯลฯ
            ปฐมวัยเป็นวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 8 ปี ถือเป็นช่วงระยะที่สำคัญที่สุดของชีวิตที่จะเกิดการพัฒนาใน ทุกๆ ด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สติปัญญา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสังคม ซึ่งเป็นพื้นฐานที่มี ความสำคัญต่อพัฒนาการของชีวิตเพื่อให้เป็นบุคคลที่สมบูรณ์ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติได้ กล่าวถึง พัฒนาการทางสังคมว่าเป็นการพัฒนาความสามารถในการแสดงออกของมนุษย์ให้สอดคล้องกับแบบแผน และเป็นที่ยอมรับของสังคมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข สอดคล้องกับอาจารย์กุลยา ตันติผลาชีวะที่ กล่าวว่า พัฒนาการทางสังคมเป็นพัฒนาการของความสามารถแสดงพฤติกรรมต่อบุคคลอื่นและ สิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับแบบแผนที่สังคมยอมรับได้ พฤติกรรมการแสดงออกจะบ่งบอกให้เห็นถึงเจตคติและ ค่านิยมเฉพาะตนของบุคคลคนนั้น นอกจากนี้พัฒนาการทางสังคมเป็นการเรียนรู้ทักษะในการปฏิสัมพันธ์ที่ สลับซับซ้อนรวมตลอดถึงความสามารถในการตอบสนองทางสังคมต่างๆ เช่น มารยาทในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น การเลือกใช้คำพูดที่เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงความสามารถในการเข้าใจในสถานการณ์ อารมณ์ ความรู้สึกของผู้อื่น การแก้ปัญหาต่างๆ และบทบาทสังคมนอกจากนี้เด็กจะยังมีความรู้สึกผูกพัน ใกล้ชิด ภายใน ครอบครัว ที่ต้องการพึ่งพาผู้อื่นไปสู่การพึ่งพาตนเองและการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น ซึ่งเด็กระดับปฐมวัยสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัวและเรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น หากเด็กมีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนวัยเดียวกันหรือผู้อื่นมากขึ้น อีกทั้งได้รับการปลูกฝังลักษณะพฤติกรรมที่เหมาะสมทางสังคม เด็กย่อมสามารถปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ และเรียนรู้บทบาทของตนเองในสังคมได้ดียิ่งขึ้น ดังที่กล่าวมานั้นเด็กจะเรียนรู้จากสังคมรอบๆตัวเด็กหรือเรียกอีกอย่าง หนึ่งว่า สังคมที่เด็กอยู่นั้นเป็นสิ่งแวดล้อมที่เด็กจะซึมซับและมีผลต่อการเรียนรู้ของเด็กจึงเกิดคำถามที่ว่า เราสร้าง สิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของเด็กหรือยัง

          1.พัฒนาการทางสังคมของเด็กวัยแรกเกิดถึง 1 ปี
          ด้านสังคม เด็กจะเริ่มหันหน้าเมื่อมีคนเรียกชื่อ ยิ้มให้คนอื่น เลียนแบบกิริยา ท่าทางของคน แสดงออกถึงการรับรู้ อารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่น ติดแม่ เข้าใจท่าทางและสีหน้าของคนอื่น กลัวคนแปลกหน้า บอกความต้องการได้ แยกตัวเองและเงาในกระจกได้ เข้าใจท่าทางและสีหน้า สนใจการกระทำของผู้อื่น ชอบเล่นคนเดียว หวงของ ชอบมีส่วนร่วม บอกสิ่งที่ต้องการด้วยคำพูดง่ายๆ รู้จักขอ
2.พัฒนาการทางสังคมของเด็กวัย 2 ปี
ด้านสังคมเล่นร่วมกับผู้อื่น แต่ยังคงต่างคนต่างเล่นอยู่ เริ่มที่จะเล่นเป็นกลุ่มกับเด็กอื่นให้ความสนใจตนเองหรือยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ไม่ยอมแบ่งปันสิ่งของหรือของเล่นให้กับเด็กวัยเดียวกัน ช่วยเหลือตัวเองในเรื่องการเข้าห้องน้ำและแต่งตัวเองได้

3.พัฒนาการทางสังคมของเด็กวัย 3 ปี
ด้านสังคม การสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นยังไม่แน่นอนแล้วแต่อารมณ์ของเด็ก เด็กวัยนี้เป็นวัยที่ชอบเล่นคนเดียว หรือเล่นสมมุติมากกว่าจะเล่นกับคนอื่น ชอบเล่นแบบคู่ขนาน คือ เล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่างเล่น ขณะที่เล่นชอบออกคำสั่ง ทำหรือพูดเหมือนกับสิ่งนั้นมีชีวิต รู้จักการรอคอย เริ่มปฏิบัติตามกฎ กติกาง่ายๆ รู้จักทำงานที่ได้รับมอบหมาย เริ่มรู้ว่าสิ่งใดเป็นของคนอื่น
4.พัฒนาการทางสังคมของเด็กวัย 4 ปี
ด้านสังคม เริ่มเล่นร่วมกับผู้อื่นได้ แต่มักจะเป็นเพศเดียวกันกับตนมากกว่า มักโกรธกันแต่ไม่นานเด็กก็จะกลับมาเล่นกันอีก รู้จักการให้อภัย การขอโทษ มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย รู้จักเก็บของเล่น มีมารยาทในการอยู่ร่วมกัน
5.พัฒนาการทางสังคมของเด็กวัยระหว่าง 5-6 ปี
ด้านสังคม เล่นกับเพื่อนโดยไม่เลือกเพศและสามารถฝึกกติกาง่ายๆในการเล่นได้ สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ เล่นหรือทำงานโดยมีจุดหมายเดียวกัน รู้จักไหว้ทำความเคารพเมื่อพบผู้ใหญ่
สรุปพัฒนาการทางสังคมคือพัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับเด็กเช่นการเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น รู้จักการแบ่งปัน การรอคอย และปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมที่เด็กได้อยู่อาศัย

การประเมินพัฒนาการ
          การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยเป็นกระบวนการต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปติตามตารางกิจกรรมประจำวันและครอบคลุมพัฒนาการของเด็กทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา เพื่อนำผลมาใช้ในการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ พัฒนาเด็กให้เต็มตามศักยภาพของแตละคน การประเมินพัฒนาการอาจทำได้หลานวิธี แต่วิธีที่ง่ายต่อการปฏิบัติและนิยมใช้กันมาก คือ การสังเกต ซึ่งต้องทำอย่างต่อเนื่องและบันทึกไว้เป็นหลักฐานอย่างสม่ำเสมอ  ผู้สอนหรือผู้เกี่ยวข้องกับเด็กต้องคำนึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้
หลักการประเมินพัฒนาการของเด็ก
·        ประเมินพัฒนาการของเด็กครบทุกด้านและนำผลมาพัฒนาเด็ก
·        ประเมินผลเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี
·        สภาพการประเมินควรมีลักษณะเช่นเดียวกับการปฏิบัติกิจกรรมประจำวัน
·        ประเมินอย่างเป็นระบบ มีการวางแผน เลือกใช้เครื่องมือและจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
·        ประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลายเหมาะกับเด็ก

ขั้นตอนการประเมินพัฒนาการ
·        ศึกษาและทำความเข้าใจพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงอายุทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา
·        วางแผนเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับใช้บันทึกและประเมินพัฒนาการ เช่น แบบบันทึกพฤติกรรมเหมาะที่จะใช้บันทึกพฤติกรรมของเด็ก การบันทึกรายวันเหมาะกับการบันทึกกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนทุกวัน เป็นต้น
·        ดำเนินการประเมินและบันทึกพัฒนาการ หลังจากที่ได้วางแผนและเลือกเครื่องมือที่จะใช้ประเมินและบันทึกพัฒนาการแล้ว จะต้องอ่านคู่มือหรือคำอธิบายวิธีการใช้เครื่องมือนั้น ๆ อย่างละเอียด แล้วจึงดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
·        ประเมินและสรุป การประเมินและสรุปนั้นต้องดูจากผลการประเมินหลาย ๆ ครั้งมิใช่เพียงครั้งเดียว หรือนำเอาผลจากการประเมินเพียงครั้งเดียวมาสรุป อาจทำให้ผิดพลาดได้
·        รายงานผล เมื่อได้ผลจากการประเมินและสรุปพัฒนาการของเด็กแล้ว ผู้สอนจะต้องตัดสินใจว่าจะต้องรายงานข้อมูลไปยังผู้ใด เพื่อจุดประสงค์อะไร และจะต้องใช้ในรูปแบบใดสำหรับรายงาน เช่น ต้องรายงานผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง เพื่อให้ทราบว่ากิจกรรมหรือประสบการณ์ที่สถานศึกษาจัดให้เด็กนั้นส่งเสริมพัฒนาเด็กแต่ละคนอย่างไรเป็นไปตามจุดประสงค์หรือไม่ เพื่อจะได้วางแผนช่วยเหลือเด็กได้ตรงตามความต้องการต่อไป

ในการสรุปผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยแต่ละครั้ง  ควรใช้วิธีการประเมินอย่างหลากหลาย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุด วิธีการที่เหมาะสมและนิยมใช้ในการประเมินเด็กปฐมวัย มีด้วยกันหลายวิธี ดังนี้
๑.การสังเกตและการบันทึก การสังเกต มีอยู่    แบบ คือ การสังเกตอย่างมีระบบ ได้แก่   การสังเกตที่มีจุดหมายอย่างแน่นอนตามแผนที่วางไว้ และอีกแบบหนึ่งคือ การสังเกตแบบไม่เป็นทางการ  เป็นการสังเกตในขณะที่เด็กทำกิจกรรมประจำวัน และเกิดพฤติกรรมที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นและผู้สอนจดบันทึกไว้  การสังเกตเป็นวิธีการที่ผู้สอนใช้ในการศึกษาพัฒนาการของเด็ก เมื่อมีการสังเกตก็ต้องมีการบันทึก ผู้สอนควรทราบว่าจะบันทึกอะไร การบันทึกพฤติกรรมมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ  เนื่องจากเด็กเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงต้องนำมาบันทึกเป็นหลักฐานไว้อย่างชัดเจน การสังเกตและการบันทึกพัฒนาการเด็กสามารถใช้แบบง่ายๆ คือ
๑.๑แบบบันทึกพฤติกรรม  ใช้บันทึกเหตุการณ์เฉพาะอย่างโดยบรรยายพฤติกรรมเด็ก ผู
บันทึกต้องบันทึกวัน  เดือน  ปีเกิดของเด็ก และวันปีที่ทำการบันทึกแต่ละครั้ง
         ๑.๒การบันทึกรายวัน เป็นการบันทึกเหตุการณ์หรือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนทุก
วัน ถ้าหากบันทึกข้อมูลในรูปแบบของการบรรยาย ก็จะเน้นเฉพาะเด็กรายที่ต้องการจะศึกษา  ข้อดีของการบันทึกรายวันคือ การชี้ให้เห็นความสามารถเฉพาะอย่างของเด็ก จะช่วยกระตุ้นให้ผู้สอนได้พิจารณาปัญหาของเด็กเป็นรายบุคคล ช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญมีข้อมูลมากขึ้น สำหรับวินิจฉัยเด็กว่าสมควรจะรับคำปรึกษา เพื่อลดปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้อย่างถูกต้อง  นอกจากนั้นยังช่วยชี้ให้เห็นข้อดีข้อเสียขิงการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ได้เป็นอย่างดี
         ๑.๓แบบสำรวจรายการ  ช่วยให้สามารถวิเคราะห์เด็กแต่ละคนได้ค่อนข้างลพเอียด
เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
๒.การสนทนา สามารถใช้การสนทนาได้ทั้งเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล  เพื่อประเมินความสามารถ ในการแสดงความคิดเห็นและพัฒนาการด้านการใช้ภาษาของเด็กและบันทึกผลการสนทนาลงในแบบบันทึกพฤติกรรมหรือบันทึกรายวัน
๓.การสัมภาษณ์ ด้วยวิธีการพูดคุยกับเด็กเป็นรายบุคคลและควรจัดในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดความเครียดและวิตกกังวล ผู้สอนควรใช้คำถามที่เหมาะสม เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและตอบอย่างอิสระ จะทำให้ผู้สอนสามารถประเมินความสามารถทางสติปัญญาของเด็ก และค้นพบศักยภาพในตัวเด็กได้โดยบันทึกข้อมูลลงในแบบสัมภาษณ์
๔.การรวบรวมผลงานที่แสดงออกถึงความก้าวหน้าแต่ละด้านของเด็กเป็นรายบุคคล โดยจัดเก็บรวบรวมไว้ในแฟ้มผลงาน   (Portfolio)  ซึ่งเป็นวิธีรวบรวมและจัดระบบข้อมูลต่างๆ รวบรวมเอาไว้อย่างมีจุดหมายที่ชัดเจน แสดงการเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการแต่ละด้าน นอกจากนี้ยังรวมเครื่องมืออื่นๆ เช่น แบบสอบถามผู้ปกครอง แบบสังเกตพฤติกรรม แบบบันทึกสุขภาพอนามัย ฯลฯ เอาไว้ในแฟ้มผลงาน เพื่อผู้สอนจะได้ข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวเด็กอย่างชัดเจนและถูกต้อง การเก็บผลงานของเด็ก จะไม่ถือว่าเป็นการประเมินผลถ้างานแต่ละชิ้นถูกรวบรวมไว้โดยไม่ได้รับการประเมินจากผู้สอนและไม่มีการนำผลมาปรับปรุงพัฒนาเด็ก เพื่อปรับปรุงการสอนของผู้สอนดังนั้นจึงเป็นแต่การเก็บรวบรวมผลงานเท่านั้น เช่น แฟ้มผลงานขีดเขียน งานศิลปะ จะเป็นเพียงแค่แฟ้มผลงานเด็กถ้าไม่มีการประเมิน  แฟ้มผลงานนี้จะเป็นเครื่องมือการประเมินต่อเมื่องานที่สะสมแต่ละชิ้น ถูกใช้ในการบ่งบอกความก้าวหน้า ความต้องการของเด็ก และเป็นการเก็บสะสมอย่างต่อเนื่อง ที่สร้างสรรค์โดยผู้สอนและเด็ก
ผู้สอนสามารถใช้แฟ้มผลงานอย่างมีคุณค่าสื่อสารกับผู้ปกครองเพราะการเก็บผลงานเด็กอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ในแฟ้มผลงานเป็นข้อมูล ให้ผู้ปกครองสามารถเปรียบเทียบความก้าวหน้า ที่ลูกของตนมีเพิ่มขึ้น จากผลงานชิ้นแรกกับชิ้นต่อๆมา  ข้อมูลในแฟ้มผลงานประกอบด้วย ตัวอย่างผลงานการขีดเขียน การอ่าน และข้อมูลบางประการของเด็กที่ผู้สอนเป็นผู้บันทึก  เช่น จำนวนเล่มหนังสือที่เด็กอ่าน  ความถี่ของการเลือกอ่าน ที่มุมหนังสือ ในช่วงเวลาเลือกเสรี การเปลี่ยนแปลงอารมณ์ ทัศนคติ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะสะท้อนภาพของความงอกงามของเด็กแต่ละคนได้ชัดเจนกว่าการประเมินโดยใช้การให้เกรดผู้สอนจะต้องชี้แจงให้ผู้ปกครองทราบถึงที่มาของการเลือกชิ้นงานแต่ละชิ้นที่สะสมในแฟ้มผลงาน  เช่น  เป็นชิ้นงานที่ดีที่สุดในช่วงระยะเวลาที่เลือกชิ้นงานนั้น  เป็นชิ้นงานที่แสดงความต่อเนื่องของงานโครงการฯลฯ  ผู้สอนควรให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการคัดสรรชิ้นงานที่บรรจุในแฟ้มผลงานของเด็ก
                                             
ข้อควรพิจารณาในการเลือกเก็บข้อมูลไว้ในแฟ้มผลงานมี ดังนี้ คือ
๔.๑ข้อมูลที่แสดงถึงระดับพัฒนาการและความสำเร็จเกี่ยวกับกิจกรรมที่เด็กกระทำ ซึ่งได้มาจากเครื่องมือการประเมิน
๔.๒ข้อมูลที่รวบรวมจากผลงานต่างๆ ของเด็ก อาจช่วยให้เด็กช่วยเลือกเก็บด้วยตัวเด็กเอง  หรือผู้สอนกับเด็กร่วมกันเลือก
๔.๓ข้อมูลของเด็กที่ได้จากผู้ปกครอง
๕.การประเมินการเจริญเติบโตของเด็ก ตัวชี้การเจริญเติบโตของเด็กที่ใช้ทั่วๆไป ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง เส้นรอบศีรษะ ฟัน และการเจริญเติบโตของกระดูก แนวทางประเมินการเจริญเติบโต มีดังนี้
        ๕.๑การประเมินการเจริญเติบโต โดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กแล้วนำไปเปรียบเทียบ
กับเกณฑ์ปกติ  ในกราฟแสดงน้ำหนักตามเกณฑ์อายุของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งใช้สำหรับติดตามการเจริญเติบโตโดยรวม วิธีการใช้กราฟ มีดังนี้
เมื่อชั่งน้ำหนักเด็กแล้ว นำน้ำหนักมาจุดเครื่องหมายกากบาทลงบนกราฟและการอ่านการ
เจริญเติบโตของเด็ก โดยดูเครื่องหมายกากบาทว่าอยู่แถบสีใด อ่านข้อความที่อยู่บนแถบสีนั้น ซึ่งแบ่งภาวะโภชนาการเป็น ๓ กลุ่ม คือ  น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ  น้ำหนักมากเกินเกณฑ์ น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ข้อแนะนำสำหรับผู้ปกครองและผู้สอนคือ ควรดูแลน้ำหนักเด็ก  อย่าให้เบี่ยงเบนออกจากเส้นประ  มิฉะนั้นเด็กมีโอกาสน้ำหนักมากเกินเกณฑ์หรือน้ำหนักน้อยเกินเกณฑ์ได้

**ข้อควรคำนึงในการประเมินการเจริญเติบโตของเด็ก
          -เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านการเจริญเติบโต บางคน รูปร่างอ้วน บางคนผอม บางคนร่างใหญ่ บางคนร่างเล็ก
            -ภาวะโภชนาการเป็นตัวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับขนาดของรูปร่าง แต่ไม่ใช่สาเหตุเดียว
            -กรรมพันธุ์ เด็กอาจมีรูปร่างเหมือนพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่ง  ถ้าพ่อหรือแม่เตี้ย ลูกอาจเตี้ย และพวกนี้อาจมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยได้และมักจะเป็นเด็กที่ทานอาหารได้น้อย
          -ช่วงครึ่งหลังขวบปีแรก น้ำหนักเด็กจะขึ้นช้า เนื่องจากห่วงเล่นมากขึ้นและความอยากอาหารลดลง

พัฒนาการทางสังคม หมายถึง การพัฒนาความสามารถในการแสดงพฤติกรรมให้สอดคล้องกับแบบแผนที่สังคมยอมรับ เพื่อดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข ซึ่งเด็กอายุ 3-6 ปีจะเป็นช่วงวัยที่สนใจเรียนรู้สังคมภายนอกบ้านมากขึ้น เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นที่อยู่รอบตัว พัฒนาการด้านสังคมของเด็กวัยนี้จึงเป็นพื้นฐานการสร้างบุคลิกภาพที่เหมาะสมของเขาในอนาคตพัฒนาการด้านสังคมวัยอนุบาลสำคัญอย่างไร?
เมื่อเด็กย่างเข้าสู่วัยสามขวบ เด็กจะเรียนรู้กระบวนการที่สำคัญและจำเป็นสำหรับเขา และจะทำให้เด็กเรียนรู้แนวทางการปฏิบัติตัวในสังคมที่ถูกต้อง นั่นคือการปรับตัวให้บุคคลอื่นยอมรับ เพื่ออยู่ร่วมกับบุคคลรอบตัวได้ ซึ่งการเรียนรู้นี้เป็นกระบวนการปรับตัวทางสังคม (Socialization process) เด็กเรียนรู้ที่จะร่วมมือกับผู้อื่นในลักษณะกลุ่ม รู้จักการเป็นสมาชิกของกลุ่ม รู้จักปฏิเสธ การรับ การสื่อสาร หรือการใช้ภาษา ซึ่งส่วนมากเด็กจะเรียนรู้ผ่านการเล่น ดังนั้น การเล่นและการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะลดตนเองจากการเป็นศูนย์กลางไปสู่การปฏิบัติที่ยอมรับคนอื่นมากขึ้น แต่การมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นยังอยู่ในช่วงเวลาสั้นๆ เราจึงมักจะเห็นว่าเด็กมีพฤติกรรมการแสดงอารมณ์ดีสลับอารมณ์ไม่ดีอยู่เช่นนั้น การอบรมเลี้ยงดูเด็กด้วยความเข้าใจ ด้วยการเป็นแบบอย่างที่ดีและแนะนำสั่งสอนเด็กด้วยความอ่อนโยน ชี้แนะระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคม การจัดกิจกรรมกลุ่ม การชวนเล่นแบบมีข้อตกลง จะช่วยพัฒนาการด้านสังคมให้เด็กไปสู่คุณลักษณะที่พึงประสงค์ พัฒนาการทางสังคมของเด็กวัย 3-6 ปี เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาบุคคลิกภาพ ดังที่นักจิตวิทยาผู้มีชื่อเสียงได้กล่าวไว้ ดังนี้Sigmund Freud กล่าวถึงขั้นตอนพัฒนาการของเด็กว่า ประสบการณ์ในวัยเด็กมีความสำคัญที่ส่งผลต่อบุคลิกภาพในวัยผู้ใหญ่ โดยเฉพาะช่วงปฐมวัยว่าเป็นวัยสำคัญที่สุด หากวัยเด็กมีพัฒนาการที่สมบูรณ์จากการอบรมเลี้ยงดูอย่างถูกต้องจากครอบครัว เด็กจะผ่านขั้นตอนการเจริญเติบโตอย่างดี ไม่เกิดการชะงักงัน (Fixation) หรือการถอยกลับ (Regression) เมื่อเด็กเติบโตขึ้นจะมีบุคลิกภาพดีเป็นปกติ แต่ในทางตรงข้าม หากเด็กไม่ได้รับการตอบสนองเด็กจะชะงักในวัยเด็กนั้นตลอดไป ฟรอยด์กล่าวว่า การพัฒนาการของเด็กวัยนี้จะอยู่ในขั้นความพอใจอยู่ที่อวัยวะเพศ (Phallic Stage) ลักษณะความสนใจของเด็กเริ่มมองเห็นความแตกต่างของเพศมากขึ้น เด็กชายจะเลียนแบบพ่อ ผู้หญิงจะเลียนแบบแม่มากขึ้น ดังนั้น การเลี้ยงดูเด็กอย่างใกล้ชิด ให้โอกาสเด็กเรียนรู้บทบาทของตนตามเพศจากการเลียนแบบพ่อแม่ เป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมของเด็กอย่างเหมาะสมErik H. Erikson กล่าวว่า ในช่วงอายุ 3-6 ปี เป็นระยะที่พัฒนาความคิดริเริ่มหรือความรู้สึกผิด (Initiative versus Guilt) เด็กจะกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว รู้จักเล่นเลียนแบบสมมุติ เด็กจึงควรมีอิสระที่จะในการค้นหา หากไม่มีอิสระเด็กจะรู้สึกผิดที่ไม่สามารถเรียนรู้ ส่งผลต่อความรู้สึกไม่ดีของเด็ก
กลุ่ม 6
นิยามความหมายของพัฒนาการด้านสังคม : การเล่นของเด็กปฐมวัย
ความหมายของสังคม
          สังคม หมายถึง วิถีชีวิตของมนุษย์หรือลักษณะตามธรรมชาติของมนุษย์ ก็คือการอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และจำเป็นที่จะต้องพึงพาอาศัยบุคคลอื่นๆ เช่น เมื่อแรกเกิดต้องอาศัยพ่อแม่พี่น้องคอยเลี้ยงดู และเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะต้องต้องมีสัมพันธ์กับเพื่อน ครูอาจารย์ และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่เรียกว่ากันโดยทั่วไปว่า “สังคม” ความสำคัญของสังคม  
          สังคมทำให้มนุษย์เรียนรู้แบบแผนต่าง ๆ โดยเฉพาะสังคมมนุษย์คือ ครอบครัว ความรู้จากแบบแผนมนุษย์ รุ่นก่อนจากสภาพแวดล้อมครอบครัว จากสถาบันที่ตนได้สัมผัส สิ่งเหล่านี้ ล้วนมีอิทธิพล และมีส่วนทำให้มนุษย์ที่สมบรูณ์สามารถยังชีพอยู่สังคมได้อย่างมั่นคง
ความหมายของการเล่น 
          การเล่นหมายถึง ประสบการณ์และ กิจกรรมทุกชนิดที่เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจของเด็ก ที่นอกจากจะให้ความสนุกสนานแล้วยังเป็น ประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งเป็นการช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะและการสร้างความสัมพันธ์ในทางสังคม เรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม เรียนรู้ที่จะใช้วัสดุเครื่องมือต่าง ๆ รู้จักหน้าที่ของ ตนเอง นอกจากนี้ยังสามารถช่วยสร้างเสริมกระบวนการพัฒนาการด้านต่าง ๆ ทั้ง 4 ด้าน ให้เด็กได้ อย่างเหมาะสมอีกด้วย
ความสำคัญของการเล่น
          การเล่นมีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้าน การเตรียมประสบการณ์เพื่อการอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ความสนุกสนานเพลิดเพลิน นอกจากน การสร้างและแสดงออกทางจินตนาการอันเป็นหัวใจสำคัญของกิจกรรมทางความคิดของเด็กอย่าง มากมายให้เด็กได้เลือกเล่นอย่างไม่รู้จักจบสิ้น ซึ่งกล่าวได้ว่าการเล่นเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนา ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

 โครงสร้างลำดับพัฒนาการด้านการเล่น

อายุแรกเกิด – 3ปี

อายุ 3 - 6 ปี
-  เล่นปูไต่ประกอบกับการร้องเพลงกล่อมที่มีเสียงสูงๆ ต่ำๆ : จะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสทางผิวหนังและทักษะด้านสังคม โดยเฉพาะการมองหน้าสบตา
-  แขวนของเล่นชนิดแขวน : เด็กวัยนี้ชอบสีสันสดใส ชอบมองการเคลื่อนไหว และถ้าเป็นโมบายที่มีเสียง เมื่อได้ยินเสียงลูกจะหันหาเสียงและขยับมือขยับเท้า
-  การร้องเพลงที่มีการเคลื่อนไหว : เช่น โยกเยกเอย เพราะลูกสนใจในเรื่องของการเคลื่อนไหวแขนและขา
-  ของเล่นกรุ๊งกริ๊ง : เพราะลูกมีความอยากรู้อยากเห็นในสิ่งรอบตัวและช่างสังเกตมากขึ้น
-  ตุ๊กตาผ้านุ่มๆ ที่มีขนแตกต่างกัน : เพราะจะช่วยให้ลูกได้สัมผัสพื้นผิวที่แตกต่างกัน นอกจากนี้การหลอกล่อให้ลูกเอื้อมหยิบตุ๊กตาก็จะช่วยให้ลูกได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กอีกด้วย
-  เล่นเลียนแบบเสียงพูด : คุณพ่อคุณแม่ควรพูดกับลูกโดยพยายามทำเสียงบางคำซ้ำๆ เพื่อให้ลูกตอบกลับมา อาจเป็นคำที่ไม่มีความหมายก็ได้ แต่ควรเป็นเสียงที่เลียนแบบได้ง่าย เช่น จ๋า จ๊ะ
-  เล่นจ๊ะเอ๋ เล่นตบแปะ : ลูกจะมีการตอบสนองต่อการเล่นแบบนี้ของคุณพ่อคุณแม่ได้เป็นอย่างดี
-  เพลงที่มีท่าทางประกอบ :  เพราะเด็กจะมีการตอบสนองและช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมือมัดเล็ก เช่น เพลงนิ้วโป้งอยู่ไหน เพลงจับปูดำ เพลงแมงมุมขยุ้มหลังคา
-  ยางสำหรับกัด : เพราะในช่วงแรกลูกจะสำรวจของเล่นด้วยปาก
-  เกมไล่จับ : ในช่วง 1 ขวบต้นๆ บางครั้งลูกยังอาจชอบคลานมากกว่าเดิน เราอาจจะเล่นกับลูกด้วยการคลานไล่จับ คลานทันบ้างไม่ทันบ้างเพื่อสร้างความสนุกสนานให้แก่ลูก ลูกจะชอบเล่นมากเพราะเป็นการเล่นที่เข้ากับพัฒนาการของเขาได้พอดี
-  เล่นเลียนแบบ : การเล่นเลียนแบบเป็นสิ่งที่เด็กวัยนี้ชื่นชอบ เช่น เห็นแม่กวาดบ้าน เด็กก็อยากจะกวาดบ้านตาม ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่อาจใช้โอกาสจากการเล่นนี้เป็นแบบอย่างที่ดีเพื่อที่จะให้ลูกทำตามค่ะ
-  ร้องเพลงประกอบท่าทาง : เพราะเด็กๆ จะได้หัดปรบมือให้เข้าจังหวะและทำท่าประกอบจังหวะเป็นการฝึกภาษาท่าทางและฝึกการทำงานของร่างกายให้สัมพันธ์กัน   รวมไปถึงทำให้ได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ เพลงที่แนะนำคือ เพลงช้าง หรือเพลงร่างกายของเรา
-  เล่นแบบคู่ขนาน คือ เล่นของเล่นชนิดเดียวกัน แต่ต่างตนต่างเล่น ชอบเล่นสมมุติ รู้จักการรอคอย
-  เล่นร่วมกับคนอื่นได้ รอคอยตามลำดับก่อนหลัง แบ่งของให้คนอื่น เก็บของเล่นเข้าที่ได้
- เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับคนอื่นได้ พบผู้ใหญ่รู้จักไหว้ ทำความเคารพ รู้จักขอบคุณ เมื่อรับของจากผู้ใหญ่ รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
-  มีการเล่นเป็นกลุ่ม มีกติกาข้อตกลง เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นมากขึ้น ช่วยเหลือตัวเองได้ดี รู้จักมารยาททางสังคม
         

หลักการประเมินพัฒนาการของเด็ก
               หลักการประเมินพัฒนาการของเด็กตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 มีดังนี้
               การประเมินพัฒนาการเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรประเมินให้ครอบคลุมครบทุกช่วงอายุ เพราะ ช่วงวัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว อีกทั้งมีความเสี่ยงต่อสภาพความผิดปกติต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องเฝ้า ระวังและติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดู ควรสังเกต พัฒนาการเด็กโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล หากพบความผิดปกติ ต้องรีบพาไปพบแพทย์ หรือผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก เพื่อหาทางแก้ไขหรือบำบัด ฟื้นฟูโดยเร็วที่สุด หลักในการประเมินพัฒนาการมีดังนี้
               1. ประเมินพัฒนาการของเด็กครบทุกด้าน
               2. ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
               3. ประเมินด้วยวิธีการที่หลากหลายซึ่งวิธีการประเมินที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีมีการ สังเกตพฤติกรรมของเด็กในกิจกรรมต่าง ๆ และกิจวัตรประจำวันการบันทึกพฤติกรรมการสนทนาการ สัมภาษณ์เด็กและผู้ใกล้ชิดและการวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็ก
                 4. บันทึกพัฒนาการลงในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (เล่มสีชมพู) และใช้คู่มือการเฝ้าระวัง และส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข หรือของหน่วยงานอื่น
                  5. นำผลที่ได้จากการประเมินพัฒนาการไปพิจารณาจัดกิจกรรม เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กคนนี้ และมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย
                   การประเมินพัฒนาการเด็กอายุ 3-6 ปี เป็นการประเมินพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจสังคม และสติปัญญาของเด็ก โดยถือเป็นกระบวนการต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม ที่จัดให้เด็กในแต่ละวัน ผลที่ได้จากการสังเกตพัฒนาการเด็กต้องนำมาจัดทำสารนิทัศน์หรือจัดทำข้อมูล หลักฐานหรือเอกสารอย่างเป็นระบบ ด้วยการรวบรวมผลงานสำหรับเด็กเป็นรายบุคคลที่สามารถบอก เรื่องราวหรือประสบการณ์ที่เด็กได้รับว่าเด็กเกิดการเรียนรู้และมีความก้าวหน้าเพียงใด ทั้งนี้ ให้น้า ข้อมูลผลการประเมินพัฒนาการเด็กมาพิจารณา ปรับปรุงวางแผนการจัดกิจกรรม และส่งเสริมให้เด็ก แต่ละคนได้รับการพัฒนาตามจุดหมายของหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง การประเมินพัฒนาการควรยึดหลักดังนี้
              1. วางแผนการประเมินพัฒนาการอย่างเป็นระบบ
              2. ประเมินพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน
              3. ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี
              4. ประเมินพัฒนาการตามสภาพจริงจากกิจกรรมประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่ หลากหลายไม่ควรใช้แบบทดสอบ
              5. สรุปผลการประเมิน จัดทำข้อมูลและนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาเด็ก
                สำหรับวิธีการประเมินที่เหมาะสมและควรใช้กับเด็กอายุ 3-4 ปีได้แก่การสังเกตการบันทึก พฤติกรรมการสนทนากับเด็กการสัมภาษณ์การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็กที่เก็บอย่างมีระบบ        
เทคนิคที่เหมาะสมในการประเมินพัฒนาการด้านสังคม
                 การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเด็ก ปฐมวัย เป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมและความสามารถของเด็กในด้านต่าง ๆ ทั้งใน เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง แล้วนำมาเรียบเรียงอย่างเป็นระบบเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการ ตัดสินใจเกี่ยวกับเด็กหรือการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก
                 การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการจัดประสบการณ์ ตามปกติในกิจวัตรประจำวัน ครูที่ประเมินอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบจะสามารถใช้หลักสูตรและจัด ประสบการณ์ได้อย่างเหมาะสมกับวัย และความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก
กลุ่ม 7
การประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา: ทักษะการคิดและการคิดแบบต่างๆ
การนำเสนอเทคนิควิธี เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน

ความหมายของทักษะการคิด
ทักษะการคิด หมายถึง ความสามารถในการคิดที่สามารถแสดงออกทาง พฤติกรรมการคิด ได้หลายด้านเพื่อค้นหาความเข้าใจในเรื่องนั้นๆคนแต่ละคนจะมีทักษะการคิด แตกต่างกัน บางคนสามารถคิด ได้เร็วถูกต้องเป็นขั้นเป็นตอน บางคนคิดได้ช้าผิดพลาดสับสน ทักษะ การคิดเป็นสิ่งที่ สามารถพัฒนาและ ฝึกฝนได้หากได้รับการพัฒนาและฝึกอย่างชำนาญก็จะมีทักษะการคิดเพิ่มมากขึ้น
ความหมายความคิดรวบยอด
ความคิดรวบยอด หมายถึง ภาพรวมขององค์ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความเข้าใจของบุคคลที่เกิดจากการกลั่นกรองข้อมูล ข้อเท็จจริง ที่บุคคลได้รับแล้วเรียบเรียงอย่างมีระบบระเบียบและถูกต้องตามสาระเนื้อหาความรู้ที่ได้รับและสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ความหมายการคิดเชิงเหตุผล
การคิดเชิงเหตุผล หมายถึง เป็นความคิดทางสมองที่เกิดขึ้นภายใน โดยอาศัยหลักการหรือข้อมูลที่ถูกต้องเป็นเหตุเป็นผลจากประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่มาสนับสนุน เพื่อทําให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งต่างๆใช้ในการตัดสินใจและหาคําตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สามารถนํามาเชื่อมโยงเรื่องราวต่างๆเข้าด้วยกันและใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งจะนําไปสู่กระบวนการคิดเชิงเหตุผล (ปริษา บุญมาศ. 2551: 12)  
ความหมายของการคิดแก้ปัญหา
การคิดแก้ปัญหา หมายถึง ความสามารถทางสมองในการขจัดสภาวะความไม่สมดุลที่เกิดขึ้น โดยพยายาม ปรับตัวเองและสิ่งแวดล้อมให้ผสมกลมกลืนกลับเข้าสู่สภาวะสมดุลหรือสภาวะที่เราคาดหวัง
การคิดแก้ปัญหา ถือว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของการคิดทั้งมวล การคิดแก้ปัญหาเป็นสิ่งสำคัญต่อวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมของมนุษย์ ซึ่งจะต้องใช้การคิดเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ทักษะการคิดแก้ปัญหาเป็นทักษะที่เกี่ยวข้องและมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตที่วุ่นวายสับสนได้เป็นอย่างดี ผู้ที่มีทักษะการคิดแก้ปัญหาจะสามารถเผชิญกับภาวะสังคมที่เคร่งเครียดได้อย่างเข้มแข็ง ทักษะการแก้ปัญหาจึงมิใช่เป็นเพียงการรู้จักคิดและรู้จักการใช้สมองหรือเป็นทักษะที่มุ่งพัฒนาสติปัญญาแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นทักษะที่สามารถพัฒนาทัศนคติ วิธีคิด ค่านิยมความรู้ ความเข้าใจในสภาพการณ์ของสังคมได้ดีอีกด้วย (Eberle and Slanish, 1996 อ้างถึงใน สุวิทย์ มูลคำ,2547 : 15)
ความสำคัญของทักษะการคิด
การคิดมีความสำคัญต่อมนุษย์ในการดำรงชีวิตอยู่ในโลกปัจจุบัน เป็นกระบวนการทาง ปัญญาทำให้มนุษย์รู้จักกระทำในสิ่งที่ถูกต้องตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมโดยเฉพาะในช่วงของเด็กปฐมวัย เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของชีวิตเพราะเป็นช่วงที่เส้นใยสมองเจริญเติบโตมากที่สุด ดังนั้นเด็กปฐมวัยควรได้รับการ จัดการเรียนรู้หรือการจัดสิ่งกระตุ้นเพื่อฝึกสมองให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ทักษะการคิด (Thinking Skills)
1.ทักษะการคิดพื้นฐาน (Basic Thinking Skills) แบ่งเป็นทักษะการสื่อความหมาย และทักษะการคิดที่เป็นแกนหรือทักษะการคิดทั่วไป
1.1 ทักษะการสื่อความหมาย (Communication Skills) หมายถึง ทักษะการรับสารที่แสดงถึง ความคิดของผู้อื่นที่เข้ามาเพื่อรับรู้ตีความแล้วจดจำและเมื่อต้องการที่เจาะลึก เพื่อนำมาเรียบเรียงและถ่ายทอด ความคิดเห็นของตนให้แก่ผู้อื่น โดยแปลงความคิดให้อยู่ในรูปภาษาต่างๆ ทั้งที่เป็นข้อความ คำพูด ศิลปะ ดนตรี คณิตศาสตร์ฯลฯ ทักษะการสื่อความหมายประกอบด้วยทักษะย่อยๆ ที่สำคัญคือ การฟัง การอ่าน การรับรู้ การจดจำ การจำ การคงสิ่งที่เรียนไปแล้วไว้ได้ การบอกความรู้ได้จากตัวเลือกที่กำหนด การบอกความรู้สึกออกมาด้วยตนเอง การใช้ข้อมูล การบรรยาย การอธิบาย การทำให้กระจ่างการพูด การเขียน และการแสดงออกถึงความสามารถของตน
1.2 ทักษะการคิดที่เป็นแกนหรือทักษะการคิดทั่วไป (Core or General Thinking Skills) หมายถึง ทักษะการคิดที่จำเป็นต้องใช้อยู่เสมอในการดำรงชีวิตประจำวันและเป็นพื้นฐานการคิดขั้นสูงที่มีความ สลับซับซ้อนซึ่งคนเราจำเป็นต้องใช้ในการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการต่างๆ ตลอดจนการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ทักษะการคิดที่เป็นแกนประกอบด้วย การสังเกต การสำรวจ การตั้งคำถาม การเก็บรวบรวมข้อมูล การระบุ การจำแนกแยกแยะ การจัดลำดับ การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การสรุปอ้างอิง การแปล การตีความ การเชื่อมโยง การขยายความ การให้เหตุผลและการสรุปย่อ
2. ทักษะการคิดขั้นสูงหรือทักษะการคิดที่ซับซ้อน (Higher ordered/More Complicated Thinking Skill) หมายถึง ทักษะการคิดที่มีขั้นตอนหลายขั้น และต้องอาศัยทักษะการสื่อความหมายและทักษะการ คิดที่เป็นแกนหลายๆทักษะ ในแต่ละขั้น ทักษะการคิดขั้นสูงจึงจะพัฒนาได้เมื่อผู้เรียนได้ผ่านการพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานจนเกิดความชำนาญแล้ว ทักษะการคิดขั้นสูงประกอบด้วย การสรุปข้อความ การให้คำจำกัดความ การวิเคราะห์ การผสมผสานข้อมูล การพัฒนา การสร้างองค์ความรู้ใหม่ การกำหนด โครงสร้างความรู้ การแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างความรู้เสียใหม่ การค้นหาแบบแผน การหาความเชื่อพื้นฐาน การคาดคะเนการพยากรณ์ การตั้งสมมติฐานการทดสอบสมมติฐาน การตั้งเกณฑ์ การพิสูจน์ความจริงและการประยุกต์ใช้ความรู้
ประเภทของการคิดมีรูปแบบต่างๆ ได้แก่
1. แบ่งตามขอบเขตความคิด ซึ่งมี 2 แบบ คือ
1) การคิดในระบบปิด คือ การคิดที่มีขอบเขตจำกัด มีแนวความคิดไม่เปลี่ยนแปลง
2) การคิดในระบบเปิด เป็นการคิดในขอบเขตของความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคล ซึ่งแตกต่างกันตามสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์
2 . แบ่งตามความแตกต่างของเพศ มี 2 แบบ คือ
2.1 การคิดแบบวิเคราะห์ (Analytical Style ) เป็นการคิดโดยอาศัยสิ่งเร้าที่เป็นจริงเป็นเกณฑ์ การคิดแบบนี้เป็นการคิดของ ผู้มีอารมณ์มั่นคง มองสิ่งต่างๆ โดยไม่ถือเอาความคิดของตนเป็นใหญ่
2.2 การคิดแบบโยงความสัมพันธ์ (Relational Style) เป็นการคิดที่เกิดจากการมองหาความสัมพันธ์ของสิ่งเร้าตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป
3 . แบ่งตามความสนใจของนักจิตวิทยา มี 3 แบบ คือ
1) ความคิดรวบยอด (Concept ) เป็นการคิดได้จากการรับรู้โดยจัดเอาของอย่างเดียวกันไว้ด้วยกัน มีการเปรียบเทียบลักษณะ ที่เหมือนและแตกต่างกัน
 2) การคิดหาเหตุผล (Reasoning) การคิดหาเหตุผลแบบนี้เป็นการคิดทางวิทยาศาสตร์และจะต้องมีการทดสอบก่อน ดังนั้นการคิดหาเหตุผล จะต้องเริ่มต้นจากการตั้งสมมติฐานและการทดสอบสมมติฐานเสมอ
3) ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) เป็นการคิดเพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาโดยอาศัยการหยั่งเห็นเป็นสำคัญ หรือเป็นการค้นหา ความสัมพันธ์ใหม่ๆ ระหว่างสิ่งต่างๆ ทำให้สามารถแก้ปัญหาได้
4. แบ่งตามลักษณะทั่วๆไป มี 2 แบบ คือ
1) การคิดประเภทสัมพันธ์ (Associative Thinking) เป็นความคิดที่ไม่มีจุดมุ่งหมายแต่เกิดจากสิ่งเร้า มากระตุ้นให้เกิดสัญลักษณ์ ในสมอง แทนเหตุการณ์หรือวัตถุต่างๆ มี 5 ลักษณะ คือการสร้างวิมานในอากาศ การฝัน การคิดเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว การคิดที่เป็นอิสระและการคิดที่ถูกควบคุม
2) ความคิดโดยตรงที่ใช้ในการแก้ปัญหา (Directive Thinking) มี 2 แบบ คือ การคิดเชิงวิจารณ์และการคิดสร้างสรรค์

 ลักษณะของการคิด
เป็นการคิดที่แสดงลักษณะเฉพาะชัดเจน โดยอาศัย กระบวนการหรือขั้นตอน ในการคิด ลักษณะการคิดที่มีความสำคัญนำไปใช้ในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ได้แก่ การคิดคลอง การคิด หลากหลาย การคิดละเอียด การคิดชัดเจน การคิดกว้าง การคิดไกลและการคิดลึกซึ้งรวมทั้งการคิดอย่างมี เหตุผล

โครงสร้างสำหรับพัฒนาการด้านปัญญา
พัฒนาด้าน
ทักษะทางการคิด
Ø การคิดรวบยอด
Ø การคิดเชิงเหตุผล
Ø การคิดตัดสินใจและแก้ปัญหา
Ø ทักษะการคิด มี 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1) ทักษะ การคิดพื้นฐาน : ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะที่เป็นแกนสำคัญ
2) ทักษะการ คิดขั้นสูง
Ø ทักษะการแก้ปัญหา
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านปัญญา (หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖o) การคิด การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ (จัดอยู่ในทักษะการคิดที่เป็นแกนสำคัญ) จำนวน มิติสัมพันธ์(พื้นที่ / ระยะ) เวลาการคาดเดาหรือการคาดคะเน สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล การมีส่วนร่วมในการลงความเห็น จากข้อมูลอย่างมีเหตุผล การตัดสินใจและมีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ปัญหา

หลักการประเมินพัฒนาการด้านทักษะการคิด
การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการจัดประสบการณ์ตามปกติใน กิจวัตรประจำวัน ครูที่ประเมินอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบจะสามารถใช้หลักสูตรและจัดประสบการณ์ได้อย่าง เหมาะสมกับวัย และความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก หลักการประเมินพัฒนาการของเด็ก หลักการประเมินพัฒนาการของเด็กตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มีดังนี้
1. ประเมินพัฒนาการของเด็กครบทุกด้านและนำผลมาพัฒนาเด็ก
2. ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี
3. สภาพการประเมินควรมีลักษณะเช่นเดียวกับกิจกรรมประจำวัน
4. ประเมินอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนเลือกใช้เครื่องมือ และจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
5. ประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการหลากหลายเหมาะกับเด็ก รวมทั้งใช้แหล่งข้อมูลหลายๆ ด้าน ไม่ ควรใช้การทดสอบ
การประเมินความสามารถในการคิด
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระบุว่าสมรรถนะการคิดเป็นความสามารถใน การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ หรือสารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเอง และสังคมได้อย่างเหมาะสม ซึ่งแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้มีสอดแทรกอยู่แล้วในการพัฒนาผู้เรียน ถ้าจะให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิด แต่ละลักษณะ ผู้สอนควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ทำให้ครบตามกระบวนการหรือขั้นตอนการคิดนั้น ๆ จึงจะทำ ให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดนั้น ๆ อย่างยั่งยืน

มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้กําหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงคของการคิด ในมาตรฐานที่ ๑มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ ได้แก่ การคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตุผล  การคิดตัดสินใจและแก้ปัญหา

สมรรถนะของเด็กปฐมวัยในการพัฒนาตามวัย 3-5 ปี
ส่วนหลัก 4 : พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
ส่วนย่อย ( Sum-Domain ) :
4.1 ความจำ( Memory)
หัวข้อที่ 15 สมรรถนะ(Competency) : เด็กสามารถแสดงความจำเบื้องต้น(Children demonstrate basic memory skills)
4.2 การสร้างหรือพัฒนาความคิด (ที่เป็นการคิดเรื่องต้น) (Concept Formation)
หัวข้อที่ 16 สมรรถนะ(Competency) : เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นฐานในเรื่องเกี่ยวกับเวลาช่องว่าง(space) ตำแหน่งแหล่งที่คุณลักษณะ ฯลฯ รวมทั้งการจัดกลุ่มสิ่งต่างๆที่อยู่แวดล้อม ( Children demonstrate understanding about time,space,positioning,characteristic etc.,including grouping objects in the environment)
4.3 ตรรกวิทยาและเหตุผล( Logic and Reasoning)
หัวข้อที่ 17 สมรรถนะ ( Competency) : เด็กแสดงความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุและผล(Children demonstrate understanding of reasoning)
4.4 การคิดอย่างมีวิจารณาญาณ(Critical Thinking)
หัวข้อที่ 18 สมรรถนะ ก. ( Competency A) : เด็กสามารถเปรียบเทียบแยกแยะความเหมือนความต่างและประเมินสถานภาพ ( Children are able to compare and separate similarities,differences and evaluate the situation)
หัวข้อที่ 19 สมรรถนะ ข.( Competency B) : เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ (Children are able to solve problem)

การคิดวิเคราะห์
ความหมายของการคิดวิเคราะห์
การคิดวิเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการจำแนกแยกแยะ รวบรวมข้อมูล บอกความเหมือน ความต่างของ ข้อมูลหรือวัตถุสิ่งของต่างๆ บอกความสัมพันธ์เชื่อมโยงอย่างมีเหตุผล บนพื้นฐานของ ข้อมูลที่เพียงพอ




ทักษะการคิดวิเคราะห์
ฉัตรมงคล สวนกัน (2555, หน้า 16) ได้สรุปคุณลักษณะความสามารถใน การคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย คือ บอกความแตกต่างของ กลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง จำแนกและจัดหมวดหมูสิ่งของได้ รู้จักสิ่งต่างๆ ด้วยการสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบ
บรรพต พรประเสริฐ (2561, ออนไลน์) ได้กล่าวว่า การพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นความสามารถในการคิดสองแนวทาง คือการคิดเกี่ยวกับ การแยกแยะส่วนประกอบและการคิดเกี่ยวกับการหาความสัมพันธ์ ดังนี้
1. การแยกแยะส่วนประกอบ เป็นการระบุว่าเรื่องที่อ่าน เรื่องที่ได้ฟัง สิ่งที่ได้เห็นประกอบด้วยส่วนต่างๆ กี่ส่วน ส่วนใดบ้าง
2. การหาความสัมพันธ์ เป็นการระบุความเกี่ยวข้องระหว่างเรื่องราว ข้อมูลหรือสิ่งของตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป

กระบวนการคิดวิเคราะห์
วิทวัฒน์ ขันติยะมาน และอมลววณ วีระธรรมโม (2549 อ้างถึงใน กัลยา คำมณี, 2553, หน้า 25-26) กล่าวว่ากระบวนการคิดวิเคราะห์ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 กำหนดสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์ เป็นการกำหนดวัตถุสิ่งของ เรื่องราว หรือเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นมาเพื่อเป็น ต้นเรื่องที่จะใช้วิเคราะห์ เช่น พืช สัตว์ หิน ดิน รูปภาพ บทความ เรื่องราวเหตุการณ์หรือ สถานการณ์ เป็นต้น
ขั้นที่ 2 กำหนดปัญหาหรือวัตถุประสงค์ต้องการ เป็นการกำหนดประเด็นข้อสงสัยจากปัญหาของสางที่จะวิเคราะห์ ซึ่งอาจจะกำหนดเป็นคำถามหรือเป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์เพื่อค้นหา ความจริง สาเหตุหรือความสำคัญ เช่น ภาพนี้ บทความนี้ต้องการสื่ออะไรบอกอะไรที่สำคัญที่สุด
ขั้นที่ 3 กำหนดหลักการหรือกฎเกณฑ์ เป็นการกำหนดข้อกำหนดสำหรับใช้แยกส่วนประกอบของสิ่งที่กำหนดให้ เช่น เกณฑ์ในการจำแนกสิ่งที่เหมือนกัน หรือต่างกัน หลักเกณฑ์ในการหาลักษณะ ความสัมพันธ์เชิงเหตุผล อาจเป็นลักษณะความสัมพันธ์ที่มีความคล้ายคลึงหรือขัดแย้งกัน
ขั้นที่ 4 พิจารณาแยกแยะ เป็นการพินิจพิเคราะห์ ทำการแยกแยะ และกระจายสิ่งที่กำหนดให้ ออกเป็นส่วนย่อยๆ โดยอาจใช้เทคนิคคำถาม 5W 1H ประกอบด้วย What (อะไร) Where (ที่ไหน) When (เมื่อไหร่) Why (ทำไหม) Who (ใคร) และ How (อย่างไร)
ขั้นที่ 5 สรุปคำตอบ เป็นการรวบรวมประเด็นที่สำคัญเพื่อหาข้อสรุปเป็นคำตอบหรือตอบ ปัญหาของสิ่งที่กำหนดให้

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ความหมายการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
เป็นกระบวนการคิดที่ใช้เหตุผล มีการศึกษา ข้อเท็จจริง หลักฐานและข้อมูลต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจ แล้ว นำ มาพิจารณา วิเคราะห์ อย่างสมเหตุสมผล ก่อนตัดสินใจว่าสิ่ง ใดควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อ ผู้ที่มีความคิดอย่างมี วิจารณญาณ จะเป็นผู้ที่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผลไม่ยึดถือความคิดเห็นของตนเอง ก่อนที่จะตัดสินใจในเรื่องใดก็จะต้องมีข้อมูลหลักฐานเพียงพอและสามารถเปลี่ยนความคิดเห็นของ ตนเองให้เข้ากับความคิดเห็นของผู้อื่นได้ ถ้าผู้นั้นมีเหตุที่เหมาะสมถูกต้องกว่า เป็นผู้มีความ กระตือรือร้นในการ ค้นหาข้อมูลและความรู้ กล่าวได้ว่าผู้ที่มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณจะเป็นผู้ที่มีเหตุผล

คุณลักษณะของผู้ที่คิดอย่างมีวิจารณญาณ  
ประพันธ์ศิริ  สุเสารัจ ( 2551 : 102) สรุปคุณลักษณะของผู้ที่คิดอย่างมีวิจารณญาณว่าประกอบด้วย 5 ลักษณะสำคัญ  ดังนี้  
1. เป็นผู้มีใจกว้าง คือ ยอมรับฟังและพิจารณาความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ยึดมั่นใน ความคิดของตนเองเป็นหลัก ไม่อคติ มีใจเป็นกลาง และตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลประกอบเพียงพอ การมีใจกว้างขวางจะทำให้ได้ข้อมูลที่กว้างขวาง หลากหลาย มากพอต่อการใช้ในการตัดสินใจได้ดี มากขึ้น
2. มีความไวต่อความรู้สึกของผู้อื่นเข้าใจผู้อื่น การมีความรู้สึกที่ไวจะทำให้สามารถ รับรู้สถานการณ์ ความคิด ความรู้สึกของผู้อื่นได้ดีกว่า
3. เปลี่ยนความคิดเห็นที่ตนมีอยู่ได้ ถ้ามีข้อมูลที่มีเหตุผลมากกว่า
4. กระตือรือร้นในการค้นหาข้อมูลและความรู้ การมีข้อมูลและความรู้มาก ทำให้การ ตัดสินใจย่อมถูกต้องและแม่นยำ การคิดวิจารณญาณต้องการข้อมูล ความรู้มากๆเพื่อประกอบใน การตัดสินใจ แม้ว่าบางข้อมูลอาจมีประโยชน์น้อยก็ตาม
5. เป็นผู้มีเหตุผล ไม่ใช้อคติหรืออารมณ์ในการตัดสินใจ การยอมรับข้อมูลใดๆหรือ การตัดสินใจใดๆ จะไม่เชื่อมั่นในตัวบุคคลหรืออารมณ์ ข้อมูลที่มีเหตุผลจะทำให้การตัดสินใจดีกว่า    ครูจึงควรต้องจัดบรรยากาศ และกิจกรรมที่เสริมสร้างคุณลักษณะต่างๆ ดังกล่าวให้เกิด ขึ้นกับผู้เรียน เพื่อปลูกฝังความเป็นนักคิด
องค์ประกอบของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
Feeley (1976) ได้แยกองค์ประกอบของการคิดอย่างมีวิจารณญาณไว้ 10 ประการคือ   
 1. การแยกความแตกต่างระหว่างข้อเท็จจริง  และความรู้สึกหรือความคิดเห็น   
2. การพิจารณาความเชื่อถือได้ของแหล่งข้อมูล    
3. การพิจารณาความถูกต้องตามข้อเท็จจริงของข้อความนั้น     
4. การแยกความแตกต่างระหว่างข้อมูล  ข้อคิดเห็น  หรือเหตุผลที่เกี่ยวข้องและไม่ เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น   
5. การค้นหาสิ่งที่เป็นอคติหรือความลำเอียง     
6. การระบุถึงข้ออ้าง  ข้อสมมติทีไม่กล่าวไว้ก่อน     
7. การระบุถึงข้อคิดเห็นหรือขัดโต้แย้งที่ยังคลุมเครือ     
8. การแยกความแตกต่างระหว่างข้อคิดเห็นที่สามารถพิสูจน์ความถูกต้องได้    
9. การตระหนักในสิ่งที่ไม่คงที่ตามหลักการและเหตุผล  
10. การพิจารณาความมั่นคงหนักแน่นในข้อโต้แย้งหรือข้อคิดเห็น    



กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  
กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณนั้น  ขั้นตอนการฝึกการคิดหลายรูปแบบ  ตามหลักการและแนวคิดของนักการศึกษาต่าง ๆ ที่ได้ผ่านการทดลองมาแล้ว  ดังนั้นครูผู้สอน สามารถเลือกกระบวนการการคิดที่มีขั้นตอนต่าง ๆ ตามที่เหมาะสมกับเรื่องที่จะสอนหรือให้เข้ากับ สภาพแวดล้อมการจัดการเรียนรู้  ซึ่งขั้นตอนส่วนใหญ่จะมีหัวข้อที่สามารถสรุปได้ว่ามีความ คล้ายคลึงกันในเรื่องต่อไปนี้  คือ 1) การทำความเข้าใจกับปัญหา / ประเด็นสำคัญ / สถานการณ์ที่ พบ  2) การรวบรวมข้อมูล  ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำมาเป็นแนวทางการแก้ปัญหา และ  3) การวิเคราะห์ข้อมูล พิจารณาข้อมูลเพื่อหาทางเลือกหรือคำตอบที่ถูกต้อง  อย่าง รอบคอบ  ประเมินทางเลือกหลาย ๆ ทาง

เทคนิควิธีในการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยด้านสติปัญญา
1. การสังเกตพฤติกรรมเด็ก (Observation)
          - วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลตัวเด็ก อย่างไม่เป็นทางการ
          - ใช้รวบรวมพัฒนาการทุกด้าน
          - เป็นการฟัง และการเฝ้าดูพฤติกรรม ที่เด็กแสดงออกตามธรรมชาติ
          - เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรม ของเด็ก และเพื่อประเมินพัฒนาการเด็ก
2. การใช้แบบประเมินผลพัฒนาการ / มาตราส่วนประมาณค่า / แบบสำรวจรายการ (Checklists)
 การใช้แบบประเมินพัฒนาการ
          - ตั้งวัตถุประสงค์ ต้องการศึกษาอะไร
          - สร้างแบบสำรวจรายการ โดยใช้ทฤษฎีพัฒนาการเป็นหลัก
          - ควรใช้ควบคู่กับแบบสังเกตพฤติกรรม อย่างเป็นระบบ
3. การเขียนบันทึก (Journal)
          - เป็นการบันทึกประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ในชั้นเรียน อาจเน้นเฉพาะเด็กที่ศึกษา หรือเฉพาะศูนย์การเรียนหนึ่งๆ
 - บันทึกความรู้สึก ความคิดเห็นได้
          - เป็นการสะท้อนความคิด วิเคราะห์ เหตุการณ์ การกระทำต่างๆ ของตนเอง
          ควรทำอย่างสม่ำเสมอ ข้อมูลอาจเปลี่ยนตามกิจกรรมและเวลา

4.การใช้แบบทดสอบ (Test)
          การตรวจสอบว่า เด็กเกิดการเรียนรู้ พร้อมที่จะเรียนในขั้นต่อไป ซึ่งเด็ก จะต้องแสดงพฤติกรรม / ปฏิกิริยาอย่างใด อย่างหนึ่งที่ครูสามารถสังเกตเห็นได้ เช่น สามารถตอบคำถามของครูได้ สามารถทำ ตามคำสั่งได้ถูกต้อง (วรรณวดี ม้าลำพอง, 2525)

ประเภทของแบบทดสอบ
แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
          1. แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น (Teacher-made) มุ่งวัดผลการเรียนการสอน โดย ยึดเนื้อหาและจุดมุ่งหมาย เป็นหลักในการสร้างแบบทดสอบ
          2. แบบทดสอบมาตรฐาน (Standard test) สร้างขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาการและผู้เชี่ยวชาญ แบบทดสอบโดยเฉพาะ ยึดเนื้อหาและจุดมุ่งหมายของ หลักสูตรที่เป็นแกนร่วม ของทุกโรงเรียนในประเทศ
          ควงเดือน ศาสตรภัทร (อ้างถึงใน นภเนตร ธรรมบวร, 2540)
แบบทดสอบมาตรฐานที่มักใช้ในการศึกษาเด็ก
          - แบบทดสอบเชาว์ปัญญา
          - แบบทดสอบความพร้อม
          - แบบทดสอบที่ใช้คัดเลือกเด็กที่ต้องการ การช่วยเหลือเป็นพิเศษ
          - แบบทดสอบวัดความรู้ขั้นพัฒนาการ
เกณฑ์การเลือกแบบทดสอบ
          1.ความจำเป็นของการทดสอบ
2. ลักษณะของข้อมูลที่ต้องการ
3. ความเชื่อถือได้ และ ความเที่ยงตรงของแบบทดสอบ
4.ความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก
5. ความเหมาะสมและความสะดวกที่จะนำไปใช้
กลุ่ม 8
พัฒนาการด้านสติปัญญา
ความหมายและความสำคัญ 
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
          นักจิตวิทยาพัฒนาการหลายท่าน ให้ความหมายของคำว่า พัฒนาการ (Development) ไว้ แตกต่างกัน กล่าวคือ ซีวีกู๊ด (C.V. Good) ได้ให้ความหมายว่า พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง การทำงาน การจัดระเบียบส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งทำให้มีการเพิ่มพูนทั้งด้านขนาด คามแตกต่างความ สลับซับซ้อน การผสมกลมกลืน ขีดความสามารถ ประสิทธิภาพ หรือก่อให้เกิดความเพิ่มพูนภาวะสุกถึงขีด รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่มีความคงทนถาวรอันเนื่องมาจากการเรียนรู้ที่ยาวนานซึ่งอาจเป็นการเรียนรู้ที่มี จุดมุ่งหมายหรือเกิดขึ้นตามเหตุการณ์ก็ได้            การ์ดเนอร์ (Gardner) ได้ให้ความหมายว่า พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลง 5 ด้าน
1. ความเจริญทางด้านขนาด
2. ความเจริญทางด้านสัดส่วนของร่างกาย
3. การเปลี่ยนแปลงความซับซ้อน ทั้งด้านโครงสร้างและการทำหน้าที่
4. การมีสมรรถภาพในการทำหน้าที่ใหม่ๆ เกิดขึ้น
5. การสลายไปของส่วนต่าง ๆ รวมทั้งสมรรถภาพในการทำหน้าที่ต่าง ๆ ด้วย 
            เฮอร์ลอค (Hurlock) ได้ให้ความหมายว่า พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆที่มีลำดับ ขั้นตอนต่อเนื่องกันไปตลอด ซึ่งเป็นกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจผสมผสานกันตลอดจนกระตุ้นให้บุคคลมีความสามารถที่จะจัดการควบคุมสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมี 4 ประเภท คือ
               1. การเปลี่ยนแปลงด้านขนาด จะเห็นได้ชัดจากการที่เด็กเติบโตทั้งส่วนสูง น้ำหนัก ขนาดของ ลำตัว รวมทั้งอวัยวะและโครงสร้างภายในต่าง ๆ เช่น หัวใจ ปอด ลำไส้และกระเพาะอาหาร จะมีขนาดที่ใหญ่ ขึ้น และทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายมากขึ้น ในขณะเดียวกันสมองก็จะมี ความสามารถเพิ่มขึ้น เช่น การรู้จักคำศัพท์การมีเหตุผล การรับรู้ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเจริญไปพร้อมกับการ เปลี่ยนแปลงทางด้านขนาด
               2. การเปลี่ยนแปลงด้านสัดส่วน การขยายตัวด้านขนาดของเด็กจะควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลง ด้านสัดส่วน เด็กจะเปลี่ยนสัดส่วนไปเรื่อย ๆ และจะมีรูปร่างเหมือนผู้ใหญ่เมื่อเริ่มสู่วัยรุ่น การเปลี่ยนแปลงด้าน สัดส่วนนี้จะเกิดกับพัฒนาการทางสมองด้วย ซึ่งเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงจินตนาการในเด็กปฐมวัยที่เป็นไปในลักษณะที่ไม่เป็นจริง กลายเป็นการจินตนาการที่เป็นการวางแผนงานที่สร้างสรรค์ได้ทั้งนี้รวมทั้งความสนใจที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงวัยด้วย
                3. ลักษณะเดิมหายไปโดยลักษณะที่เกิดในวัยเด็กหายไปเมื่อเติบโตขึ้น เช่น ฟันน้ำนม การคืบ คลาน การพูดอ้อแอ้การใช้อารมณ์แบบเด็ก ๆ เป็นต้น
                4. เกิดลักษณะใหม่ขึ้น อันเป็นผลมาจากวุฒิภาวะหรือจากการเรียนรู้เช่น การงอกฟันแท้ การคิดหาเหตุผล เป็นต้น 
ลักษณะพัฒนาการทางสติปัญญา
                เด็กปฐมวัยชอบพูดชอบแสดงความคิดเห็น ชอบซักถาม และแก้ปัญหา ดังนั้น สิ่งแวดล้อมจึง มีความสำคัญที่จะยั่วยุให้เด็กมีพัฒนาการทางสติปัญญา ความคิดความสามารถที่เกี่ยวกับสติปัญญาของเด็ก ปฐมวัย ที่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรม ได้แก่ 
                สามารถจำสิ่งของต่าง ๆ และเรียกชื่อได้ถูกต้อง เช่น สิ่งของที่อยู่ใกล้ตัว ผลไม้สัตว์ที่ รู้จัก ของใช้ต่าง ๆ เป็นต้น สามารถจำแนกความเหมือน ความแตกต่างของสิ่งต่าง ๆ ได้ สามารถเรียงลำดับสิ่งต่าง ๆ ได้เราสามารถดูพัฒนาการของสติปัญญาได้โดยวิธีสังเกต พฤติกรรม องค์ประกอบที่จะทำให้เราสามารถสังเกตพฤติกรรมเด็กเพื่อดูพัฒนาการทางสติปัญญา ประกอบด้วย
                (1.) การเล่นของเด็ก โดยการเปิดโอกาสหรือสร้างสถานการณ์ให้เด็กได้เล่นแสดง พฤติกรรม เช่น การเล่นสิ่งของหรือแสดงออกโดยการวาดภาพ ใช้สีตกแต่งสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น การเล่นนี้ทำให้ เด็กเพลิดเพลิน สามารถแสดงพฤติกรรมได้อย่างเสรีทำให้เราสังเกตพฤติกรรมได้อย่างกว้างขวาง
                (2.) การใช้ภาษาของเด็ก ความสามารถทางภาษาเกี่ยวข้องกับสติปัญญาของคนเรา อย่างมาก การวัดความสามารถทางภาษาของเด็กนั้น ต้องสังเกตโดยการฟังคำพูดของเด็ก ความสามารถในการ ใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย ระหว่างอายุ 3 – 6 ปีสามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้

               นอกจากนี้พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย ยังแสดงออกด้วยพฤติกรรมของเด็กใน ลักษณะต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความฉลาดและความคิดสร้างสรรค์ซึ่งสามารถสังเกตได้จากลักษณะ พฤติกรรมดังต่อไปนี้
                .ลักษณะพฤติกรรมของเด็กฉลาด
                การวินิจฉัยว่าเด็กคนใดเป็นเด็กเก่งหรือเด็กฉลาด นอกจากจะใช้แบบทดสอบในการวัด สติปัญญาเป็นเกณฑ์อันหนึ่งแล้ว ยังสามารถใช้การสังเกตพฤติกรรม เพื่อรวบรวมข้อมูลด้วยอีกวิธีหนึ่ง พฤติกรรมของเด็กเก่งหรือเด็กฉลาด เราสังเกตเห็นได้คือ
                (1) การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างง่ายและรวดเร็ว
                (2) ความสามารถในการใช้สามัญสำนึก และสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ใน ชีวิตประจำวัน
                (3) ความมีเหตุผล ความคิดดีสามารถมองเห็นและเข้าใจความสัมพันธ์และความหมาย ของสิ่งต่าง ๆ ได้ดี
                (4) ความจำดีสามารถจดจำสิ่งที่เคยเห็นเคยอ่านได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องอาศัยการ ท่องจำ
                (5) ความรู้กว้างขวาง และรู้เรื่องต่าง ๆ มากกว่าเด็กในวัยเรียน
                (6) รู้คำศัพท์มากและกว้างขวาง สามารถใช้ได้ถูกต้องแม่นยำ
                (7) อ่านหนังสือได้เร็วและสามารถอ่านหนังสือชั้นสูงขึ้นไปหนึ่งหรือสองชั้น
                (8) ชอบซักถาม มีความสนใจสิ่งต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
                (9) ชอบทำงานที่ต้องใช้ความคิดยาก ๆ
                (10) มีความคิดริเริ่ม สามารถคิดวิธีการแปลก ๆ และใช้ได้ดี
                (11) มีความว่องไว เฉียบแหลม และช่างสังเกต
                (12) มีความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์
                (13) บางครั้งชอบซักถาม ก่อกวนเพื่อนและครูในชั้นเรียน
                ลักษณะพฤติกรรมของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
                เด็กทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์แต่ระดับความคิดสร้างสรรค์ของเด็กแตกต่างกันขึ้นอยู่ กับการที่เด็กจะได้รับการกระตุ้นหรือส่งเสริมให้ความสามารถทางด้านความคิดสร้างสรรค์ได้พัฒนามากขึ้น เพียงใด ถ้าเด็กได้รับโอกาสให้แสดงออกอย่างปลอดภัยและเหมาะสม ก็จะทำให้ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กมี พัฒนาการสูงขึ้น ความคิดสร้างสรรค์จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องกัน ในช่วงปฐมวัย หรือ โดยเฉพาะช่วงก่อนวัยเรียนเป็นระยะที่เด็กกำลังเรียนพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์สูง จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงต่อไป ถ้าได้รับการส่งเสริมให้สมรรถภาพทางด้านความคิด สร้างสรรค์ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องและเต็มที่ลักษณะพฤติกรรมทางด้านความคิดสร้างสรรค์มีดังนี้
                (1) มีความอยากรู้อยากเห็น และสนใจสิ่งใหม่ๆ
                (2) ชอบซักถาม สำรวจ ทดลอง
                (3) กล้าเสี่ยง
                (4) กล้าแสดงออก
                (5) มีความคิดริเริ่ม
                (6) ไม่ชอบคล้อยตามผู้อื่นอย่างง่าย ๆ
                (7) กล้าและศรัทธาที่จะเผชิญกับสิ่งใหม่ๆ
                (8) มีความคิดยืดหยุ่นทั้งความคิดและการกระทำ สามารถคิดดัดแปลง แก้ไขวิธีการ และทำงานได้อย่างเหมาะสม
                (9) ทำงานเพื่อความสุขของตนเองมิได้หวังผลตอบแทนหรือการยกย่องจาก คนอื่น

 ลักษณะเฉพาะของพัฒนาการด้านสติปัญญา ในวัยนี้ สรุปได้ดังนี้
                1. เป็นวัยที่ใช้สัญลักษณ์ได้ ใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งของ วัตถุ และสถานที่ มีทักษะในการอธิบาย สามารถเล่าประสบการณ์ของตนได้
                2. สามารถวาดภาพในใจได้ ลักษณะพิเศษของเด็กวัยนี้ คือ การใช้ความคิดคำนึงหรือการสร้างจินตนาการและการประ ดิษฐ์ แต่บางครั้งอาจไม่สามารถแยกสิ่งที่ตนสร้างจากความคิดคำนึงออกจากความจริงได้ ผู้ใหญ่จะต้องพยายามช่วยเหลือ
                3. มีความตั้งใจทีละอย่าง ยังไม่มีความสามารถที่จะพิจารณาหลายๆอย่างผสมกัน ไม่สามารถแบ่งกลุ่มโดยใช้เกณฑ์หลายอย่างปนกัน จะแบ่งโดยใช้รูปร่างอย่างเดียว เช่น สามเหลี่ยมอยู่ด้วยกัน และวงกลมอยู่กลุ่มเดียวกัน
                4. ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปรียบเทียบน้ำหนัก ปริมาตร และความยาว ยังค่อนข้างสับสน ยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับความคงตัวของสสาร และความสามารถในการจัดลำดับ การตัดสินใจของเด็กในวัยนี้ขึ้นกับการรับรู้ ยังไม่รู้จักใช้เหตุผล
ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
                นักจิตวิทยาและนักการศึกษาได้ให้ความหมายเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ไว้หลายท่านดังนี้

                Guilford (1956 : 128) ได้ศึกษาเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งกล่าวไว้ว่า ความคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วยลักษณะ ดังต่อไปนี้
                1. ความคล่องแคล่วในการคิด คือ ความสามารถของบุคคลในการหาคำตอบได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว และมีคำตอบในปริมาณที่มากในเวลาจำกัด
                2. ความคิดยืดหยุ่นในการคิด คือ ความสามารถของบุคคลในการคิดหาคำตอบได้หลายประเภทและหลายทิศทาง
                 3. ความคิดริเริ่ม คือ ความสามารถของบุคคลในการคิดหาสิ่งแปลกใหม่และเป็นคำตอบที่ไม่ซ้ำกับผู้อื่น
                4. ความคิดละเอียดลออ คือ ความสามารถในการกำหนดรายละเอียดของความคิดเพื่อบ่งบอกถึงวิธีสร้างและการนำไปใช้
                หลักความคิดสร้างสรรค์ของกิลฟอร์ด มุ่งไปที่ความสามารถของบุคคลที่จะคิดได้ รวดเร็วกว้างขวาง และมีความคิดริเริ่ม ถ้ามีส่งเร้ามากระตุ้นให้เกิดความคิดนั้นๆ สิ่งเร้าที่จะมากระตุ้นให้เกิดความคิด มีอยู่ 4 ชนิด
               

1. รูปภาพ
2. สัญลักษณ์
3. ภาษา
4. พฤติกรรม

         กิลฟอร์ด กล่าวโดยสรุปว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถด้านสมองที่จะคิดได้หลายแนวทางหรือคิดได้หลายคำตอบ เรียกว่า การคิดแบบอเนกนัย
อารี พันธ์มณี (2537 : 25) ได้กล่าวถึงความคิดสร้างสรรค์ว่า เป็นกระบวนการทางสมองที่คิดในลักษณะอเนกนัย อันนำไปสู่การคิดพบสิ่งแปลกใหม่ด้วยการคิดดัดแปลง ปรุงแต่งจากความคิดเดิมผสมผสานกันให้เกิดสิ่งใหม่ ซึ่งรวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นพบสิ่งต่างๆ ตลอดจนวิธีการคิด ทฤษฎีหลักการได้สำเร็จความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้มิใช่เพียงแต่คิดในสิ่งที่เป็นไปได้ หรือสิ่งที่เป็นเหตุผล เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่คิดจินตนาการก็เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะก่อให้เกิดความแปลกใหม่ แต่ต้องควบคู่กันไปกับ ความพยายามที่จะสร้างความคิดฝันหรือจินตนาการให้เป็นไปได้หรือเรียกว่าเป็นจินตนาการประยุกต์นั้นเอง จึงจะทำให้เกิดผลงาน
องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์

                องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์นี้ได้รับอิทธิพลมาจากทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด (Guilford. 1967 : 62) ซึ่งเชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองที่คิดได้อย่างซับซ้อน กว้างไกล หลายทิศทาง หรือที่เรียกว่า คิดอเนกนัย (Divergent thinking) ซึ่งประกอบด้วย ความคิดริเริ่ม (Originality) ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) ความคิดละเอียดลออ(Elaboration)
                Guilford (1967 : 145-151) ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้
                1. ความคิดริเริ่ม (Originality) หมายถึง ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันกับความคิดของคนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการคิดจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้แปลกแตกต่างจากที่เคยเห็น หรือสามารถพลิกแพลงให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่เคยคาดคิด ความคิดริเริ่มอาจเป็นการนำเอาความคิดเก่ามาปรุงแต่งผสมผสานจนเกิดเป็นของใหม่ ความคิดริเริ่มมีหลายระดับซึ่งอาจเป็นความคิดครั้งแรกที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครสอนแม้ความคิดนั้นจะมีผู้อื่นคิดไว้ก่อนแล้วก็ตาม
                2. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
                2.1 ความคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ (Word Fluency) เป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่ว
                 2.2 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์ (Associational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลาที่กำหนด
                 2.3 ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก (Expression Fluency) เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยค กล่าวคือ สามารถที่จะนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ                 2.4 ความคล่องแคล่วในการคิด (Ideational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดค้นสิ่งที่ต้องการ
ภายในเวลาที่กำหนด เช่น ใช้คิดหาประโยชน์ของก้อนอิฐให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งอาจเป็น 5 นาที หรือ 10 นาที
                3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ประเภทหรือแบบของการคิดแบ่งออกเป็น
                3.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility) เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดได้หลายทางอย่างอิสระ ตัวอย่างของคนที่มีความคิดยืดหยุ่นในด้านนี้จะคิดได้ว่าประโยชน์ของหนังสือพิมพ์มีอะไรบ้าง ความคิดของผู้ที่ยืดหยุ่นสามารถจัดกลุ่มได้หลายทิศทางหรือหลายด้าน เช่น เพื่อรู้ข่าวสาร เพื่อโฆษณาสินค้า เพื่อธุรกิจ ฯลฯ ในขณะที่คนที่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์จะคิดได้เพียงทิศทางเดียว คือ เพื่อรู้ข่าวสาร เท่านั้น
                3.2 ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง (Adaptive Flexibility) หมายถึง ความสามารถในการดัดแปลงความรู้ หรือประสบการณให้เกิดประโยชน์หลายๆ ด้าน ซึ่งมีประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา ผู้ที่มีความยืดหยุ่นจะคิดดัดแปลงได้ไม่ซ้ำกัน
                4. ความคิดละเอียดละออ (Elaboration) หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น ความคิดละเอียดละออจัดเป็นรายละเอียดที่นำมาตกแต่ง ขยายความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ขึ้น

                จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นการคิดอเนกนัย ที่ประกอบด้วยความคิดริเริ่ม ความคล่องแคล่วในการคิด ความยืดหยุ่นในการคิด และความคิดละเอียดลออ สำหรับองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์มีส่วนสำคัญ เช่นเดียวกับความคิดสร้างสรรค์ทั่วไป
หลักการประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา : ความคิดสร้างสรรค์
                หลักการสำคัญของการดำเนินการประเมินพัฒนาการตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
พุทธศักราช ๒๕๖๐ สถานศึกษาที่จัดการศึกษาปฐมวัยควรคำนึงถึงหลักสำคัญของการดำเนินงานการประเมินพัฒนาการตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ ๓-๖ ปี ดังนี้
                ๑ ผู้สอนเป็นผู้รับผิดชอบการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม
                ๒ การประเมินพัฒนาการ มีจุดมุ่งหมายของการประเมินเพื่อพัฒนาความก้าวหน้าของเด็กและสรุปผลการประเมินพัฒนาการของเด็ก
                ๓ การประเมินพัฒนาการต้องมีความสอดคล้องและครอบคลุมมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ สภาพที่พึงประสงค์แต่ละวัยซึ่งกำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย
                ๔ การประเมินพัฒนาการเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ต้องดำเนินการด้วยเทคนิควิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถประเมินพัฒนาการเด็กได้อย่างรอบด้านสมดุลทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งระดับอายุของเด็ก โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเที่ยงตรง ยุติธรรมและเชื่อถือได้
                ๕ การประเมินพัฒนาการพิจารณาจากพัฒนาการตามวัยของเด็ก การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้และการร่วมกิจกรรม ควบคู่ไปในกระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามความเหมาะสมของแต่ละระดับอายุ และรูปแบบการจัดการศึกษา และต้องดำเนินการประเมินอย่างต่อเนื่อง
                ๖ การประเมินพัฒนาการต้องเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้สะท้อนและตรวจสอบผลการประเมินพัฒนาการ
                ๗ สถานศึกษาควรจัดทำเอกสารบันทึกผลการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในระดับชั้นเรียนและระดับสถานศึกษา เช่น แบบบันทึกการประเมินพัฒนาการตามหน่วยการจัดประสบการณ์ สมุดบันทึกผลการประเมนพัฒนาการประจำชั้น เพื่อเป็นหลักฐานการประเมินและรายงานผลพัฒนาการและสมุดรายงานประจำตัวนักเรียน เพื่อเป็นการสื่อสารข้อมูลการพัฒนาการเด็กระหว่างสถานศึกษากับ
กลุ่ม 9
การประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา : ทักษะ / ความสามารถทางภาษา
ความหมายของพัฒนาการด้านสติปัญญา
พัฒนาการทางสติปัญญานั้นเป็นความหมายในการสะสมประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อมโดยผ่านการรับรู้ของประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องและสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านต่างๆ สำหรับเด็กปฐมวัยพัฒนาการทางสติปัญญาจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและบุคคลรวมถึงประสบการณ์ที่กระตุ้นให้เด็กเกิดการคิด
ลักษณะพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
1.พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กวัย 1 ปี
รู้จักเชื่อมโยงคำพูดกับการกระทำ ชอบฟังคำซ้ำๆ เสียงสูงๆต่ำๆ รู้ว่าคำต่างๆเป็นสัญลักษณ์ของวัตถุนั้นๆ เริ่มพูดเป็นคำใหม่ ค้นหาที่ปิดซ่อนจากสายตาได้ รู้จักชื่อตนเอง แสดงความคิด จินตนาการ กล่าวคือพูดเกี่ยวกับการกระทำอยู่ เข้าใจคำพูดง่ายๆ พูดเป็นคำได้มากขึ้น ทักทายโดยใช้เสียงท่าทาง สนใจสำรวจสิ่งรอบตัว หัดขีดเขียนเส้นยุ่งๆได้ มีความสนใจกับของบางอย่างนาน 2-5 นาที ชอบดูหนังสือภาพ ชอบฟังบทกลอน นิทาน เริ่มประโยคคำถาม อยากรู้อยากเห็น ขีดเขียนเส้นตรงเป็นแนวดิ่งได้ วางของซ้อนกันลงได้ 4-6 ชิ้น
2.พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กวัย 2 ปี
ด้านสติปัญญา เป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็น สนใจค้นคว้าสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เรียนรู้สิ่งต่างๆโดยการเลียนแบบผู้ที่อยู่ใกล้ชิดหรือเด็กอื่น มีช่วงความสนใจกับบางอย่างได้นาน3-5 นาที ชอบดูหนังสือภาพ ฟังบทกลอน นิทาน คำคล้องจอง รู้จักซักถามสิ่งที่สงสัยโดยใช้ประโยคคำถาม ว่า “อะไร
3.พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กวัย 3 ปี
ด้านสติปัญญา เป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว สำรวจสิ่งต่างๆที่เหมือนกันและต่างกันได้ เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบผู้อื่น จำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า
4.พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กวัย 4 ปี
ด้านสติปัญญา บอกชื่อและนามสกุลของตนเอง เด็กในวัยนี้เรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยการจำแนกด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า สำรวจและทดลองเล่นกับสิ่งของหรือของเล่นต่างๆ ตามคิดของตนเอง พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
5.พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กระหว่าง 5-6 ปี
ด้านสติปัญญา สามารถฟังเรื่องราวและถ่ายทอดให้ผู้อื่นฟังได้ บอกชื่อ นามสกุล และอายุของตนเอง สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่ พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
1 การฟัง เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้เสียงที่ได้ยิน การตระหนักถึงความหมายของเสียงนั้นในบริบทแวดล้อม และการตีความสิ่งที่ได้ยินโดยเชื่อมโยงกับความรู้เดิม การรวบรวมข้อมูล การจินตนาการ หรือความชื่นชอบของเด็ก ทั้งนี้ สาระที่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับการฟังแบ่งออกเป็น 3 ด้าน (Jalongo, 1992: 67) ได้แก่
        (1) ด้านความสามารถในการได้ยินและจับใจความ ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์และภูมิหลังของเด็ก ครูจึงต้องปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นนั้นๆ
        (2) ด้านความตั้งใจฟัง เกิดขึ้นเมื่อมีแรงจูงใจ มีเหตุผลที่ดี หรือมีประโยชน์ต่อเด็ก

        (3) ด้านนิสัยในการฟัง เป็นพฤติกรรมตอบสนองต่อสถานการณ์ในการฟัง นิสัยที่ดีในการฟังเกิดจากการที่เด็กมีความสนใจ ได้รับข้อมูลหรือสารที่ชัดเจน และการได้ตอบสนองต่อสิ่งที่ได้ยิน
ดังนั้น สิ่งที่ครูควรตระหนักและวางแผนในการกำหนดสาระที่เด็กควรเรียนรู้ด้านการฟัง คือ การช่วยให้เด็กมีความไวต่อการใช้บริบท หรือสิ่งชี้แนะเพื่อการตีความ และการเชื่อมโยงสิ่งที่ได้ยินกับประสบการณ์ของเด็ก โดยที่ครูเป็นผู้ช่วยให้เด็กมีประสบการณ์ต่างๆ อย่างเพียงพอ เหมาะสมกับวัย ความแตกต่างระหว่างบุคคล และความสนใจของเด็ก เพื่อเป็นแรงจูงใจที่ช่วยให้เด็กมีความตั้งใจในการฟัง และพัฒนาไปสู่การมีนิสัยที่ดีในการฟังในที่สุด
2 การพูด เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับผู้อื่น สาระที่เด็กควรเรียนรู้เพื่อให้สามารถสื่อสารกับผู้อื่นอย่างมีความหมาย และตรงตามความต้องการของเด็ก ได้แก่ 
    (1) คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก หรือคำศัพท์เกี่ยวกับเรื่องราวที่เด็กสนใจ
    (2) การเรียงลำดับคำต่างๆ เพื่อใช้ในการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ
    (3) การใช้คำพูดที่เป็นที่ยอมรับ และ/หรือคำพูดที่สุภาพ
    (4) การใช้คำพูดให้เหมาะสมกับบุคคลที่ต้องการสื่อสารด้วย
    (5) ความมั่นใจในการพูดกับผู้อื่น
    (6) การยอมรับความคิดที่ผู้อื่นแสดงออกด้วยการพูด
    (7) ความสนใจที่มีต่อคำใหม่ๆ สาระเหล่านี้ช่วยให้เด็กสามารถมากขึ้น
3 การอ่าน เป็นกระบวนการที่เด็กใช้ในการถอดรหัสสัญลักษณ์ และทำความเข้าใจความหมายที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอดผ่านสัญลักษณ์เหล่านั้น องค์ประกอบของการอ่านที่เด็กควรเรียนรู้ (สุภัทรา คงเรือง2539: 19 - 20) ได้แก่
    (1) ความรู้เกี่ยวกับการใช้หนังสือ ได้แก่ การรู้ทิศทางในการถือหนังสือ การรู้ส่วนประกอบของหนังสือ และ การรู้ทิศทางในการอ่าน
    (2) ความรู้เกี่ยวกับตัวอักษร ได้แก่ การรู้ว่าการอ่านกับการเขียนสัมพันธ์กัน การรู้จักคำคุ้นตา การรู้ว่าคำคืออะไร การรู้จักตัวอักษรตัวแรก และตัวสุดท้ายของคำ และ การรู้รูปร่างและทิศทางของตัวอักษร
    (3) ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายวรรคตอน ได้แก่ การรู้ความหมายของเครื่องหมายคำพูด เครื่องหมายคำถาม และเครื่องหมายอัศเจรีย์
    (4) ความรู้เกี่ยวกับการใช้สิ่งชี้แนะในการคาดคะเนและตรวจสอบการคาดคะเน ได้แก่ การคาดคะเน และตรวจสอบการคาดคะเนโดยอาศัยภาพ ความหมายของคำ โครงสร้างของประโยค และ/หรือ พยัญชนะต้นของคำ
4 การเขียน เป็นกระบวนการแสดงออกถึงความรู้สึก ความต้องการ และความคิดผ่านทางเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ องค์ประกอบของการเขียนที่เด็กควรเรียนรู้ (ภาวิณี แสนทวีสุข2538: 9) ได้แก่    (1) การสร้างสัญลักษณ์ภาษาเขียน หมายถึง การสร้างภาพ และ/หรือข้อความ ด้วยการวาด การลอก การจำมาเขียนทั้งที่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์และถูกต้องสมบูรณ์ การคิดพยัญชนะขึ้นเสียงของคำ ตลอดจนการคิดสะกดคำ
    (2) ทิศทางการเขียน หมายถึง การจัดเรียงตำแหน่งของสิ่งที่เขียน ตั้งแต่การจัดเรียงตามแนวตั้งและแนวนอนอย่างสะเปะสะปะ ไปจนกระทั่งเด็กสามารถเขียนจากซ้ายไปขวา และบนลงล่างอย่างสม่ำเสมอ
    (3) วิธีถ่ายทอดความหมายของสัญลักษณ์ภาษาเขียน หมายถึง การแสดงความหมายของภาพ และ/หรือข้อความที่ตนเขียนให้ผู้อื่นรับรู้ด้วยการบอกให้ครูช่วยเขียนให้ เขียนเองบางส่วน ตลอดจนเขียนเองทั้งหมด
    (4) ความซับซ้อนของความหมาย หมายถึง ความชัดเจน ความละเอียดลออ และครอบคลุมความหมายที่ต้องการสื่อโดยใช้หน่วยไวยากรณ์ที่เป็นตัวอักษร คำ หรือประโยคง่ายๆ
พัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย
พัฒนาการภาษาพูด มีลำดับขั้น ตั้งแต่วัยทารก จนสิ้นสุดระยะวัยเด็กตอนต้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflexive Vocalization)
การใช้ภาษาของเด็กในระยะนี้ คือ ตั้งแต่คลอดถึงอายุหนึ่งเดือนครึ่ง เป็นแบบปฏิกิริยาสะท้อนเทียบเท่ากับภาษาหรือการสื่อความหมายของสัตว์ประเภทอื่นๆ เสียงนี้เป็นไปโดยอัตโนมัติและไม่มีความหมายในขั้นแรก แต่เมื่ออายุราวหนึ่งเดือนล่วงแล้ว ทารกอาจเปล่งเสียงต่างกันได้ตามความรู้สึก เช่น ชอบ ไม่ชอบ ง่วง หิว ฯลฯ
ขั้นที่ 2 ขั้นเล่นเสียง (Babbling Stage)
อายุเฉลี่ยของทารกในขั้นนี้ ต่อจากขั้นที่ 1 จนถึงอายุราว 8 เดือน อวัยวะในการเปล่งเสียงและฟังของทารก เช่น ปาก ลิ้น หู เริ่มพัฒนามากขึ้น เป็นระยะที่ทารกได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตนเอง สนุกและสนใจลองเล่นเสียง (Vocal Play) ที่ตนได้ยิน โดยเฉพาะเสียงของตนเอง แต่เสียงที่เด็กเปล่งก็ไม่มีความหมายในเชิงภาษา ระยะนี้ทารกทุกชาติทำเสียงเหมือนกันหมด แม้เสียงที่เด็กเปล่งยังคงไม่เป็นภาษา แต่ก็มีความสำคัญในกระบวนการพัฒนาการพูด เพราะเป็นระยะที่เด็กได้ลองทำเสียงต่างๆทุกชนิด เปรียบเสมือนการซ้อมเสียงซอของนักสีซอก่อนการเล่นซอที่แท้จริง
ขั้นที่ 3 ขั้นเลียนเสียง (Lalling Stage)
ระยะนี้ทารกอายุประมาณ 9 เดือน เขาเริ่มสนุกที่จะเลียนเสียงผู้อื่น นอกจากเล่นเสียงของตนเอง ระยะนี้ประสาทรับฟังพัฒนามากยิ่งขึ้น จนสามารถจับเสียงผู้อื่นพูดได้ถี่ถ้วนยิ่งขึ้น ประสาทตาจับภาพการเคลื่อนไหวของริมฝีปากได้แล้ว จึงรู้จักและสนุกที่จะเลียนเสียงผู้อื่น ระยะนี้เขาเลียนเสียงของตัวเองน้อยลง การเลียนเสียงผู้อื่นยังผิดๆถูกๆและยังไม่สู้จะเข้าใจความหมายของเสียงที่เปล่งเลียนแบบผู้ใหญ่ เด็กหูหนวกไม่สามารถพัฒนาทางด้านภาษามาถึงขั้นนี้ ขั้นนี้เป็นระยะที่ทารกเริ่มพูดภาษาแม่ของตน
ขั้นที่ 4 ขั้นเลียนเสียงได้ถูกต้องยิ่งขึ้น (Echolalia)
ระยะนี้ทารกอายุประมาณ 1 ขวบ ยังคงเลียนเสียงผู้ที่แวดล้อมเขา และทำได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น เลียนเสียงตัวเองน้อยลง แต่ยังรู้ความหมายของเสียงไม่แจ่มแจ้งนัก
ขั้นที่ 5 ขั้นเห็นความหมายของเสียงที่เด็กเลียน (True Speech)
ระยะนี้ทารกอายุตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป ความจำ การใช้เหตุผล การเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่ทารกได้รู้เห็นพัฒนาขึ้นแล้ว เช่น เมื่อเปล่งเสียง “แม่” ก็รู้ว่าคือ ผู้หญิงคนหนึ่งที่อุ้มชูดูแลตน การพัฒนามาถึงขั้นนี้เป็นไปอย่างบังเอิญ (ไม่ได้จงใจ) แต่ต่อมาจากการได้รับการตอบสนองที่พอใจและไม่พอใจ ทำให้การเรียนความสัมพันธ์ของเสียงและความหมายก้าวหน้าสืบไป ในระยะแรก เด็กจะพูดคำเดียวก่อน ต่อมาจึงจะอยู่ในรูปวลีและรูปของประโยค ตั้งแต่ยังไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ไปจนถึงถูกหลักไวยากรณ์ของภาษานั้นๆ นักภาษาศาสตร์ได้ทำ การวิจัยทางเด็กที่พูดภาษาต่างๆทั่วโลก เห็นพ้องต้องกันว่า พัฒนาการทางภาษาตั้งแต่ขั้นที่หนึ่งถึงห้าข้างต้นอยู่ในระยะวัยทารก ส่วนระยะที่เด็กเข้าใจภาษาและใช้ภาษาได้อย่างอัตโนมัติเหมือนผู้ใหญ่นั้น อยู่ในระยะเด็กตอนต้นหรือช่วงปฐมวัยนั่นเอง ซึ่งพัฒนาการทางภาษาที่น่าสนใจก็คือ ความยาวของประโยค ยิ่งเด็กโตขึ้นก็จะยิ่งสามารถพูดได้ประโยคยาวขึ้น ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงความสามารถทางการใช้ภาษาของเด็กได้เป็นอย่างดี
โครงสร้างลำดับพัฒนาการด้านสติปัญญา
คุณลักษณะตามวัย
เด็กอายุ 3 ปี 
พัฒนาการด้านสติปัญญา
  • สำรวจสิ่งต่างๆที่เหมือนกันและต่างกันได้
  • บอกชื่อของตนเองได้
  • ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
  • สนทนาโต้ตอบเล่าเรื่องประโยคสั้นๆได้
  • สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
  •  รู้จักใช้คำถาม อะไร



เด็กอายุ 4 ปี
พัฒนาการด้านสติปัญญา
  • จำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้
  • บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
  • พยายามแก้ไขด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
  • สนทนาโต้ตอบเล่าเรื่องเป็นประโยคต่อเนื่องได้
  • รู้จักใช้คำถามว่าทำไม
เด็กอายุ 5 ปี
พัฒนาการด้านสติปัญญา
  • บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้สิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้
  • บอกชื่อและนามสกุลและอายุของตนเองได้
  • พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
  • โต้ตอบเล่าเป็นเรื่องเป็นราวได้
  • รู้จักใช้คำถามว่าทำไม อย่างไร
  • เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
การวัดและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย  
        การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเด็กปฐมวัย เป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมและความสามารถของเด็กในด้านต่าง ๆ ทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง แล้วนำมาเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเกี่ยวกับเด็ก หรือการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก
                      การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ เป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการจัดประสบการณ์ตามปกติในกิจวัตรประจำวัน ครูที่ประเมินอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบจะสามารถใช้หลักสูตรและจัดประสบการณ์ได้อย่างเหมาะสมกับวัย และความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก
หลักการประเมินพัฒนาการของเด็ก  
หลักการประเมินพัฒนาการของเด็กตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 มีดังนี้ การประเมินพัฒนาการ
การประเมินพัฒนาการเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีควรประเมินให้ครอบคลุมทุกช่วงอายุเพราะช่วงวัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วอีกทั้งมีความเสี่ยงต่อสภาพความผิดปกติต่างๆจึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังและติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูควรสังเกตพัฒนาการเด็กโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลหากพบความผิดปกติต้องรีบพาไปพบแพทย์หรือผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กเพื่อหาทางแก้ไขหรือบำบัดฟื้นฟูโดยเร็วที่สุดหลักในการประเมินพัฒนาการมีดังนี้
       1 ประเมินพัฒนาการของเด็กทุกด้าน
ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
ประเมินด้วยวิธีการที่หลากหลายซึ่งวิธีประเมินที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี มีการสังเกต จำของเด็กในกิจกรรมต่างๆและกิจวัตรประจำวันการบันทึกพฤติกรรมการสนทนาการสัมภาษณ์เด็กและผู้ใกล้ชิดและการวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็ก
บันทึกพัฒนาการลงในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กและใช้คู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย(DSPM) ของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานอื่น
นำผลที่ได้จากการประเมินพัฒนาการไปพิจารณาจัดกิจกรรมเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้และมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย
การประเมินพัฒนาการ
การประเมินพัฒนาการเด็กอายุ 3-6 ปีเป็นการประเมินพัฒนาการทางด้านร่างกายอารมณ์จิตใจสังคมและสติปัญญาของเด็กโดยถือเป็นกระบวนการต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปกติที่จัดให้เด็กในแต่ละวันผลที่ได้จากการสังเกตพัฒนาการเด็กต้องนำมาจัดทำสารนิทัศน์หรือจัดทำข้อมูลหลักฐานหรือเอกสารอย่างเป็นระบบด้วยการรวบรวมผลงานสำหรับเด็กเป็นรายบุคคลที่สามารถบอกเรื่องราวหรือประสบการณ์ที่เด็กได้รับว่าเด็กเกิดการเรียนรู้และมีความก้าวหน้าเพียงใดทั้งนี้ให้นำข้อมูลผลการประเมินพัฒนาการเด็กมาพิจารณาปรับปรุงวางแผนการจัดกิจกรรมและส่งเสริมให้เด็กแต่ละคนได้รับการพัฒนาตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรอย่างต่อเนื่องการประเมินพัฒนาการควรยึดหลักดังนี้
1 แผนการประเมินพัฒนาการอย่างเป็นระบบ
2 วางแผนประเมินพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน
3 ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี
4 ประเมินพัฒนาการตามสภาพจริงจากกิจกรรมประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลายไม่ควรใช้แบบทดสอบ
5 สรุปผลการประเมินจัดทำข้อมูลและนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาเด็ก
สำหรับวิธีการประเมินที่เหมาะสมและควรใช้กับเด็กอายุ 3-6 ปีได้แก่การสังเกตการบันทึกพฤติกรรมการสนทนากับเด็กการสัมภาษณ์การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็กที่เก็บอย่างมีระบบ
ประเภทการวัดและการประเมิน 
    1. การทดสอบ (testing)ในระดับปฐมวัย หมายถึง วิธีการประเมินรวบรวมข้อมูลอย่าง เป็นทางการใช้อย่างกว้างขวางในการวัดพฤติกรรมของผู้เรียน และผลการวัดออกมาเป็นคะแนน 
    2. การวัด (measurement)ในระดับปฐมวัย หมายถึง การวัดกระบวนการเทียบปริมาณ เพื่อแสดงค่าตัวเลข เป็นการกำหนดเซตของจำนวน 
    3. การประเมินผล (evasurement[N1] ) ในระดับปฐมวัย หมายถึง กระบวนการที่ต่อมาจากการวัด แล้วตัดสินใจสรุปคุณค่าอย่างมีเกณฑ์ 
    4. การประเมิน (assessment) ในระดับปฐมวัย หมายถึง เน้นการใช้วิธีการ และเครื่องมือที่หลากหลายในการวัดที่มีระบบและจุดมุ่งหมาย ในการมองความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
 การวัดประเมินผลระดับปฐมวัย ในโรงเรียนจะมีการวัดและประเมินผลพัฒนาการของผู้เรียน ในแต่ละระดับชั้น เป็นรายบุคคล อย่างต่อเนื่อง จากการทำกิจกรรม และกิจวัตร ประจำวัน ซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลาย เอื้อต่อพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของ เด็ก ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาเต็มศักยภาพอย่างเหมาะสม
วิธีการประเมินผล 
การประเมินจะประเมินตามสภาพจริงของผู้เรียน โดย การสังเกต สนทนา สัมภาษณ์ เก็บรวบรวมผลงานหรือ ชิ้นงานในรูปแบบแฟ้มสะสมผลงาน ที่ผู้เรียนแสดงออก เพื่อเป็นการเปรียบเทียบพัฒนาการของผู้เรียนในระดับต่อไป โดย มีวิธีการประเมินผลที่หลากหลาย ได้แก่
 - การสังเกตพฤติกรรมของเด็ก โดยครูเป็นผู้สังเกต ขณะเด็กทำกิจกรรม 
 - การบันทึกพฤติกรรมของเด็ก โดยการสัมภาษณ์ 
 - สารสัมพันธ์ ระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียน โดยผ่านสมุดรายงาน พฤติกรรม 
 - สอบถามพฤติกรรมเด็ก จากผู้ปกครองในวันนัดประเมินพัฒนาการ 
 - การให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของเด็ก 
 - การสนทนา โต้ตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็น ได้อย่างเหมาะสม 
 - การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน 
 - การใช้แบบทบทวนเนื้อหาตามหน่วยการเรียนการสอน 
 - การรวบรวมผลงานในรูปแบบของแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
การประเมินพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
      แนวทางการประเมินพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยตามสภาพจริง
1.สร้างเครื่องมือการประเมินที่เหมาะสมกับธรรมชาติของการเรียนรู้ภาษาของเด็กครูต้องศึกษาพัฒนาการด้านการพูดการฟังการอ่านและการเขียนของและนำหัวข้อเหล่านั้นมาสร้างเป็นตัวบ่งชี้ในเครื่องมือการประเมินคือตัวบ่งชี้ในเครื่องมือการประเมินพัฒนาการทางภาษาต้องสอดคล้องกับพัฒนาการทางภาษาและธรรมชาติการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
2.กำหนดเครื่องมือในการประเมินที่หลากหลายการประเมินพัฒนาการทางภาษาของเด็กประถมวัยควรเป็นการประเมินแบบไม่เป็นทางการรวมข้อมูลในการประเมินที่เหมาะสมคือการสังเกตุการสนทนากับเด็กและบันทึกอย่างเป็นระบบวิธีการวันที่อาจใช้วิธีการสำรวจรายการการจดบันทึกพฤติกรรมหรือมาตราส่วนประเมินค่ะอาใช้วิธีการบันทึกวีดีทัศน์บันทึกเสียงเก็บตัวอย่างงานโดยใช้แฟ้มสะสมงานทั้งนี้ครูควรเรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือในแต่ละประเภทและเลือกใช้เครื่องมือการประเมินที่หลากหลายเพื่อให้สามารถสะท้อนการเรียนรู้ภาษาของเด็กอย่างแท้จริง
3.บูรณาการการสอนกับการประเมินการประเมินถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์ประเมินอย่างต่อเนื่องทำให้ครูทราบพัฒนาการทางภาษาของเด็กเข้าใจเด็กและรู้พัฒนาการเด็กอย่างไรต่อไปงานที่สำคัญของครูในส่วนนี้คือครูต้องทบทวนว่าจะประเมินพัฒนาการทางภาษาในตัวบ่งชี้ใดโดยเลือกใช้เครื่องมือประเมินชนิดใดในช่วงเวลาใดในกิจกรรมประจำวันที่จัดขึ้นการวางแผนการประเมินที่เหมาะสมและยืดหยุ่นได้จะช่วยให้ครูสามารถจัดประสบการณ์โดยทำการประเมินควบคู่กันไปได้อย่างรับรื่น
4.เน้นที่ความเก้าหน้าของเด็กในการประเมินพัฒนาการทางภาษาครูควรบันทึกสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เพื่อเป็นการประเมินความก้าวหน้าของเด็กไม่ควรยุ่งมุ่งสังเกตสิ่งที่เด็กยังไม่สามารถ

ให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลผลิตขณะที่เด็กร่วมกิจกรรมทางภาษาครูควรให้ความสนใจกับกระบวนการในการใช้ภาษาของเด็กเช่นขณะที่เด็กกำลังลงชื่อมาโรงเรียนเมื่อครูสังเกตกระบวนการทำงานของเด็กจะพบว่าเด็กบางคนใช้วิธีคัดลอกชื่อของตนโดยมองจากชื่อที่ปักที่เสื้อทำให้ผลงานการเขียนมีลักษณะกลับหัวบางคนเขียนได้อย่างคล่องแคล่วจากความจำของตนเองโดยที่ผลผลิตมีลักษณะใกล้เคียงกับคนที่เขียนโดยการคัดลอกจากแบบที่ครูเตรียมไว้หากไม่สังเกตกระบวนการย่อมทำให้ครูไม่สามารถให้ความช่วยเหลือเด็กได้อย่างเหมาะสมอย่างไรก็ตามครูควรให้ความสนใจและควร ตรวจสอบทั้งกระบวนการและผลผลิตด้านการใช้ภาษาควบคู่กันไป
6. ประเมินจากบริบทที่หลากหลายครูจำเป็นต้องปรับประเมินพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กจากบริเวณที่หลากหลายเพื่อให้ได้ผลการประเมินที่ตรงตามสภาพจริงของเด็กการด่วนสรุปจากบริบทในบริบทหนึ่งอาจทำให้ไม่ได้ผลการประเมินที่แท้จริงเนื่องจากเด็กทำกิจกรรมในบริบทหนึ่งได้ดีกว่าอีกบริษัทหนึ่งก็ได้
ประเมินเด็กเป็นรายบุคคลการประเมินพัฒนาการทางภาษาครูต้องเฝ้าสังเกตเด็กแต่ละคนเพื่อให้รู้จักเด็กเป็นรายบุคคลการประเมินเป็นรายบุคคลนอกจากจะทำให้ครูทราบความก้าวหน้าของเด็กทางภาษาแล้วยังช่วยให้ครูทราบความสนใจทัศนคติความคิดของเด็กซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการวางแผนการช่วยเหลือสนับสนุนเด็กได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย
ให้เด็กมีโอกาสประเมินตนเองเด็กควรได้รับการกระตุ้นให้คิดไตร่ตรองเพื่อประเมินความก้าวหน้าของตนเองการที่เด็กมีส่วนร่วมในการติดตามความก้าวหน้าของตนเองจะช่วยให้เด็กภูมิใจและเกิดความต้องการที่จะพัฒนาตนเองต่อไปโดยครูอาจนำแฟ้มสะสมผลงานของเด็กมาใช้ในการให้เด็กมีส่วนร่วมในการประเมินตนเอง
การจัดทำสารนิทัศน์ด้วยการรวบรวมข้อมูลกับการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลนำมาไต่ตรองและใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กและการวินิจวิจัยในชั้นเรียนการจัดทำสารนิทัศน์เป็นการจัดทำข้อมูลที่จะเป็นหลักฐานหรือแสดงให้เห็นร่องรอยของการเจริญเติบโตและพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจากการทำกิจกรรมเป็นรายบุคคลและเป็นรายกลุ่มสาระนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยมีหลายรูปแบบเช่น portfolio สำหรับเด็กเป็นรายบุคคลการบรรยายเกี่ยวกับเรื่องราวหรือประสบการณ์ที่เด็กได้รับการสังเกตและบันทึกพัฒนาการเด็กการสะท้อนตนเองของเด็กผลงานของเด็กที่แสดงให้เห็นถึงการเรียนรู้ของเด็กเป็นต้นตั้งใจสังเกตและฟังเด็กรวบรวมผลงานของเด็กในกิจกรรมประจำวันอย่างไรก็ตามครูไม่สามารถบันทึกทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในห้องเรียนได้ทั้งหมดการจัดทำสารนิทัศน์ที่มีประสิทธิภาพครูต้อง
วิธีการและเครื่องมือการประเมินภาษาและการรู้หนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย
การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กประถมวัยครูสามารถเก็บรวบรวมทั้งจากการสังเกตพฤติกรรมของเด็กได้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันและจัดสถานที่จะทำให้เด็กแสดงพฤติกรรมที่ต้องการประเมินอย่างสอดคล้องประจำวันทั้งนี้นาดรักสกุลไทยและการที่เหมาะสมในการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กประถมวัยสามารถดำเนินการดังนี้
1.เก็บรวบรวมข้อมูลควบคู่กับการจัดประสบการณ์โดยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กวัยมีดังนี้
1.1.การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมหรือคำพูดของเด็กครูควรใช้เวลาในการสังเกตและเฝ้าดูเด็กเพื่อให้ทราบว่าเด็กแต่ละคนมีจุดเด่นความต้องการความสนใจและต้องการความช่วยเหลือในเรื่องใดทั้งนี้การสังเกตุและบันทึกกรรมหรือคำพูดของเด็กอาจทำได้
1.2การสนทนากับเด็กครูสามารถใช้การสนทนากับเด็กได้ทั้งแบบรายบุคคลและเป็นกลุ่มตัวอย่างสอดคล้องกับกิจวัตรประจำวันเพื่อประเมินความสามารถในการแสดงความคิดเห็นพัฒนาการด้านการใช้ภาษาฯลฯเช่นเมื่อครูเล่านิทานให้เด็กฟังครูอาจถามคำถามให้เด็กแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังเพื่อให้รู้ความคิดของเด็กทั้งนี้ผู้ควรจดบันทึกคำพูดของเด็กไว้เพื่อการวิเคราะห์และปรับการจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมต่อไปในกรณีที่ต้องการสนทนากับเด็กเป็นรายบุคคลครูควรพูดคุยในสภาวะที่เหมาะสมไม่ทำให้ดีเครียดหรือเกิดวิตกกังวล
เราได้อะไรจากบันทึกคำพูด
หากจะดูตารางกิจกรรมประจำวันที่จัดให้แก่เด็กแล้วจะพบว่าในช่วงเช้าก่อนเข้าเรียนจะเป็นช่วงเวลาสำหรับการบันทึกคำพูดของเด็ก   การบันทึกคำพูดนี้มีความมุ่งหมายที่จะฝึกให้สามดาวต่างๆอย่างจำกัดไม่กว้างขวางพอเมื่อพบเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์ใดเด็กส่วนใหญ่จะเล่าได้ไม่ชัดเจนครบถ้วนจึงเป็นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบการศึกษาระดับนี้จะต้องเพิ่มเติมให้แก่เด็กโดยการให้พื้นฐานทางภาษาที่ดีด้วยการฝึกทักษะทางการ “ฟังและพูด” ก่อนเป็นการเตรียมพร้อมที่เด็กจะไปเริ่ม “อ่าน-เขียน” ในชั้นประถมปีที่หนึ่งต่อไปดังนั้นครูหรือพี่เลี้ยงที่รับผิดชอบเด็กในช่วงอายุนี้ก็จะต้องพยายามช่วยเด็กให้พัฒนาทางภาษายิ่งยิ่งขึ้นโดยการจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่เด็ก
นอกจากการเตรียมเด็กให้พร้อมที่จะไปเริ่มเรียน “อ่าน-เขียน” ในระดับสูงขึ้นไปแล้วจะท่องใหม่หรือว่าการจัดการศึกษาในระดับนี้จะเน้นให้เด็กได้พัฒนาไปทั้งตัว กล่าวคือทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาเมื่อผ่านการศึกษาระดับนี้แล้วเด็กจะเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรงมีอารมณ์ที่ได้รับการกล่อมเกลา จนสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่แวดล้อมได้ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆได้ครบตามหลักสูตรเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ดีพร้อมที่จะเป็นคนดีมีประโยชน์ต่อสังคมต่อไปในการที่จะพัฒนาเด็กให้ได้ดังเช่นว่านี้ตัวเด็กย่อมจะมีความสำคัญไม่น้อยเด็กเด็กย่อมจะมีความแตกต่างระหว่างคน บางคนมีอารมณ์เยือกเย็นบางคนขี้โมโหฉุนเฉียวบางคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในขณะที่อีกหลายคนเป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว  เด็กบางคนเติบโตมาในครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์หากคนที่รักและเข้าใจคนอยู่ท่ามกลางการเย้ยหยัน เด็กอาจกลายเป็นคนก้าวร้าวขาดความมั่นใจในตนเองครูหรือพี่เลี้ยงที่รับผิดชอบให้การศึกษาเด็กระดับนี้ย่อมจะต้องสังเกตว่าเด็กคนไหนเป็นอย่างไรมีความสมบูรณ์ทั้งกายและใจหรือไม่ถ้าไม่สมบูรณ์ เป็นปัญหาอย่างไรมีสาเหตุมาจากไหนทางหนึ่งที่จะรู้ได้ก็โดยการสังเกตการแสดงออกของเด็กทั้งทางด้านกิริยาและวาจาคนทั่วไปมักจะไม่เห็นความสำคัญของวาจาของเด็กระดับนี้มักจะกล่าวเสมอว่าคำพูดของเด็กนั้นเชื่อถือไม่ได้ไร้สาระเป็นจริงดังเช่นว่าหรือไม่ลองพิจารณาคำพูดของเด็ก4-5ขวบที่ถูกบันทึกไว้สำหรับประเมินความพร้อมของเด็ก
กลุ่มที่ 10
การประเมินพัฒนาการทางด้านสติปัญญา : ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
หลักการและวิธีการประเมิน การนำเสนอเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
            ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเป็นทักษะที่ครูควรจะส่งเสริมให้กับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งทักษะสำคัญที่ควรส่งเสริมเป็นพื้นฐาน ได้แก่ ทักษะการจำแนก เปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับ และการวัด ซึ่งสามารถจัดให้อยู่ในรูปของกิจกรรมต่างๆได้อย่างหลากหลาย และเป็นไปตามธรรมชาติ
ความหมายของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ คือ ความรู้เบื้องต้นที่เด็กควรจะได้รับรู้และมีประสบการณ์ และได้รับการฝึกฝนในเรื่องของการสังเกต การจำแนกเปรียบเทียบ การบอกตำแหน่ง การเรียงลำดับ การนับ และการชั่ง ตวง วัด ซึ่งทักษะเหล่านี้ เป็นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่จะเป็นพื้นฐานช่วยเตรียมเด็กให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้คณิตศาสตร์ในขั้นต่อไปในอนาคต

ความสำคัญของความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
1. มีความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้น ได้แก่ รู้จักการสังเกตการณ์เปรียบเทียบ การแยกหมู่ การรวมหมู่ การเพิ่มขึ้นและการลดลง
2. ขยายประสบการณ์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้สอดคล้อง โดยลำดับจากง่ายไปหายาก
3. ให้เข้าใจความหมายและใช้คำพูดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ได้ถูกต้อง เช่น เด็กจะต้องเข้าใจ ความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น จำนวนสาม หมายถึง ส้มสามผล
4. ฝึกทักษะเบื้องต้นการคิดคำนวณ
5. ให้สัมพันธ์กับกิจกรรมศิลปะภาษาและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

จุดมุ่งหมายในการสร้างทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
        เพื่อเป็นการเตรียมเด็กให้ พร้อมที่จะเรียนรู้และทำกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ได้เหมาะสมตามวัย มีทักษะวิธีการเบื้องต้นในการคิดคำนวณอย่างเหมาะสม โดยฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกต สามารถแยกหมวดหมู่ จัดหมวดหมู่ ของสิ่งของต่างๆรอบตัวเด็ก รู้จักการเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ จัดเรียงลำดับ บอกความแตกต่างของขนาด น้ำหนัก การวัด โดยผ่านกิจกรรมต่างๆที่เด็กเกิดความสนุกสนานเร้าใจ เพื่อให้เด็กมีใจรักคณิตศาสตร์ และสามารถที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

แนวทางส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
     
         ครูสามารถจัดกิจกรมที่จะช่วยส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้หลายกิจกรรม เช่น การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก
ปฐมวัย ได้แก่ การนับ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความเหมาะสมในการนำมาจัดให้กับเด็กเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เพราะเป็นกิจกรรมที่เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากของจริง ส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้และเป็นกิจกรรมที่เด็กๆจะได้รับความสนุกสนาน

ทฤษฎีของคณิตศาสตร์
       มีทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กหลายทฤษฎีด้วยกันที่ถูกนำมาปรับใช้เป็นทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์แก่ เด็กปฐมวัย แต่ทฤษฎีพื้นฐานที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดในการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยก็คือ ทฤษฎี การใช้ประสาทสัมผัส(Sensorimoto Approach) ของเปียเจท์ (jean Piaget)
ความรู้ทางคณิตศาสตร์ตามหลักเปียเจท์
1.ความรู้ทางด้านกายภาพ เป็นความรู้ที่ได้จากการใช้ประสาทสัมผัสเป็นความรู้ภายนอกที่เกิดจาก ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมโดยตรง
2.ความรู้ด้านเหตุผลทางคณิตศาสตร์ เป็นความรู้ที่ได้จากการเชื่อมโยงเข้ากับทฤษฎี โดยการลงมือ กระทำ จึงเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นภายในหรือเป็นผลสะท้อนที่ได้รับนั่นเอง
ลำดับขั้นการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ของเปียเจท์
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1.การรับรู้ร่วมกันของประสาททุกส่วน เช่น ตาดู หูฟัง มือสัมผัส จมูกดมกลิ่นและลิ้นชิมรส เป็นต้น
2.การปฏิบัติหรือการคิดที่สูงกว่าหรือยากกว่าขั้นการรับรู้
3.การเชื่อมต่อจากขั้นการรับรู้ไปสู่ความเข้าใจเรื่องการลด หรือการลบ ซึ่งเป็นการคิดที่เด็กสามารถคิด ผกผันกลับไปกลับมาได้ระหว่างเรื่องการลดและการเพิ่ม
ความพร้อมทางด้านสติปัญญาในการเรียนคณิตศาสตร์
เด็กปฐมวัยสามารถเข้าใจคณิตศาสตร์ได้ ถ้าหากกิจกรรมที่ครูจัดมีความเหมาะสมกับระดับ ความสามารถของเด็ก เด็กในขั้นก่อนปฏิบัติการ ซึ่งเป็นวัยของเด็กปฐมวัย จะมีลักษณะเด่น คือ ยึดถือ ตัวเองเป็นสำคัญ เด็กในวัยนี้โดยทั่วไปจะไม่สามารถเข้าใจถึงสถานการณ์หรือภาพที่มากกว่าหนึ่งมิติได้
การจัดกิจกรรมจะต้องให้เด็กได้ปฏิบัติจริง ได้คิดค้นหาคำตอบด้วยตนเอง และครูจะต้องเป็นคนที่ รับรู้ไว รู้ว่าเด็กของตนมีความพร้อมเรื่องอะไรบ้าง คนไหนเป็นอย่างไร เพื่อจะได้จัดกิจกรรมให้เด็กได้ อย่างเหมาะสม
โครงสร้างทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ทักษะพื้นฐานความสามารถด้านคณิตศาสตร์
1. การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ
             -  การสำรวจและอธิบายความเหมือน ความต่างของสิ่งต่าง ๆ         
          -  การจับคู่ การจำแนก และการจัดกลุ่ม
                -  การเปรียบเทียบ เช่น ยาว/สั้น ขรุขระ/เรียบ ฯลฯ
                -  การเรียงลำดับสิ่งต่าง ๆ
                -  การคาดคะเนสิ่งต่าง ๆ
                -  การตั้งสมมติฐาน
2.จำนวน
                -  การเปรียบเทียบจำนวน มากกว่า น้อยกว่า  เท่ากัน
                -  การนับสิ่งต่าง ๆ
                -  การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
                3. มิติสัมพันธ์ (พื้นที่/ระยะ)
                -  การต่อเข้าด้วยกัน การแยกออก การบรรจุและการเทออก
                -  การสังเกตสิ่งต่าง ๆ และสถานที่จากมุมมองที่ต่าง ๆ กัน
                -  การมีประสบการณ์และการอธิบายในเรื่องตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กัน
                -  การสื่อความหมายของมิติสัมพันธ์ด้วยภาพวาด ภาพถ่าย และรูปภาพ

ลำดับพัฒนาการของเด็กปฐมวัยด้านสติปัญญา
คณิตศาสตร์
อายุ 2 - 3 ปี เด็กเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับจำนวนจากการได้ยินหรือเริ่ม เข้าใจจำนวนจากการมีโอกาสเล่น เริ่มรู้จักรูปทรงเรขาคณิต เช่น รูปทรงกลม
อายุ 3 - 4 ปี เด็กสามารถบอกได้ว่าปริมาณใดมากกว่า เริ่มคุ้นเคยกับ รูปทรงเรขาคณิตของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเด็ก รู้จักจัดกลุ่มสิ่งของตาม คุณลักษณะต่างๆ สามารถนับ 1-5 เปรียบเทียบความเหมือนความต่าง หรือใช้คำอธิบายปริมาณ ความยาว ขนาด
อายุ 4 - 5 ปี เด็กสามารถจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง จำแนกสิ่งของ มากกว่า เท่ากัน   ไม่เท่ากัน น้อยกว่า ได้โดยไม่ต้องนับ เปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก ปริมาตรของสิ่งของ 2 สิ่งได้ นับและรู้ ค่าของตัวเลขได้ถึง 6 สามารถเรียงลำดับเหตุการณ์จากนิทานได้
อายุ 5 - 6 ปี เด็กสามารถนับจำนวนสิ่งของได้ 20 ชิ้น นับโดย ไม่ต้องเริ่มที่ 1 ได้ จดจำและเขียนตัวเลข 1 - 10 ได้ สามารถบวกและ ลบเลข 1 หลักได้


 หลักการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
1. ให้เด็กเรียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริง สอนจากรูปธรรมไปหานามธรรมดังนี้
    1.1 ขั้นใช้ของจริงเมื่อจะให้เด็กนับหรือเปรียบเทียบสิ่งของควรใช้ของจริงเช่นผลไม้ดินสอ เป็นต้น
    1.2 ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริงถ้าหากหาของจริงไม่ได้ก็เขียนรูปภาพแทน
    1.3 ขั้นกึ่งรูปภาพคือสมมติเครื่องหมายต่างๆแทนภาพหรือจำนวนที่จะให้เด็กนับหรือคิด
    1.4 ขั้นนามธรรมซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายที่จะใช้ได้แก่เครื่องหมายบวกลบ
2. เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ๆ ใกล้ตัวเด็ก จากง่ายไปหายาก
3. สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าให้เด็กท่องจำ
4. ฝึกให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็ก เพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์
เดิม
5. จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนาน และได้รับความรู้ไปด้วย เช่น
    5.1 เล่นเกมต่อภาพจับคู่ภาพต่อตัวเลข
    5.2 เล่นต่อบล็อกซึ่งมีรูปร่างและขนาดต่างๆ

ขอบข่ายการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆทางคณิตศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ดังนี้
• จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม
• การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
• เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
• พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์
• การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
• ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และ
เทคนิควิธีที่เหมาะสมในการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
1. วิธีการวัดและประเมินผลแบบเป็นทางการ (Formal techniques) ได้แก่ การทดสอบชนิดต่าง ๆ ดังนี้
    1.1 แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น
         1.1.1 แบบปฏิบัติจริง เป็นแบบทดสอบที่ให้ผู้สอบแสดงพฤติกรรมโดยการ กระทำหรือลงมือทำจริง
          1.1.2 แบบปากเปล่า เป็นการทดสอบที่อาศัยการซักถามเป็นรายบุคคล
          1.1.3 แบบทดสอบวาดภาพเป็นคำตอบ
1.1.4 แบบเลือกตอบหลายตัวเลือก 
1.1.5 แบบโยงจับคู่
              1.2 แบบทดสอบมาตรฐาน เป็นแบบทดสอบที่ได้รับการปรับปรุงและตรวจสอบ วินิจฉัยจนมีคุณภาพสูง สามารถใช้ได้กว้างขวาง
2. วิธีการวัดและประเมินผลแบบไม่เป็นทางการ ( Informal techniques) ได้แก่ วิธีการประเมินแบบสื่อสารส่วนบุคคล ซึ่งมีรูปแบบเน้นการสังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมของเด็กใน ด้านการแสดงออก การซักถาม พูดคุย การปฏิบัติจริง วิธีการประเมินสภาพจริง และการประเมินด้วย พอตโฟลิโอ โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ดังนี้
    2.1 การสังเกต
    2.2 การใช้การสนทนา
    2.3 การสัมภาษณ์
    2.4 การรวบรวมผลงานที่แสดงออกถึงความก้าวหน้าแต่ละด้านของเด็กเป็น รายบุคคล

กลุ่ม 11
การประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา : ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ความหมายของวิทยาศาสตร์
เนื้อหาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้  การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย  
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

            การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการสำคัญ ที่จะทำให้เกิดการพัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผลคิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์วิจารณ์  มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถ ในการแก้ปัญหาอย่าง  เป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและมีประจักษ์พยาน ที่ตรวจสอบได้ ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนั้นยังช่วยให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การดูแลรักษา ตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน
ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
       ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควร

ทักษะการสังเกต
– การสังเกตโดยใช้ตา
– การสังเกตโดยใช้หู
– การสังเกตโดยใช้จมูก
– การสังเกตโดยใช้ลิ้น
– การสังเกตโดยใช้การสัมผัสทางผิวหนัง

ทักษะการจำแนกประเภท
การจำแนกประเภท (Classifying) หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์ (Criteria) หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทของสิ่งของมีอยู่ 3 อย่าง คือ      ความเหมือน (Similarities) ความแตกต่าง (Differences) และความสัมพันธ์ร่วม (Interrelationships) ซึ่งแล้วแต่เด็กจะเลือกใช้เกณฑ์อันไหน
ทักษะการสื่อความหมาย
การสื่อความหมาย (Cummunication) หมายถึง การพูด การเขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง                        การแสดงสีหน้า ความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน ตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก ก็จัดว่าเป็นการสื่อความหมายด้วย
ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
การลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึง การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย ข้อมูลนี้อาจได้จากการสังเกต การวัดหรือการทดลอง
เป้าหมายของการเรียนวิทยาศาสตร์

  1.  ให้เด็กได้ค้นคว้าและสืบค้นสิ่งต่าง ๆ  และปรากฏการณ์ที่มี
2.  ให้เด็กได้ใช้กระบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง
3.  กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น  ความสนใจ  และเจตคติของเด็กด้วยการค้นให้พบ
4.  ช่วยให้เด็กค้นหาข้อมูลความรู้บางอย่างที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันและการสืบค้นของตัวเด็ก
หลักการจัดกิจกรรม
 1 .เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก  ประสบการณ์ที่เลือกมาจัดให้แก่เด็ก  ควรเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก  โดยใกล้ทั้งเวลา  เหมาะสมกับพัฒนาการ  ความสนใจและประสบการณ์ที่ผ่านมาของเด็ก
 2.  เอื้ออำนวยให้แก่เด็กได้กระทำตามธรรมชาติของเด็ก  เด็กมีธรรมชาติที่ชอบสำรวจ  ตรวจค้น  กระฉับกระเฉง  หยิบโน่นจับนี่  จึงควรจัดประสบการณ์ที่ใช้ธรรมชาติในการแสวงหาความรู้
 3.  เด็กต้องการและสนใจ  ประสบการณ์ที่จัดให้เด็กต้องสอดคล้องกับความต้องการของเด็กและอยู่ในความสนใจของเด็ก  ดังนั้นหากบังเอิญมีเหตุการณ์ที่เด็กสนใจเกิดขึ้นในชั้นเรียน  ครูควรถือโอกาสนำเหตุการณ์นั้นมาเป็นประโยชน์ในการจัดประสบการณ์ที่สัมพันธ์กันในทันที
 4.  ไม่ซับซ้อน  ประสบการณ์ที่จัดให้นั้นไม่ควรเป็นประสบการณ์ที่มีเนื้อหาซับซ้อน  แต่ควรเป็นประสบการณ์ที่มีเนื้อหาเป็นส่วนเล็ก ๆ  และจัดให้เด็กทีละส่วน  ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กส่วนใหญ่จะเป็นพื้นฐานความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ในเวลาต่อมา  ทั้งนี้พื้นฐานต้องเริ่มจากระดับง่ายไม่ซับซ้อนไปสู่ระดับของการสำรวจตรวจค้น  และระดับของการทดลอง  ซึ่งเป็นระดับที่สร้างความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์
 5.  สมดุล  ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่จัดให้เด็กควรมีความสมดุล  ทั้งนี้เพราะเด็ก  ต้องการประสบการณ์ในทุกสาขาของวิทยาศาสตร์  เพื่อจะได้พัฒนาในทุก ๆ  ด้าน  ซึ่งแม้ว่าเด็กจะสนใจเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต  ได้แก่  พืชและสัตว์  ครูก็ควรจัดประสบการณ์หรือแนะนำให้เด็กสนใจวิทยาศาสตร์ด้านอื่น ๆ
ประโยชน์จากการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
พัฒนาการทางปัญญาเป็นความสามารถทางสมองในการรวบรวมประสบการณ์และความรู้มาเป็นพื้นฐานของการคิดเหตุผล  ช่วยให้เกิดความรู้  ความเข้าใจ  สามารถแก้ปัญหาได้  และสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ความสามารถเหล่านี้สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางปัญญา  การพัฒนาทางสติปัญญา  ไม่ใช่การเพิ่มระดับไอคิว  แต่การพัฒนาทางสติปัญญาเน้นการเพิ่มพัฒนาการทางสติปัญญาใน  2  ประการ  คือ
 1.  ศักยภาพทางปัญญา  คือ การสังเกต  การคิด  การแก้ปัญหา  การปรับตัว  และการใช้ภาษา
 2.  พุทธิปัญญา  คือ  ความรู้ความเข้าใจที่ใช้เป็นพื้นฐานของการขยายความรู้  การคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์  และประเมินเพื่อการพัฒนาการรู้การเข้าใจที่สูงขึ้น




กลุ่ม 12
การประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา : พหุปัญญาของเด็กปฐมวัย
พหุปัญญา
       พหุปัญญา หมายถึง ความสามารถทางปัญญาของคนที่แสดงออกมาใน รูปแบบต่าง ๆ ที่จะค้นหา แก้ปัญหา และสร้างผลผลิตที่มีคุณค่าเป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการควบคุมโดยสมองแต่ละส่วน โดยแต่ละคนจะมีความสามารถที่แตกต่างกัน เด่นในบ้างด้าน และด้อยในบางด้าน สิ่งแวดล้อมและการอบรมเลี้ยงดูที่เหมาะสมจะช่วยส่งเสริมให้พัฒนาความสามารถ ทางสติปัญญาในการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      ปัญญาที่ 1 ความฉลาดด้านภาษา(Linguistic)  เด็กๆควรได้รับการกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษาเด็กที่มีความถนัดด้านภาษาจะสามารถเรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว การเล่นเกม ต่อคำศัพท์ ทำให้เด็กมีความสุขและคิดค้นหาศัพท์ใหม่ๆอยู่ตลอดเวลาเพื่อเอาไว้เล่นกับเพื่อนๆในครั้งต่อไป กิจกรรมที่ช่วยเพิ่มความฉลาดทางภาษาได้แก่ การอ่านคำกลอน การเล่านิทาน เด็กที่มีความฉลาดทางภาษาจะมีจุดเด่นเฉพาะตัวคือ จดจำคำศัพท์และ อธิบายเรื่องที่เกี่ยวกับตนเองได้เป้นอย่างดี
      ปัญญาที่ 2 ความฉลาดด้านคณิตศาสตร์และตรรกะ( Logical-Mathematical)เป็นความฉลาดเชิงวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยการนำตรรกะมาคิดแก้ไขปัญหา ได้อย่างเป็นลำดับดับขั้นตอนและมีแบบแผน  กิจกรรมที่เพิ่มพูนปัญญาด้านนี้ได้แก่ การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ การทดลองทางวิทศาสตร์ การฝึกและกระตุ้นปัญญาด้านนี้บ่อยๆจะช่วยให้เด็กมีความคิดเชื่อมโยง เหตุและผลของสิ่งต่างๆ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี เด็กที่มีความฉลาดทางคณิตศาสตร์และตรรกะ จะมีจุดเด่นเฉพาะตัวคือเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลได้ดี เมื่อเผชิญสถานการณ์ที่ซับซ้อน เด็กสามารถแยกแยะ จัดลำดับและเข้าใจรูปแบบของสิ่งที่เกิดขึ้น     
      ปัญญาที่ 3 ความฉลาดด้านดนตรี(Musical)  เด็กๆที่มีความสนใจทางด้านดนตรีเขาจะมีความว่องไวต่อเสียง ถึงแม้จะเป็นเด็กแต่เขาสามารถเชื่อมโยงระหว่างเพลงและเครื่องดนตรีได้ การกระตุ้นปัญญาด้านดนตรีให้กับเด็กเป็นการเพิ่มพูนสมองส่วนความจำได้เป็นอย่างดี เพราะเด็กที่หลงไหลในดนตรี จะสามารถจดจำสัมผัสเนื้อร้องและทำนองเป็นช่วงยาวๆได้ เพราะฉะนั้นเป็นทักษะการฝึกสมองเรื่องความจำได้ดีอย่างคาดไม่ถึง กิจกรรม คือ การเล่นตนตรีที่เขาสนใจ ร้องเพลง ฟังเพลง
       ปัญญาที่ 4 ความฉลาดด้านร่างกาย (Bodily-Kinesthetic) การพัฒนาปัญญาความฉลาดทางด้านร่างกายนี้ได้รวมถึงจิตใจด้วย การพัฒนาปัญญาด้านร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆกันจะช่วยให้เด็กมีร่างกายที่แข็งแรงสุขภาจิตดี เป็นพื้นฐานในการพัฒนาปัญญาด้านอื่นๆอีกด้วย  กิจกรรมกระตุ้นปัญญาความฉลาดทางร่างกายได้แก่  การออกกำลังกาย การเคลื่อนไหว การเต้นรำ  เด็กที่มีความฉลาดด้านร่างกายจะมีจุดเด่นเฉพาะตัวคืออยู่ไม่สุข อยู่ไม่นิ่ง สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางกายภาพได้เป็นอย่างดี หยิบจับสิ่งของได้อย่างรวดเร็ว มีการทรงตัวที่ดี
        ปัญญาที่ 5 ความฉลาดด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial)ปัญญาด้านการคิดใคร่ครวญและเคราะห์ตนเองจะช่วยให้เด็กมีสมาธิสามารถจดจำทิศทางได้  กิจกรรมกระตุ้นปัญญาด้านนี้ได้แก่ การต่อจิ๊กซอว์  การสื่อสารด้วยภาพ  เด็กที่มีความฉลาดด้านปฏิสัมพันธ์ต่อตนเองจะมีจุดเด่นเฉพาะตัวคือเด็กจะสามารถจัดการสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นได้จากการวางแผนในหัวก่อนการลงมือปฏิบัติ มีทักษะในการใช้มือที่ดี

 ปัญญาที่ 6 ความฉลาดด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal) เป็นการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์และการเอาใจใส่ต่อผู้อื่นเด็กที่ฉลาดด้านนี้จะมีมนุษยสัมพันธ์ดีเยี่ยม กิจกรรมพัฒนาปัญญาข้อนี้ได้แก่การเล่นเป็นกลุ่ม การทำงานกลุ่ม เด็กที่มีความฉลาดด้านมนุษยสัมพันธ์จะมีจุดเด่นเฉพาะตัวคือ มีความเป็นผู้นำที่ดี เห็นอก เห็นใจ ผู้อื่น เข้าใจความแตกต่างของบุคคล
          ปัญญาที่ 7 ความฉลาดด้านเข้าใจตนเอง(Intrapersonal)เป็นความสามารถของบุคคลในการเข้าใจตนเอง มีความมั่นใจในตนเอง เข้าใจถึงศักยภาพของตนเอง สามารถตั้งเป้าหมายในชีวิตได้อย่างเหมาะสมกิจกรรมพัฒนาปัญญาด้านนี้คือให้เด็กเขียนเรียงความ การทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์ที่เขาสนใจเป็นพิเศษ เด็กที่มีความฉลาดด้านเข้าใจตนเองจะมีจุดเด่นเฉพาะตัวคือ การทำงานให้ไปถึงเป้าหมายชัดเจนว่าตนเองชอบหรือไม่ชอบอะไร และรักความยุติธรรม
          ปัญญาที่ 8 ความฉลาดด้านรู้จักธรรมชาติ (Naturalistic)เป็นปัญญาที่เด็กๆจะสังเกตเห็นรูปแบบและคุณลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิตต่างๆชอบจัดระบบสิ่งของที่สะสมไว้ มีความสามารถในการแยกแยะระหว่างสิ่งของในหมวดเดียวกัน และสังเกตเห็นความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ กิจกรรมพัฒนาปัญญาด้านนี้ คือ การพาเด็กเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบโรงเรียนการทัศนะศึกษานอกสถานที่ เด็กที่มีความฉลาดด้านรู้จักธรรมชาติ จะมีจุดเด่นเฉพาะตัวคือ  เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กที่ชอบผจญภัยในโลกกว้าง
ปัญญาที่ 9 ความฉลาดในการคิดใคร่ครวญ(Existential intelligence) ชอบคิดสงสัยใคร่รู้ตั้งคำถามกับตัวเองในเรื่องความเป็นไปของชีวิต   ชีวิตหลังความตายเรื่อง เหนือจริงมิติลึกลับเช่นอริสโตเติล ขงจื้อ ไอน์สไตน์พลาโต และโสเครติส เป็นต้น
สรุป พหุปัญญา หมายถึง อัจฉริยภาพ หรือศักยภาพ หรือความสามารถของมนุษย์อย่างน้อย 9 ประการ ในการเรียน การแก้ปัญหา การคิดค้นหาคำตอบ การสร้างสรรค์ผลงาน รวมทั้งการ ปรับตัวในสภาพการณ์ต่างๆ รวมไปถึงความสามารถในการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพื่อตอบสนองหรือรับใช้สังคมของตน
ลักษณะสำคัญของทฤษฎีพหุปัญญา
1. มนุษย์มีความสามารถทางปัญญาแบ่งออกได้อย่างน้อย 8 ด้าน
2. จากการศึกษาเรื่องสมองปัญญามีลักษณะเฉพาะด้าน
3.  คนทุกคนมีสติปัญญาทั้ง 8 ด้านที่อาจจะมากน้อยแตกต่างกันไปบางคนอาจจะสูงทุกด้าน
บางคนอาจจะสูงเพียงด้าน หรือสองด้าน ส่วนด้านอื่น ๆ ปานกลาง
4.  ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นถึงระดับใช้การได้ถ้ามีการฝึกฝนที่ดี มีการให้
กำลังใจที่เหมาะสม ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
5.   ปัญญาด้านต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้ เช่นในการดำรงชีวิตประจำวันเราอาจต้องใช้
ปัญญาในด้านภาษาในการพูด อ่าน เขียน ปัญญาด้านคิดคำนวณ ในการคิดเงินทอง ปัญญาด้านมนุษย์ สัมพันธ์ในการพบปะเข้าสังคมทำให้ตนเองมีความสุขด้วยการใช้ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
6. ปัญญาแต่ละด้านจะมีความสามารถในหลาย ๆ ทาง ยกตัวอย่างเช่นคนที่อ่านหนังสือไม่ออกก็
ไม่ได้หมายความว่าไม่มีปัญญาทางภาษา แต่เขาอาจจะเป็นคนเล่าเรื่องที่เก่งหรือพูดได้น่าฟัง
หลักการประเมินพัฒนาการด้านพหุปัญญา
          ตลอดเวลาที่ผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต้องมีการประเมินผลตามสถานการณ์จริง โดยประเมินตลอดการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน โดยการบันทึกผลการสอน ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะไว้หลังแผนการจัดการเรียนรู้และประเมินผลผู้เรียนโดยเตรียมการล่วงหน้าว่าจะประเมินอะไร ประเมินอย่างไร ประเมินเมื่อใด ประเมินใคร และประเมิน โดยใคร การประเมินจะประเมินตลอดเวลาที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้
บทบาทของผู้สอน
        การจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีหลายลักษณะผู้สอนมีบทบาทสำคัญคือ การศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร วิเคราะห์ผู้เรียน จัดการเรียนรู้ที่เน้นความ แตกต่างระหว่างบุคคลและยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม ในการจัดกิจกรรม ฝึกทักษะผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทุก ๆ ด้าน โดยการบูรณาการเชื่อมโยงการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการดำรงชีวิตจริงบทบาทของผู้สอนรูปแบบบูรณาการสู่พหุปัญญาผู้สอนควรจะคำนึงถึงด้านเหล่านี้
การส่งเสริมผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้สอนควรมีบทบาท ดำเนินการ ดังนี้
1. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรงโดยการปฏิบัติจริง
4. จัดหาสื่อ-อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเรียนรู้
5. แนะแนวทางให้ผู้เรียนรู้วิธีรวบรวมเนื้อหา การสรุปและแก้ปัญหาด้วยตนเอง
6. แบ่งกลุ่มการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย
7. คำนึงถึงหลักประชาธิปไตยในการเรียนรู้
8. จัดกิจกรรมอย่างเป็นระบบ เป็นกระบวนการที่เกี่ยวเนื่องกัน
การเตรียมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา
1. การเตรียมการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านรูปแบบฯ เช่น
• ความสัมพันธ์ของสาระการเรียนรู้
• คำอธิบายรายวิชา
• สาระขอบเขตของสาระการเรียนรู้
• ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
• กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อที่จะนำไปสู่พหุปัญญา
• รูปแบบบูรณาการที่เหมาะสม
• วางแผนการเรียนได้ตรงตามเป้าหมาย พัฒนาผู้เรียนได้เต็มศักยภาพ
2. การวิเคราะห์ผู้เรียนควรเลือกวิธีการที่เหมาะสม ดังนั้น ผู้สอน ต้องเตรียมเครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ พิจารณาผลการเรียนรู้ในการจัดกระทำข้อมูลเพื่อความชัดเจนและถูกต้องของข้อมูลการวิเคราะห์ผู้เรียนจะทำควบคู่ไปกับกิจกรรมการเรียนรู้

1) วิเคราะห์แล้วนำมารวบรวมมีข้อมูลอะไรบ้างที่เป็นปัจจัยเสริมหรือปัญหาอุปสรรคสำหรับเด็ก
2) นำมาสรุปเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนผู้เรียน เก่งอะไรบ้างมีความสามารถด้านใดบ้าง ผู้เรียนเรียนอ่อนสาระวิชาใดบ้าง
หลักการประเมิน
1. การประเมินผลพัฒนาการเด็กต้องประเมินทุกด้าน
2. การประเมินผลถือเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง
3. ผลการประเมินเด็กแต่ละคนควรเก็บเป็นความลับ
4. การเลือกวิธีการประเมินผลต้องเลือกให้เหมาะสม
5. การเปรียบเทียบระดับพัฒนาการเด็กกับเกณฑ์
6. การเลือกพฤติกรรมที่จะประเมิน
เทคนิควิธีที่เหมาะสมในการประเมินพัฒนาการด้านพหุปัญญา
1.      การสังเกตพฤติกรรมเด็ก(Observation)
     การสังเกตอาจเกิดขึ้นเป็นกิจวัตประจำวันอย่างไม่เป็นทางการ หรืออาจมีการสังเกตอย่างเป็นทางการหรืออย่างเป็นระบบ การสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบเกิดขึ้นเนื่องจาก ในสภาพจริงการจัดชั้นเรียนหนึ่งๆองค์ประกอบของการบันทึกการสังเกตพฤติกรรม
1.  การบรรยายเหตุการณ์ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น คือการบรรยายเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่กำลังดำเนินการอยู่อย่างตรงไปตรงมาให้มากที่สุด
2.   ความรู้สึกและความคิดเห็นส่วนตน
3.   การตีความ แปลความตลอดถึงการสรุปพฤติกรรมการเรียนรู้จากข้อมูลที่ได้จากการสังเกต
หลักในการบันทึกการสังเกต
1.   การบันทึกการสังเกตจำเป็นต้องมีการบันทึกสภาวะแวดล้อมและพฤติกรรมต่าง ๆของเด็กรวมตลอดถึงพฤติกรรมของคนรอบข้างเด็กด้วย
2.   การรายงานการบันทึกการสังเกตต้องมีการรายงาน ตามลำดับก่อนหลัง
3.   การบันทึกการสังเกต ควรบรรยายสิ่งที่เด็กทำได้มากกว่าสิ่งที่เด็กทำไม่ได้

สรุปการบันทึกการสังเกต
1.       -   บันทึกการสังเกตพฤติกรรมเด็กอย่างเป็นระบบถือเป็นวิธีการพื้นฐานที่สำคัญวิธีหนึ่ง
-   ในการประเมินผลพัฒนาการเด็กและถ้าผู้สังเกตมีความถี่ถ้วนในการสังเกตมากเท่าไรโอกาสที่ผู้สังเกตจะจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองความต้องการของเด็กแต่ละคนก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น
2.      การสัมภาษณ์ (Interview)
-   เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน
-   อาจเกิดขึ้นระหว่างครู-เด็ก ครู-ผู้ปกครอง
-   จะได้ผลดีถ้ามีความคุ้นเคยกัน
-   มีประโยชน์ในการทำความเข้าใจเด็ก แบ่งเป็น 3 ประเภท
การสัมภาษณ์ (Interview)
1.  การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
2.   การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างหรือไม่เป็นทางการ
3.   การสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างเหมาะกับผู้เริ่มต้นยังไม่มีความชํานาญ
หลักทั่วไปในการสัมภาษณ์
1.  กำหนดจุดมุ่งหมาย วางแผนการสัมภาษณ์ เรื่องอะไรสัมภาษณ์ใครต้องการทราบพัฒนาการด้านใด
2.  เตรียมตัว-เครื่องมือ-รูปแบบคำถาม-สถานที่
3.  ในขั้นสัมภาษณ์ เป็นผู้ฟังที่ดี
4.  ยุติการสัมภาษณ์อย่างเหมาะสม

3.  การเขียนบันทึกเกี่ยวกับตัวเด็ก (Anecdotes)
           เป็นการเขียนเรื่องราวสั้นๆ เกี่ยวกับตัวเด็ก จากเหตุการณ์ที่มีความหมายต่อครูและเด็กครูอาจสังเกตจนกระทั่งเหตุการณ์ผ่านพ้นไป จึงบันทึก หรือจดบันทึกย่อๆ ขณะสังเกต
การเขียนบันทึกเกี่ยวกับตัวเด็
-    ช่วยให้ครูพัฒนาทักษะการเขียนเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง
-     พัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของเด็กได้ดีขึ้น
-     มีความเข้าใจ เห็นภาพพจน์เด็กที่ตนสอนมากขึ้น
การประเมิน สรุป และให้ข้อเสนอแนะ บันทึกเกี่ยวกับตัวเด็ก บันทึกคำพูด
1.  ความจำกัดทางด้านจำนวนคำศัพท์ การออกเสียงต่างๆ ปัญหาในการออกเสียง การเสนอแนวทางแก้ไข
2.  ความสามารถในการถ่ายทอดเรื่องราว ที่ได้พบเห็น
3.  การบรรยายความรู้สึกที่มีต่อสิ่งต่างๆ และบุคคลต่างๆ เช่น ความรู้สึกรัก ชอบ โกรธ เกลียดภาคภูมิใจ
4.  ความรู้ ความเข้าใจ ความสนใจ และ ความประทับใจในบทเรียนหรือเรื่องราวต่างๆ

4.  การใช้แบบประเมินผลพัฒนาการ / มาตราส่วนประมาณค่า / แบบสำรวจรายการ (Checklists)
การใช้แบบประเมินพัฒนาการ
-    ตั้งวัตถุประสงค์ ต้องการศึกษาอะไร
-     สร้างแบบสำรวจรายการ โดยใช้ทฤษฎีพัฒนาการเป็นหลัก
-     ควรใช้ควบคู่กับแบบสังเกตพฤติกรรม อย่างเป็นระบบ
ข้อดีของการใช้ Checklists
-     ประหยัดเวลา บันทึกข้อมูลรวดเร็ว
-     ยืดหยุ่นได้ สะดวกต่อการทบทวน วิเคราะห์และตีความข้อมูล
-      สามารถทำอย่างต่อเนื่อง ไม่จำเป็น ต้องเสร็จทันที
-      ไม่ซับซ้อน ง่ายต่อการฝึกบุคลากร
5.      การเขียนบันทึก (Journal)
เป็นการเขียนเรื่องราวสั้นๆ เกี่ยวกับตัวเด็ก จากเหตุการณ์ที่มีความหมายต่อครูและเด็กครูอาจสังเกตจนกระทั่งเหตุการณ์ผ่านพ้นไป จึงบันทึก หรือจดบันทึกย่อๆ ขณะสังเกต
การเขียนบันทึกเกี่ยวกับตัวเด็ก
-  ช่วยให้ครูพัฒนาทักษะการเขียนเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง
-   พัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของเด็กได้ดีขึ้น
-   มีความเข้าใจ เห็นภาพพจน์เด็กที่ตนสอนมากขึ้น



6. การทำสังคมมิติ
-    เป็นเครื่องมือประเมินความสัมพันธ์ในกลุ่ม และความสัมพันธ์ทางสังคม ของเด็กปฐมวัย แสดงรูปแบบ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในกลุ่มสะท้อนโครงสร้างของสังคมในห้องเรียน
-    ทำให้ครูทราบ บทบาทของเด็ก แต่ละคนในชั้นเรียนของตน เพื่อนมีความรู้สึกอย่างไรต่อเขา ใครเด่นที่สุด ใครชอบแยกตัวเล่นคนเดียว เด็กคู่ใดที่ต่างคนต่างชอบเล่นด้วยกันควรทำอย่างสม่ำเสมอ ข้อมูลอาจเปลี่ยนตามกิจกรรมและเวลา
เครื่องมือสังคมมิติ นิยมใช้ 2 วิธี คือ
1. การทายลักษณะ
2. การสร้างภาพทางสังคม

7.  การใช้การทดสอบ
การใช้การทดสอบเพื่อประเมิน พัฒนาการเด็กปฐมวัย
     เป็นวิธีการที่ต้องระมัดระวัง เพราะ การทดสอบมีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงทัศนคติ การรับรู้ ของครูและเด็กที่มีต่อตัวผู้ทดสอบควรตระหนักถึงจุดมุ่งหมายหรือจุดประสงค์ของการสอบว่ามีขึ้นเพื่ออะไร
ประเภทของการทดสอบ
-  การทดสอบทางวาจา
-  การทดสอบโดยการใช้แบบทดสอบ (ข้อเขียน)
-  การทดสอบโดยการปฏิบัติ
8. แฟ้มสะสมผลงาน
ลักษณะของแฟ้มผลงานเด็ก
-   ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ ทั้งเนื้อหาสาระกระบวนการเลือกผลงาน
(ตามวัย/ ระดับพัฒนาการ/วัตถุประสงค์)
-   สามารถรวบรวมพัฒนาการและการเรียนรู้ด้านต่างๆของเด็ก
-    มุ่งเน้นความสามารถหรือจุดเด่นเน้นสิ่งที่เด็กทำได้
-     เอื้อต่อการประเมินพัฒนาการแบบต่างๆ
-     เด็กมีส่วนร่วมเลือกผลงานมีโอกาสทบทวนวิเคราะห์ผลงานที่ตนเลือก
9.  สารนิทัศน์
การจัดทำข้อมูลที่จะเป็นหลักฐานโดยแสดงให้เห็นร่องรอยการเจริญเติบโตพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจากการทำกิจกรรมทั้งรายบุคคลและกลุ่ม
รูปแบบของสารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.  Portfolio สำหรับเด็กรายบุคคล
2.  หลักฐานการบรรยายเกี่ยวกับเรื่องราว/ประสบการณ์ที่เด็กได้รับ
3.  หลักฐาน(บันทึก)การสังเกตพัฒนาการในเด็ก
4.   หลักฐาน(บันทึก)การสะท้อนตนเองของเด็ก
    5.  ผลงานเด็กรายบุคคล  - กลุ่ม